พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
สมาธิ ๙ ระดับ
เป็นเหตุให้ได้สมาธิในระดับรูปสัญญาทั้งสี่
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุ ปรารถนาว่า “เราพึงเป็นผู้
สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร
มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้;
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจ ให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะ วิตก
วิจารระงับไป เราพึงเข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน เพราะ
ธรรมอันเอกคือ สมาธิ ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดจากสมาธิ
แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้;
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจ ให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะความ
จางคลายไปแห่งปีติ เราพึงเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย
(สุขญฺจ กาเยน) ชนิดที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีการอยู่
เป็นสุข, เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้;
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจ ให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะละสุข
และ ทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัส และ โทมนัสในกาลก่อน เราพึง
เข้าถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติ เพราะอุเบกขา
แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้;
อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
เป็นเหตุให้ได้สมาธิในระดับอรูปสัญญาทั้งสี่
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะก้าวล่วง
รูปสัญญาเสียโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะ
การไม่กระทำในใจ ซึ่งนานัตตสัญญามีประการต่างๆ
เราพึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่าอากาศ ไม่มีที่สุด ดังนี้แล้ว
แลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้;
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจ ให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมี
การทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้;
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจ ให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่าไม่มีอะไร แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้;
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะเสีย โดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้;
อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
เป็นเหตุให้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ
แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้;
อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
พุทธวจน อานาปานสติ… หน้า ๖๔
(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๔/๑๓๓๗-๑๓๔๕. : คลิกดูพระสูตร