Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติความเป็นพราหมณ์ไว้อย่างไร

 

 

วิดีโอ

พุทธวจนบรรยาย ณ โรงแรมมณเฑียร พัทยา

  13 ก.ย. 2556

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4 , mp3

 

 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรวาเสฏฐะ เราจักพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายตามลำดับตามสมควร สัตว์ทั้งหลายมี ความแตกต่างกันโดยชาติ เพราะชาติของสัตว์เหล่านั้น มีประการต่างๆ กัน ท่านทั้งหลายย่อมรู้จักหญ้าและต้นไม้ แต่หญ้าและต้นไม้ ก็ไม่ ยอมรับว่าเป็นหญ้าเป็นต้นไม้ หญ้าและต้นไม้เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จ มาแต่ชาติ เพราะชาติของมันต่างๆ กัน
 
แต่นั้นท่านทั้งหลายจงรู้จัก หนอน ตั๊กแตน มดดำ และมดแดง สัตว์เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จ มาแต่ชาติ เพราะชาติของมันต่างๆ กัน ท่านทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ ๔ เท้า ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ สัตว์เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะ ชาติของมันต่างๆ กัน
 
ต่อแต่นั้น ท่านทั้งหลายจงรู้จักปลาที่เกิดในน้ำเที่ยวไปในน้ำ ปลาเหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะชาติของ มันมีต่างๆ กัน
 
ถัดจากนั้นท่านทั้งหลายจงรู้จักนกที่บินไปในเวหา นก เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะชาติของมันต่างๆ กัน เพศ ที่สำเร็จมาแต่ชาติเป็นอันมาก ไม่มีในมนุษย์ทั้งหลายเหมือนอย่างสัณฐานที่สำเร็จมาแต่ชาติเป็นอันมากในชาติเหล่านี้ ฉะนั้น
 
การกำหนดด้วยผม ศีรษะ หู นัยน์ตา ปากจมูก ริมฝีปาก คิ้ว คอ บ่า ท้อง หลัง ตะโพก อกที่แคบ เมถุน มือ เท้า นิ้วมือ เล็บ แข้ง ขา วรรณะหรือเสียง ว่าผมเป็นต้น ของพราหมณ์เป็นเช่นนี้ ของกษัตริย์เป็นเช่นนี้ย่อมไม่มีเลย เพศที่สำเร็จมาแต่ชาติไม่มีในมนุษย์ ทั้งหลายเลย เหมือนอย่างสัณฐานที่สำเร็จมาแต่ชาติในชาติเหล่าอื่น ฉะนั้น
 
ความแตกต่างกันแห่งสัณฐานมีผมเป็นต้นนี้ ที่สำเร็จมาแต่กำเนิด ย่อมไม่มีในสรีระของตนๆ เฉพาะในตัวมนุษย์ทั้งหลายเลย แต่ความ ต่างกันในมนุษย์ทั้งหลาย บัณฑิตกล่าวไว้โดยสมัญญา
 
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นชาวนา มิใช่พราหมณ์
 
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ใน หมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งเลี้ยงชีพด้วยศิลปะเป็นอันมาก ผู้นั้นเป็นศิลปิน มิใช่พราหมณ์
 
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้ หนึ่ง อาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นพ่อค้ามิใช่พราหมณ์
 
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วย การรับใช้ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นผู้รับใช้ มิใช่พราหมณ์
 
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยการลักทรัพย์เลี้ยงชีพ ผู้ นั้นเป็นโจร มิใช่พราหมณ์
 
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ใน หมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยลูกศรและศาตราเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นนักรบ อาชีพ มิใช่พราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งเลี้ยงชีพด้วยความเป็นปุโรหิต ผู้นั้นเป็นผู้ยังบุคคลให้บูชา มิ ใช่เป็นพราหมณ์ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใด ผู้หนึ่งปกครองบ้านและแว่นแคว้น ผู้นั้นเป็นพระราชามิใช่พราหมณ์
 
ก็เราหากล่าวผู้เกิดแต่กำเนิดในท้องมารดาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ ผู้นั้น เป็นผู้ชื่อว่าโภวาที ผู้นั้นแลยังเป็นผู้มีเครื่องกังวล
 
