พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
อุโบสถ ๘ ประการ
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอันบุคคลเข้าอยู่แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันบุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอายเอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอายเอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่ ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้ ฯ
๒. พระอรหันต์ทั้งหลายละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ถือเอาแต่สิ่งของที่เขาให้ หวังแต่สิ่งของที่เขาให้ มีตนไม่เป็นขโมย สะอาดอยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ถือเอาแต่สิ่งของที่เขาให้ หวังแต่สิ่งของที่เขาให้ มีตนไม่เป็นขโมย สะอาดอยู่ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๒ นี้ ฯ
๓. พระอรหันต์ทั้งหลายละอพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้านตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละอพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้านอยู่ ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๓ นี้ ฯ
๔. พระอรหันต์ทั้งหลายละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท พูดแต่คำสัตย์ ส่งเสริมคำจริง มั่นคง ควรเชื่อถือได้ ไม่กล่าวให้คลาดจากความจริงแก่โลกตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท พูดแต่คำสัตย์ส่งเสริมคำจริง มั่นคง ควรเชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริงแก่โลกตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๔ นี้ ฯ
๕. พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทงดเว้นการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๕ นี้
๖. พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้บริโภคอาหารครั้งเดียว งดบริโภคอาหารในกลางคืนเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลอยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ บริโภคอาหารครั้งเดียว งดการบริโภคอาหารในกลางคืน เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๖ นี้ ฯ
๗. พระอรหันต์ทั้งหลาย งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคม ดูการเล่น อันเป็นข้าศึก และการทัดทรง ประดับตบแต่งด้วยดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคม ดูการเล่นอันเป็นข้าศึก และงดเว้นการทัดทรงประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๗ นี้ ฯ
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ งดเว้นจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่องลาดด้วยหญ้า ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ งดเว้นจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่สำเร็จการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่องลาดด้วยหญ้าตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก ฯ
(ไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๙๕/๑๓๑: คลิกดูพระสูตร
(บาลี) สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๕๓/๑๓๑: คลิกดูพระสูตร
กรรมส่งผลต่างกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! ใครพึงกล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีไม่ได้ ช่องทางที่จะทำ.ที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่าคนทำ.กรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทำ.ที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ.
ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย ที่บุคคลบางคนทำ.แล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำ.เขาไปนรกได้
บาปกรรมประมาณน้อย อย่างเดียวกันนั้น บางคนทำ.แล้วกรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (ให้ผลในภพปัจจุบัน)
ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย
บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดไรทำแล้วบาปกรรมนั้น จึงนำ.เขาไปนรกได้ ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายมิได้อบรมมีศีล มิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม มีปัญญามิได้อบรม มีคุณความดีน้อย เป็นอัปปาตุมะ (ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบใจต่ำ.ทราม) เป็นอัปปทุกขวิหารี (มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยเหตุเล็กน้อย คือเป็นคนเจ้าทุกข์) บาปกรรมแม้ประมาณน้อยบุคคลชนิดนี้ทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้.
บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกัน บุคคลชนิดไรทำแล้ว กรรมนั้นจึงเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรมแล้ว มีปัญญาได้อบรม
แล้ว มีคุณความดีมาก เป็นมหาตมะ (ผู้มีใจกว้างขวาง ใจบุญใจสูง) เป็นอัปปมาณวิหารี (มีปกติอยู่ด้วยธรรม อันหา
ประมาณมิได้คือเป็นคนไม่มีหรือไม่แสดงกิเลส ซึ่งจะเป็นเหตุให้เขาประมาณได้ว่าเป็นคนดีแค่ไหน) บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ต่างว่าคนใส่เกลือลงไปในถ้วยนำ้เล็กๆ หนึ่งก้อน ท่านทั้งหลายจะสำ.คัญว่ากระไร น้ำ.อันน้อย
ในถ้วยน้ำ.นั้น จะกลายเป็นน้ำ.เค็มไม่น่าดื่มไป เพราะเกลือก้อนนั้นใช่ไหม ?
“เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า !” เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุว่า นำ้ในถ้วยนำ้นั้นมีน้อย มันจึงเค็มได้...เพราะเกลือก้อนนั้น
ต่างว่าคนใส่เกลือก้อนขนาดเดียวกันนั้น ลงไปในแม่น้ำคงคา ท่านทั้งหลายจะสำคัญว่ากระไร
น้ำในแม่น้ำคงคานั้นจะกลายเป็นน้ำ.เค็ม ดื่มไม่ได้เพราะเกลือก้อนนั้นหรือ ?
“หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า !” เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุว่า น้ำ.ในแม่น้ำ.คงคามีมาก น้ำนั้นจึงไม่เค็ม...เพราะเกลือก้อนนั้น.ฉันนั้นนั่นแหละ.
ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อยบุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำไปนรกได้
ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏ
ผลมากต่อไปเลย...
ภิกษุทั้งหลาย ! ใครกล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนั้นๆ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีไม่ได้ ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ
(ไทย)ติก. อํ. ๒๐/๒๓๗/๕๔๐:คลิกดูพระสูตร
(บาลี