ความทุกข์มีประโยชน์หรือไม่ และการแก้ความทุกข์ที่ถูกต้องคืออย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ


บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

การปฏิบัติตามลำดับ


ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่กล่าวการประสบความพอใจในอรหัตตผล
ด้วยการกระทำอันดับแรกเพียงอันดับเดียว.


ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แต่ว่า การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้
เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับ.


ภิกษุทั้งหลาย ! ก็การประสบความพอใจในอรหัตตผล  ย่อมมีได้
เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ
เพราะการปฏิบัติโดยลำดับนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?


ภิกษุทั้งหลาย !  บุรุษบุคคลในกรณีนี้ :
เป็นผู้มีศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเข้าไปหา(สัปบุรุษ);
เมื่อเข้าไปหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้;
เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ;
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อมได้ฟังธรรม;
ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้,
ย่อมใคร่ครวญพิจารณาซึ่งเนื้อความแห่งธรรม ทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้;
เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่,
ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์;
เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่
ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด;
ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อม มีอุตสาหะ;
ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อม ใช้ดุลยพินิจ (เพื่อหาความจริง);
ครั้นใช้ดุลยพินิจ (พบ) แล้ว ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น;
ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่
ย่อม กระทำให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ด้วยนามกาย ด้วย,
ย่อม เห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย.

 

พุทธวจน ปฐมธรรม  หน้า ๒๙๓.
(ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๘๑/๒๓๘:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ม. ม. ๑๓/๒๓๒/๒๓๘:คลิกดูพระสูตร

ผู้มิได้สดับย่อมหลงกามคุณ


 

ดูกรมาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตกาลก็มีสัมผัสเป็นทุกข์
มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ถึงในอนาคตกาลกามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์
มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก แม้ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์
มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม
ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนเกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ มีอินทรีย์อันโทษกำจัด
แล้ว กลับได้ความสำคัญผิดในกามอันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่า เป็นสุขไป.

(ไทย)ม. ม. ๑๓/๒๑๔/๒๘๔:คลิกดูพระสูตร

(บาลี)ม. ม. ๑๓/๒๗๘/๒๘๔:คลิกดูพระสูตร

ความพอใจ เป็นเหตุแห่งทุกข์

 “ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต
ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์


ทุกข์ใดๆ อันจะเกิดขึ้นในอนาคต
ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
และทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น


ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์”.

 

อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...) หน้า ๓๓

(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๓๓/๖๒๗:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๓/๖๒๗:คลิกดูพระสูตร

ละความเพลิน จิตหลุดพ้น

สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย



 

นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย


เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ



 

ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย


เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ



 

นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจตีติ


เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.




มรรควิธีที่ง่ายปกหลัง
(ไทย)  สฬา. สํ. ๑๘/๑๔๖/๒๔๕-๖:คลิกดูพระสูตร

(บาลี)  สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕-๖:คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 :