อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นิพพานไม่ใช่อนัตตา หมายความว่าอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

ค่ำวันสิ้นปี 31 ธ.ค. 55

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

สังขต และ อสังขตลักษณะ ๓ อย่าง

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.

สามอย่างอย่างไรเล่า สามอย่างคือ :

๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ);

๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ) ;

๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).

ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล  คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม  ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.

สามอย่างอย่างไรเล่า สามอย่างคือ :

๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ) ;

             ๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ) ;

๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).

       ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.

ปฐมธรรม หน้า ๓๐๔-๓๐๕

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า  ๔๔๘

 (ภาษาไทย)  ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๖-๔๘๗.: คลิกดูพระสูตร

ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา

 

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณาสี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุเบญจวัคคีย์ ฯลฯ แล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ตัวตน ก็หากว่ารูปนี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ รูปนี้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ก็เพราะเหตุที่รูปมิใช่ตัวตน ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนามิใช่ตัวตน ก็หากเวทนานี้ จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาว่า ขอเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่เวทนามิใช่ตัวตน ฉะนั้นเวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในเวทนาว่า ขอเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญามิใช่ตัวตน ก็หากสัญญานี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่สัญญามิใช่ตัวตน ฉะนั้นสัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารมิใช่ตัวตน ก็หากสังขารนี้ จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า ขอสังขารของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่สังขารมิใช่ตัวตน ฉะนั้นสังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า ขอสังขารของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณมิใช่ตัวตน ก็หากวิญญาณนี้ จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่วิญญาณมิใช่ตัวตน ฉะนั้นวิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?

ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา?

ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า?

เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา?

ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ เวทนาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ สัญญาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ สังขารทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๔๐-๒๔๓

(ภาษาไทย)  ขนฺธ. สํ ๑๗/๖๔/๑๒๗-๑๒๙.: คลิกดูพระสูตร

ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง ...สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ...สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ...สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง ...สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ...สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ...สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ...นั่นไม่ใช่ของเรา ...นั่นไม่เป็นเรา ...นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ปฐมธรรม หน้า ๓๐๖

(ภาษาไทย)  ขนธ. สํ.  ๑๗/๔๔/๙๑.: คลิกดูพระสูตร

เบญจขันธ์เป็นที่บัญญัติกฎแห่งสังขตะ

อานนท์ ! ถ้าคนทั้งหลายจะพึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ !  กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี   กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น จากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้ว จักถูกบัญญัติ และย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่ธรรมเหล่าไหนเล่า ?”  ดังนี้.  

อานนท์ ! เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว  จะตอบเขาว่าอย่างไร ?

 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ถ้าคนทั้งหลายจะพึงถามข้าพระองค์เช่นนั้นแล้ว ข้าแต่พระองค์จะตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า  ผู้มีอายุ !  รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี  กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้วแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.

ผู้มีอายุ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี จักถูกบัญญัติแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น, ผู้มีอายุ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเหล่าใด เป็นสิ่งเกิดอยู่แล้ว ปรากฏอยู่แล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ เมื่อถูกถามอย่างนั้น จะพึงตอบแก่เขาอย่างนี้.

ถูกแล้ว อานนท์ ! ถูกแล้ว อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเหล่าใด  ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้ว แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.

อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็น อย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี จักถูกบัญญัติแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.

อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเหล่าใด เป็นสิ่งเกิดอยู่แล้ว ปรากฏอยู่แล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น. 

อานนท์ ! เธอ เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงตอบแก่เขาอย่างนี้เถิด.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๒๓-๒๒๔

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๘-๓๙/๘๑-๘๒.: คลิกดูพระสูตร

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕

พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า

ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย พึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านอานนท์

...ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนย่อมปรากฏ

...ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่าไหน ย่อมปรากฏ

...ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมเหล่าไหนที่ตั้งอยู่แล้ว ย่อมปรากฏ

ดังนี้ไซร้. เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯลฯ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นแห่งรูปแลย่อมปรากฏ ความเสื่อม แห่งรูปย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งรูปที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ. ความบังเกิดขึ้นแห่งเวทนา สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งวิญญาณย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งวิญญาณย่อมปรากฏ. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แล ย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้แล ย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมที่ตั้งอยู่แล้วย่อมปรากฏ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้แล.

ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์

...ความบังเกิดขึ้นแห่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณแลย่อมปรากฏ

...ความเสื่อมแห่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณแล ย่อมปรากฏ

...ความเป็นอย่างอื่นแห่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ตั้งอยู่แล้ว ย่อมปรากฏ

ดูกรอานนท์ ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แล ย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้แล ย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมเหล่านี้ที่ตั้งอยู่แล้ว ย่อมปรากฏ.

ดูกรอานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้แล้วพึงพยากรณ์อย่างนี้.

พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า

ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านอานนท์

...ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว

...ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว

...ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมเหล่าไหนที่ตั้งอยู่ปรากฏแล้ว.

 

...ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนจักปรากฏ

...ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่าไหนจักปรากฏ

...ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมที่ตั้งอยู่แล้วเหล่าไหนจักปรากฏ.

 

...ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนย่อมปรากฏ

...ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่าไหนย่อมปรากฏ

...ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมที่ตั้งอยู่แล้วเหล่าไหนย่อมปรากฏ.

ดูกรอานนท์เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างไร?

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯลฯ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณใดแล ที่ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว แปรไปแล้ว

...ความบังเกิดขึ้นแห่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณนั้นปรากฏแล้ว

...ความเสื่อมแห่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณนั้นปรากฏแล้ว

...ความเป็นอย่างอื่นแห่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ตั้งอยู่แล้วนั้น ปรากฏแล้ว.

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แลปรากฏแล้ว ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้แลปรากฏแล้ว ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมที่ตั้งอยู่แล้วเหล่านี้แลปรากฏแล้ว.

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณใดแล ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ

...ความบังเกิดขึ้นแห่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณนั้นจักปรากฏ

...ความเสื่อมแห่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณนั้นจักปรากฏ

...ความเป็นอย่างอื่นแห่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ตั้งอยู่แล้วนั้นจักปรากฏ.

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แลจักปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้แลจักปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมเหล่านี้ที่ตั้งอยู่แล้วแลจักปรากฏ.

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณใดแลที่เกิดที่ปรากฏ

...ความบังเกิดขึ้นแห่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณนั้นย่อมปรากฏ

...ความเสื่อมแห่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณนั้นย่อมปรากฏ

...ความเป็นอย่างอื่นแห่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ตั้งอยู่แล้วนั้นย่อมปรากฏ.

ดูกรอาวุโสทั้งหลายความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมที่ตั้งอยู่แล้วเหล่านี้แลย่อมปรากฏ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้วพึงพยากรณ์อย่างนี้แล.

ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์

รูปใดที่ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว แปรไปแล้ว ความบังเกิดขึ้นแห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว... ฯลฯ  ดูกรอานนท์

...ความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ

...ความเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้แลย่อมปรากฏ

...ความเป็นอย่างอื่นแห่งธรรมที่ตั้งอยู่เหล่า นี้แลย่อมปรากฏ.

 

ดูกรอานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้.

(ภาษาไทย)  ขนธ. สํ.  ๑๗/๓๗/๗๙.: คลิกดูพระสูตร

ว่าด้วยความเป็นอนิจจัง...ทุกข์...อนัตตา...แห่งขันธ์ ๕

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้ อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

 

ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยสัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ วิญญาณเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว  เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

 

ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา รูปนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้ อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

 

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเหตุปัจจัย

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า? เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง. ดูกรภิกษุทั้งหลายวิญญาณที่เกิดจากสิ่งไม่เที่ยง ที่ไหนจะเที่ยงเล่า? อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งเหตุปัจจัย

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์.  ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจะเป็นสุขเล่า? เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า? อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งเหตุปัจจัย

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตาที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า? เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญาเป็นอนัตตา  ฯลฯ สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น  ก็เป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า? อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ว่าด้วยความดับแห่งขันธ์ ๕

 

พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว  นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความดับเรียกว่านิโรธ ความดับแห่งธรรมเหล่าไหนแล เรียกว่า นิโรธ. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอานนท์ รูปแลเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งรูปนั้น เรียกว่านิโรธ. เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง  อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งวิญญาณนั้น เรียกว่านิโรธ. ดูกรอานนท์ ความดับแห่งธรรมเหล่านี้แล เรียกว่านิโรธ.

