บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ละความเพลิน จิตหลุดพ้น
นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโยสมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจตีติ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.
หนังสืออินทรีย์สังวร หน้า ๓๒
(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๔๖/๒๔๕. : คลิกดูพระสูตร
กระจายเสียซึ่งผัสสะ
ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรม ๒ อย่าง.
สองอย่างอะไรเล่า ? สองอย่างคือ :-
ภิกษุทั้งหลาย. ! เพราะอาศัยซึ่ง จักษุ ด้วย ซึ่งรูป ทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณ จึงเกิดขึ้น. จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น ; รูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :
ธรรมทั้งสอง (จักษุ+รูป) อย่างนี้แล เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น ;
จักขุวิญญาณ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น ; เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตามเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ,
แม้เหตุ อันนั้นแม้ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุ ท. !วิญญาณเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้จักขุวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย. ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย(จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ) ๓ อย่าง เหล่านี้ อันใดแล ;
ภิกษุทั้งหลาย. ! อันนี้เราเรียกว่า จักขุสัมผัส.
ภิกษุ ท. !แม้ จักขุสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็นไปโดยประการอื่น. เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส, แม้เหตุ อันนั้น แม้ ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย. ! จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย. ! บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ), ผัสสะกระทบแล้วย่อม คิด (เจเตติ),ผัสสะกระทบแล้วย่อม จำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) : แม้ธรรมทั้งหลาย (เวทนา, เจตนา, สัญญา) อย่างนี้เหล่านี้ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น ;(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณก็ดี, ฆานวิญญาณก็ดี, ชิวหาวิญญาณก็ดี, กายวิญญาณก็ดี, ก็มีนัยเดียวกัน)
ภิกษุทั้งหลาย. ! เพราะอาศัยซึ่ง มโนด้วย ซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย มโนวิญญาณ จึงเกิดขึ้น.มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น ;
ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น : ธรรมทั้งสอง (มโน+ธรรมารมณ์) อย่างนี้แล เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น ;
มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น ; เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ, แม้เหตุ อันนั้น แม้ ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย. ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้วเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย. ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย(มโน+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ)
๓ อย่าง เหล่านี้อันใดแล ;
ภิกษุทั้งหลาย. ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.
ภิกษุทั้งหลาย. ! แม้มโนสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น. เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส, แม้ เหตุ อันนั้น แม้ ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย. ! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้วเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย. ! บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ), ผัสสะกระทบแล้วย่อม คิด (เจเตติ),ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) : แม้ธรรมทั้งหลาย (เวทนา, เจตนา, สัญญา) อย่างนี้เหล่านี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วยไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
(ภาษาไทย) สฬา.สํ. ๑๘/๖๘-๗๐/๑๒๔-๑๒๗ : คลิกดูพระสูตร