ผู้เรียกว่า พราหมณ์ ได้แก่
 
- เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ มีเครื่องกังวลผู้ไม่ถือมั่น
- เรากล่าวผู้ตัดสังโยชน์ได้ ทั้งหมด ไม่สะดุ้งเลย ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องแล้ว พรากโยคะทั้ง ๔ ได้แล้ว
- เรากล่าวผู้ที่ตัดชะเนาะคือความโกรธ เชือก คือ ตัณหา หัวเงื่อน คือทิฐิ ๖๒ พร้อมทั้งสายโยง คือ อนุสัย เสียได้ ผู้มีลิ่มสลักอันถอดแล้ว ผู้ตรัสรู้แล้ว
- เรากล่าวผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นได้ซึ่งคำด่าว่า การทุบตีและการจองจำ ผู้ มีกำลังคือขันติ ผู้มีหมู่พลคือขันตี
- เรากล่าวผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีล ไม่มีกิเลสอันฟูขึ้น ฝึกตนแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด
- เรากล่าวผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย ดุจน้ำไม่ติด อยู่ในใบบัว ดุจเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลม
- เรากล่าวผู้รู้ชัดความสิ้นไปแห่งทุกข์ของตน ในศาสนา นี้แล ผู้ปลงภาระแล้วพรากกิเลสได้หมดแล้ว
- เรากล่าวผู้มีปัญญาลึกซึ้ง มีเมธา ผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทาง ผู้บรรลุถึง ประโยชน์อันสูงสุด
- เรากล่าวผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยคน ๒ พวก คือ คฤหัสถ์และบรรพชิต ไม่มีความอาลัยเที่ยวไป มีความ ปรารถนาน้อย
- เรากล่าวผู้วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ทั้งผู้ที่สะดุ้งและมั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
- เรากล่าวผู้ไม่ปองร้าย ผู้ดับเสียได้ในผู้ที่มีอาชญาในตน ผู้ไม่ยึดถือในผู้ ที่มีความยึดถือ
- เรากล่าวผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ และมักขะ ให้ตกไปแล้ว ดุจเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกไปจากปลายเหล็กแหลม
- เรากล่าวผู้เปล่งถ้อยคำไม่หยาบ ให้รู้ความกันได้ เป็นคำจริงซึ่งไม่เป็นเหตุทำใครๆ ให้ข้องอยู่
- ก็เรากล่าวผู้ไม่ถือเอาสิ่งของยาวหรือสั้น น้อยหรือใหญ่ งามและไม่งาม ซึ่งเจ้าของมิได้ให้แล้วในโลก
- เรากล่าวผู้ไม่มีความ หวังทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ผู้สิ้นหวัง พรากกิเลสได้หมดแล้ว
- เรากล่าวผู้ไม่มีความอาลัย รู้แล้วทั่วถึง ไม่มีความ สงสัย หยั่งลงสู่นิพพาน ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
- เรากล่าวผู้ละทิ้งบุญและบาปทั้ง ๒ ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องได้แล้ว ไม่ มีความเศร้าโศก ปราศจากธุลี บริสุทธิ์แล้ว
- เรากล่าวผู้ มีความยินดีในภพหมดสิ้นแล้วผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัวดุจ พระจันทร์ที่ปราศจากมลทิน
- เรากล่าวผู้ล่วงทางอ้อม หล่มสงสาร โมหะเสียได้ เป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง เพ่งฌาน ไม่หวั่นไหว ไม่มีความสงสัย ดับกิเลสได้แล้วเพราะไม่ถือมั่น
- เรากล่าวผู้ละกามในโลกนี้ได้เด็ดขาดเป็นผู้ไม่มีเรือน บวชเสียได้ มี กามราคะหมดสิ้นแล้ว
- เรากล่าวผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้ เด็ดขาด เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้น มีตัณหาและภพหมดสิ้นแล้ว
- เรากล่าวผู้ละโยคะที่เป็นของมนุษย์ แล้วล่วงโยคะที่ เป็นของทิพย์เสียได้ ผู้พรากแล้วจากโยคะทั้งปวง
- เรากล่าวผู้ละความยินดีและความไม่ยินดีเป็นผู้เยือกเย็น หาอุปธิมิได้ ผู้ครอบงำโลกทั้งปวง มีความเพียร
- เรากล่าวผู้รู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยอาการทั้งปวง ผู้ไม่ข้อง ไปดี ตรัสรู้ แล้ว
- เรากล่าวผู้ที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์รู้คติไม่ ได้ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์
- เรากล่าวผู้ไม่ มีเครื่องกังวลในขันธ์ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่มีเครื่อง กังวล ไม่ยึดถือ
- เรากล่าวผู้องอาจ ประเสริฐ เป็น นักปราชญ์ แสวงหาคุณใหญ่ชนะมาร ไม่มีความหวั่นไหว ล้างกิเลส หมด ตรัสรู้แล้ว
- เรากล่าวผู้ระลึกชาติก่อนๆ ได้ เห็นสวรรค์และอบาย และถึงความสิ้นไปแห่งชาติแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ นามและโคตรที่เขากำหนดกัน เป็นบัญญัติในโลก นามและโคตรมา แล้วเพราะการรู้ตามกันมา ญาติสาโลหิตทั้งหลาย กำหนดไว้ในกาลที่ บุคคลเกิดแล้วนั้นๆนามและโคตรที่กำหนดกันแล้วนี้ เป็นความเห็น ของพวกคนผู้ไม่รู้ ซึ่งสืบเนื่องกันมาสิ้นกาลนาน
 
พวกคนผู้ไม่รู้ย่อมกล่าวว่าบุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะ ชาติก็หามิได้ แต่
เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม
เป็นชาวนาก็เพราะกรรม เป็นศิลปิน เป็นพ่อค้า เป็นผู้รับใช้ เป็นโจร เป็นนักรบอาชีพ เป็นปุโรหิต และแม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม
 
บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปรกติเห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรม และวิบาก ย่อมเห็นกรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้ โลกย่อมเป็นไป เพราะกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรมสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็น เครื่องผูกพัน เปรียบเหมือนหมุดแห่งรถที่แล่นไปอยู่ ฉะนั้น บุคคล เป็นพราหมณ์เพราะกรรมอันประเสริฐนี้ คือ ตบะ สัญญมะ พรหม จรรย์ และทมะ กรรมนี้ นำความเป็นพราหมณ์ที่สูงสุดมาให้ บุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วยไตรวิชชา เป็นคนสงบ มีภพใหม่สิ้นไปแล้วเป็น พราหมณ์ผู้องอาจของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิดวาเสฏฐะฯ
 
(ไทย)  สุ.ขุ. ๒๕/๓๓๘/๓๘๒.คลิกดูพระสูตร
(บาลี)  สุ.ขุ. ๒๕/๔๕๑/๓๘๒.คลิกดูพระสูตร
 

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today169
Yesterday925
This week5376
This month9267
Total2540130

Who Is Online

28
Online