 

 (ภาษาไทย)  ขนธ. สํ.  ๑๗/๒๐-๒๔/๓๙-๔๘.: คลิกดูพระสูตร

เวทนานั้นทั้งหมด ย่อมถึงการประชุมลงในความทุกข์

ดูก่อนสารีบุตร ! ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามเธอ (ต่อไปอีก) อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านสารีบุตร ! เมื่อท่านรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร นันทิ (กิเลสเป็นเหตุให้รู้สึกเพลิน) จึงจะไม่เข้าไปตั้งอยู่ในเวทนาทั้งหลาย ? ” ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร ! เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบแก่เขาว่าอย่างไร ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าเขาถามเช่นนั้น ข้าพระองค์จะตอบแก่เขาว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ! เวทนาสามอย่างเหล่านี้ มีอยู่; สามอย่าง คือ สุขเวทนา  ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา. ดูก่อนท่านทั้งหลาย ! เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้ารู้แล้วว่า เวทนา ทั้ง ๓ อย่างนั้น เป็นของไม่เที่ยง; สิ่งใดเป็นของไม่เที่ยง, สิ่งนั้น ล้วนเป็นทุกข์ดังนี้ ; เพราะรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ นันทิ จึงไม่เข้าไปตั้งอยู่ในเวทนาทั้งหลายข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อถูกถามอย่างนี้   ข้าพระองค์จะตอบแก่เขาอย่างนี้”.

ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ! ปริยายที่เธอกล่าวนี้ ก็เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งเนื้อความนั้นแหละ แต่โดยย่อว่า เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้นทั้งหมด ย่อมถึงการประชุมลงในความทุกข์ดังนี้.

 

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๗๕

 (ภาษาไทย)  นิทาน สํ. ๑๖/๔๙/๑๑๓.: คลิกดูพระสูตร

สิ่งๆ หนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง

สิ่งสิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง

เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด

มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบนั้น มีอยู่;

ใน สิ่งนั้นแหละ

ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้;

ใน สิ่งนั้นแหละ

ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่

ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้;

ใน สิ่งนั้นแหละ

นามรูป ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือ;

นามรูป ดับสนิท ใน สิ่งนี้

เพราะการดับสนิทของวิญญาณ; ดังนี้แล.

 

ปฐมธรรม หน้า ๓๐๓

 (ภาษาไทย)  สี. ที. ๙/๓๒๙/๓๔๘-๓๕๐.: คลิกดูพระสูตร

การบัญญัติของนามรูปกับวิญญาณ

 

ดูก่อนอานนท์ ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลก จึงเกิดบ้าง จึงแก่บ้าง จึงตายบ้าง จึงจุติบ้าง จึงอุบัติบ้าง : คลองแห่งการเรียก (อธิวจน) ก็มีเพียงเท่านี้, คลองแห่งการพูดจา (นิรุตฺติ) ก็มีเพียงเท่านี้, คลองแห่งการบัญญัติ (ปญฺญตฺติ) ก็มีเพียงเท่านี้, เรื่องที่จะต้องรู้ด้วยปัญญา (ปญฺญาวจร) ก็มีเพียงเท่านี้, ความเวียนว่ายในวัฏฏะ ก็มีเพียงเท่านี้ : นามรูปพร้อมทั้งวิญญาณตั้งอยู่ เพื่อการบัญญัติซึ่งความเป็นอย่างนี้ (ของนามรูปกับวิญญาณ  นั่นเอง).

 

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๗๙๐

 (ภาษาไทย)  มหา. ที. ๑๐/๕๕/๖๐.: คลิกดูพระสูตร

ไวพจน์ของนิพพาน (๑)

 

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง นิพพาน แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! นิพพาน  เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล  เราเรียกว่า  นิพพาน.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้าที่ ๔๕๑ (ภาษาไทย)  สฬา. สํ. ๑๘/๓๗๒/๗๔๑.: คลิกดูพระสูตร

ไวพจน์ของนิพพาน (๒)

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อสังขตะ (สิ่งที่ไม่ถูกอะไรปรุงแต่งแก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย  จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อสังขตะ  เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล  เราเรียกว่า อสังขตะ.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้าที่ ๔๕๑

