Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

อธิบาย พระสูตร “ไม่พัก ไม่เพียร” มันเป็นผลจากการปฏิบัติของพระอรหันต์ โดยเทียบเคียงพระสูตร “ไม่ยุบ ไม่ก่อ แต่เป็นอันว่า ยุบแล้วดำรงอยู่”

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วีดีโอ1

 

สนทนาธรรมค่ำเสาร์  23 เม.ย. 54

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

วีดีโอ2

สนทนาธรรมค่ำเสาร์  7 พ.ค. 54

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

 

วีดีโอ3

 

สนทนาธรรมค่ำเสาร์  4 มิ.ย. 54

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

 

ไม่พัก ไม่เพียร คือ อรหัตตผล

เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ กับพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์ข้ามโอฆะ (มาริส โอฆมตรีติ) ได้อย่างไร ?” …

ท่านผู้มีอายุ ! เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว          ( อปฺปติฏฺ ขฺวาหอาวุโส อนายูห   โอฆมตรินฺติ )  

ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พัก ไม่เพียร (อปฺปติฏฺ อนายูห) ข้ามโอฆะได้ อย่างไรเล่า?”            (มาริส อปฺปติฏฺ อนายูหโอฆมตรีติ)   ...

ท่านผู้มีอายุ ! เมื่อใด ? เรายังพักอยู่เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้

ท่านผู้มีอายุ ! เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้ว (อาวุโส อปฺปติฏฺ อนายูหโอฆมตรินฺติ) อย่างนี้แล

เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็น ขีณาสวพราหมณ์ ผู้ดับรอบแล้ว(พฺราหฺมณปรินิพฺพุต) ไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก (อปฺปติฏฺ อนายูหติณฺณโลเก วิสตฺติกนฺติ )

 

(ภาษาไทย) สคา. สํ. ๑๕/๑/๒. : คลิกดูพระสูตร

 

 

การทิ้งขันธ์ห้าแล้วดำรงอยู่ คือ อรหัตตผล

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว   กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ (ผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้ว) นี้ เราเรียกว่า ไม่ก่ออยู่ ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบแล้ว ดำรงอยู่; ไม่ขว้างทิ้งอยู่ ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้งแล้ว ดำรงอยู่; ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่ ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจายแล้ว ดำรงอยู่; ไม่ทำให้มอดอยู่ ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้มอดแล้ว ดำรงอยู่.

 

ภิกษุนั้น ไม่ก่ออยู่ ไม่ยุบอยู่แต่เป็นอัน ว่ายุบ ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่?เธอไม่ก่ออยู่ ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่

 

ภิกษุนั้น ไม่ขว้างทิ้งอยู่ ไม่ถือเอาอยู่แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้ง ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่? เธอไม่ขว้างทิ้งอยู่ ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้ง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

 

ภิกษุนั้น ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่ ไม่ทำให้เป็นกองอยู่แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจาย ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่?เธอไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่ ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจายซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

 

ภิกษุนั้น ไม่ทำให้มอดอยู่ ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่แต่เป็นอันว่าทำให้มอด ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่?เธอไม่ทำให้มอดอยู่ ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้มอดซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

 

 

 

อินทรียสังวร หน้า ๑๐๔

 

(ภาษาไทย)   ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๙/๑๖๓-๑๖๔. : คลิกดูพระสูตร

 

ย่อมยุบย่อมไม่ก่อย่อมขว้างทิ้ง ย่อมไม่ถือเอาซึ่ง...ขันธ์

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ; ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา; ย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง; ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง.

 อริยสาวกนั้น ย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งอะไร ? เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

 อริยสาวกนั้น ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งอะไร ? เธอย่อมขว้างทิ้งย่อมไม่ถือเอา ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

 อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งอะไร? เธอย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

 อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งอะไร ? เธอย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

 

อินทรียสังวร หน้า ๑๐๓

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๘/๑๖๓. : คลิกดูพระสูตร

 

 สัมมาวมะ (ความเพียรชอบ)

 ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง จักจำแนก ซึ่ง อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) แก่เธอทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าว.                                .         

 ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) เป็นอย่างไรเล่า ?  ได้แก่     สิ่งเหล่นี้ คือ สัมมทิฏฐิ สัมมสังกัปปะ สัมม สัมมกัมมันตะ สัมมชีวะ

 สัมมมะ สัมมสติ สัมมสมธิ.

 ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวมะ (ความเพียรชอบ) เป็นอย่งไรเล่ ?

 ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้

 ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด;

 ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว;

 ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิด;

 ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว.

 ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมยามะ.

แก้กรรม หน้า ๑๓๒

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๘/๓๙ : คลิกดูพระสูตร

 

 

 
Today1463
Yesterday1254
This week6268
This month16286
Total2523591

Who Is Online

53
Online