ดาวน์โหลด : วิดีโอ
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
กาลทานสูตร
กาลทานสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๑
ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๑
ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๑
ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๑
ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้แล ฯ ผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้า ทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์ ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มีผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น แม้พวกที่อนุโมทนาหรือช่วยเหลือย่อมเป็นผู้มีส่วน แห่งบุญ เพราะฉะนั้นผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก.
(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๖/๓๖.: คลิกดูพระสูตร
โภชนทานสูตร
โภชนทานสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะเป็นทาน ชื่อว่าให้ฐานะ๕ อย่างแก่ ปฏิคาหก ๕ อย่างเป็นไฉน คือ
ให้อายุ ๑
ให้วรรณะ ๑
ให้สุข ๑
ให้กำลัง ๑
ให้ปฏิภาณ
ครั้นให้อายุแล้วย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์
ครั้นให้วรรณะแล้วย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์
ครั้นให้สุขแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุขทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์
ครั้นให้กำลังแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งกำลังทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์
ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งปฏิภาณทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะเป็นทานชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่างนี้แล.
ปราชญ์ผู้มีปัญญา ให้อายุย่อมได้อายุ ให้กำลังย่อมได้กำลัง ให้วรรณะย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุขย่อมได้สุข ครั้นให้อายุ กำลัง วรรณะ สุขและปฏิภาณ แล้วจะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ.
(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๖/๓๗.: คลิกดูพระสูตร
อายุโท พลโท ธีโร วณฺณโท ปฏิภาณโท
สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุข โส อธิคจฺฉติ
อายุ ทตฺวา พล วณฺณ สุขฺจ ปฏิภาณโท
ทีฆายุ ยสวา โหติ ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชตีติ ฯ
ปราชญ์ผู้มีปัญญา ให้อายุย่อมได้อายุ ให้กำลัง ย่อมได้กำลัง ให้วรรณะ ย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณย่อมได้ปฏิภาณให้สุขย่อมได้สุข ครั้นให้อายุ กำลัง วรรณะ สุข และปฏิภาณแล้วจะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ ฯ
(บาลี) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔๕/๓๗ : คลิกดูพระสูตร
(ไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๗/๓๗ : คลิกดูพระสูตร
กาเล ททนฺติ สปฺปฺา วทฺู วีตมจฺฉรา
กาเลน ทินฺน อริเยสุ อุชุภูเตสุ ตาทิสุ
วิปฺปสนฺนมนา ตสฺส วิปุลา โหติ ทกฺขิณา
เย ตตฺถ อนุโมทนฺติ เวยฺยาวจฺจ กโรนฺติ วา
น เตน ทกฺขิณา อูนา เตปิ ปฺุสฺส ภาคิโน
ตสฺมา ทเท อปฺปฏิวาณจิตฺโต ยตฺถ ทินฺน มหปฺผล
ปฺุานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺา โหนฺติ ปาณินนฺติ ฯ
ผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง
ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์
ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น
ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มีผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น
แม้พวกที่อนุโมทนา หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ
เพระาฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก
บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก ฯ
(บาลี) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔๔/๓๖ : คลิกดูพระสูตร
(ไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๖/๓๖ : คลิกดูพระสูตร