 (ภาษาไทย)  สฬา. สํ. ๑๘/๓๖๒/๖๗๔.: คลิกดูพระสูตร

ไวพจน์ของนิพพาน (๓)

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อนตะ(สิ่งซึ่งอะไร ๆ  น้อมไปไม่ได้) แก่พวกเธอทั้งหลายพวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อนตะ  เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะความสิ้นไปแห่งโทสะความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล  เราเรียกว่า อนตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อนาสวะ(สิ่งที่ไม่มีอาสวะ) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อนาสวะ  เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า  อนาสวะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง  สัจจะ (ของจริง)  แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัจจะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า สัจจะ

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง ปาระ (ฝั่งนอก)  แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปาระ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า ปาระ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง นิปุณะ (ของละเอียด) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! นิปุณะ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

             ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า นิปุณะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง สุทุททสะ (ของเห็นได้ยากอย่างยิ่ง) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สุทุททสะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะความสิ้นไปแห่งโทสะความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า สุทุททสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อชัชชระ (ของที่ไม่คร่ำคร่า) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย  จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อชัชชระ  เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า อชัชชระ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง ธุวะ (ของยั่งยืน) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธุวะ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า ธุวะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อปโลกินะ (เป้าที่หมาย) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อปโลกินะ  เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า อปโลกินะ

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อนิทัสสนะ (สิ่งที่ไม่แสดงตัว) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อนิทัสสนะ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล  เราเรียกว่า อนิทัสสนะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง นิปปปัญจะ (สิ่งที่ไม่ถ่วงไว้ในโลกนี้) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย  จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! นิปปปัญจะ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า นิปปปัญจะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง สันตะ (สิ่งสงบระงับ) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สันตะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า สันตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อมตะ (สิ่งไม่ตาย) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อมตะ  เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า อมตะ

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง ปณีตะ (สิ่งประณีต) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปณีตะ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า ปณีตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง สิวะ (สิ่งที่เย็น) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิวะ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า สิวะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง เขมะ (ที่เกษม) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! เขมะ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า เขมะ

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง ตัณหักขยะ (ที่สิ้นตัณหา) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย   จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหักขยะ  เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า ตัณหักขยะ.

                              

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อัจฉริยะ (สิ่งน่าอัศจรรย์) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย   จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อัจฉริยะ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า อัจฉริยะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อัพภุตะ (สิ่งที่ไม่มีไม่เป็น) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อัพภุตะ  เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า อัพภุตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อนีติกะ (สิ่งที่ไม่มีเสนียด) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย   จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อนีติกะ  เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า  อนีติกะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อนีติกธัมมะ (ธรรมที่ไม่เสนียด) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อนีติกธัมมะ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

      ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนีติกธัมมะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อัพ๎ยาปัชฌะ (สิ่งที่ไม่เบียดเบียนสัตว์)  แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อัพ๎ยาปัชฌะ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล  เราเรียกว่า อัพ๎ยาปัชฌะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง วิราคะ (ที่คลายกำหนัด) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย   จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิราคะ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า วิราคะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง สุทธิ (สิ่งบริสุทธิ์) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สุทธิ  เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า สุทธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง มุตติ  (ความพ้น) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มุตติ  เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า มุตติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง อนาลยะ (สิ่งที่ไม่เป็นอาลัย) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อนาลยะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนาลยะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง ทีปะ (เกาะที่พ้นน้ำ) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ทีปะ เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า ทีปะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง เลณะ (ที่ซ่อน) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! เลณะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า เลณะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง ตาณะ (ที่ป้องกัน) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตาณะ  เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า ตาณะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง สรณะ (ที่พึ่ง) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สรณะ  เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล  เราเรียกว่า  สรณะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่ง ปรายนะ (ที่สุดทาง) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปรายนะ  เป็นอย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

             ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้แล เราเรียกว่า ปรายนะ.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้าที่ ๔๕๑-๔๖๒

 (ภาษาไทย)  สฬา. สํ. ๑๘/๓๗๐-๓๗๓/๗๒๐-๗๕๑.: คลิกดูพระสูตร