พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ภิกษุท.! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่างแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำ
ให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา (ความเป็นโสดาบัน).
ไม่ละธรรม ๖ อย่างเหล่าไหนเล่า? ไม่ละธรรมหกอย่างเหล่านี้คือ :-
ไม่ละสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากายของตน);
ไม่ละวิฉิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์) ;
ไม่ละสีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง) ;
ไม่ละอปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) ;
ไม่ละอปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) ;
ไม่ละอปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) .
ภิกษุท .! ภิกษุไม่ละธรรม๖อย่างเหล่านี้แลเป็นผู้ไม่ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา.
ภิกษุท.! ภิกษุละธรรม๖อย่างแล้วเป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐสัมปทา.
ละธรรม ๖ อย่างเหล่าไหนเล่า ? ละธรรม ๖อย่างเหล่านี้ คือ:-
ละสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากายของตน);
ละวิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์);
ละสีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง) ;
ละอปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การซึ่งอบาย) ;
ละอปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) ;
ละอปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) .
ภิกษุท.! ภิกษุละธรรม ๖ อย่างเหล่านี้แล้วเป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา,
ดังนี้แล.
(ไทย)ฉกฺก.อํ. ๒๒/๓๙๐/๓๖๐:คลิกดูพระสูตร
(บาลี)ฉกฺก.อํ. ๒๒/๔๘๗/๓๖๐:คลิกดูพระสูตร
ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สามเป็นผู้สัตตักขัตตุปรมะ
ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง
เป็นอย่างมากแล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. (หรือว่า)
ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สามเป็นผู้โกลังโกละ
จักต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุลสองหรือสามครั้ง
แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. (หรือว่า)
ภิกษุนั้น. เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สามเป็นผู้เป็นเอกพีซี
คือ จักเกิดในภพแห่งมนุษย์หนเดียวเท่านั้นแล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
(ไทย)ติก. อํ. ๒๐/๒๒๐/๕๒๖.คลิกดูพระสูตร
(บาลี)ติก. อํ. ๒๐/๒๙๗/๕๒๖.คลิกดูพระสูตร