พระสงฆ์ที่สอนผิดไปจากพุทธวจน จะทำให้ ศาสนาเสื่อมหรือไม่และพระพุทธเจ้ามีการปรับโทษไว้ หรือไม่ อย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์   12  มี.ค. 2554

ดาวน์โหลด : วิดีโอ

 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

มูลเหตุแห่งความวิวาทและวิธีระงับ

 

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้แล ที่บุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่นั้น พอสมัยพระผู้มีพระภาคล่วงลับไป จะพึงก่อวิวาทให้เกิดในสงฆ์ได้เพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือปาติโมกข์อันยิ่ง ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่มหาชน ไม่ใช่สุขของมหาชนไม่ใช่ประโยชน์ของมหาชนเป็นอันมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์

ดูก่อนอานนท์ ความวิวาทที่เกิดเพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือปาติโมกข์

อันยิ่ง นั้นเล็กน้อย ส่วนความวิวาทอันเกิดในสงฆ์ ที่เกิดเพราะเหตุมรรคหรือ

ปฏิปทา ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่มหาชน ไม่ใช่สุขของมหาชน

ไม่ใช่ประโยชน์ของมหาชนเป็นอันมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่

เทวดาและมนุษย์

ดูก่อนอานนท์ มูลเหตุแห่งความวิวาทนี้มี ๖ อย่าง ๖ อย่างเป็นไฉน

ดูก่อนอานนท์

() ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ ภิกษุที่เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรมแม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานั้น ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ ซึ่งเป็นความวิวาท มีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่มหาชน ไม่ใช่สุขของมหาชนไม่ใช่ประโยชน์ของมหาชนเป็นอันมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์

ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่ง ความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสียในที่นั้น ถ้าพวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล ลุกลามต่อไปในที่นั้น การละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุแห่งความวิวาท

อันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้

ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก

() ภิกษุเป็นผู้มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ...

() ภิกษุเป็นผู้มีความริษยา มีความตระหนี่...

() ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมายา...

() ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด...

() ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผินมีความถือรั้น สละคืนได้ยาก ภิกษุที่เป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความถือรั้น สละคืนได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดาแม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานั้น

ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดใน สงฆ์ซึ่งเป็นความวิวาท มีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่มหาชน

ไม่ใช่สุขของมหาชนไม่ใช่ประโยชน์ของมหาชนเป็นอันมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์

ดูก่อนอานนท์ ถ้าพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสียในที่นั้น ถ้าพวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุ

แห่งความวิวาทเช่นนี้ ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล ลุกลามต่อไปในที่นั้น การละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ความไม่ลุกลามต่อไป ของมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้

ดูก่อนอานนท์ เหล่านี้แล มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง

 

อธิกรณ์ ๔ อธิกรณสมถะ ๗

ดูก่อนอานนท์ อธิกรณ์นี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่างเป็นไฉน คือ

วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ดูก่อนอานนท์เหล่านี้แล อธิกรณ์ ๔ อย่าง

 

ดูก่อนอานนท์ ก็อธิกรณ์สมถะนี้มี ๗ อย่างแล คือ เพื่อระงับอธิกรณ์อันเกิดแล้วๆ สงฆ์พึงใช้สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ

 

ดูก่อนอานนท์ ก็สัมมุขาวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัย

นี้ย่อมวิวาทกัน ว่าเป็นธรรมหรือมิใช่ธรรม ว่าเป็นวินัยหรือมิใช่วินัย

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดแล พึงพร้อมเพรียงกันประชุม

พิจารณาแบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับ

โดยอาการที่เรื่องลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล

เป็นสัมมุขาวินัย ก็แหละความระงับ อธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัย อย่างนี้

 

ดูก่อนอานนท์ ก็เยภุยยสิกาเป็นอย่างไร คือ ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจ

ระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ พึงพากันไปยังอาวาสที่มีภิกษุมากกว่า

ภิกษุ ทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น ครั้นแล้วพึงพิจารณา

แบบแผนธรรมครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่อง

ลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นเยภุยยสิกา

ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยเยภุยยสิกา

อย่างนี้ ฯ

 

ดูก่อนอานนท์ ก็สติวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่าท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก (เพราะเป็นพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ไม่เคยทำเช่นนั้น จึงระลึกไม่ได้)

เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้นแล ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล

เป็นสติวินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วย

สติวินัยอย่างนี้

 

ดูก่อนอานนท์ ก็อมูฬหวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทก์ภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุจงระลึกดูเถิดว่าท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือ ใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้า ระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก ภิกษุ

ผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าถึงความเป็นบ้าใจฟุ้งซ่านแล้ว กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้ประพฤติล่วง และได้พูดละเมิดไป ข้าพเจ้าระลึกมันไม่ได้ว่าข้าพเจ้าผู้หลงทำกรรมนี้ไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้นแล ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นอมูฬหวินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยอมูฬหวินัย อย่างนี้

 

ดูก่อนอานนท์ ก็ปฏิญญาตกรณะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ ถูกโจทหรือไม่ถูกโจทก็ตาม ย่อมระลึกและเปิดเผยอาบัติได้ เธอพึงเข้า

ไปหาภิกษุผู้แก่กว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วไหว้เท้านั่งกระหย่ง

ประคองอัญชลี กล่าวแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า

ต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเห็นหรือ เธอตอบว่า ข้าพเจ้าเห็น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวว่า ท่านพึงถึง

ความสำรวมต่อไปเถิด เธอกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักถึงความสำรวม ดูก่อน

อานนท์ อย่างนี้แล เป็นปฏิญญาตกรณะ ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่าง

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยปฏิญญาตกรณะ อย่างนี้

 

ดูก่อนอานนท์ ก็ตัสสปาปิยสิกาเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้

โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก ว่า

ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือ

ใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้า

ระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียง

ปาราชิก ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุ

จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก

หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือ

ใกล้เคียงปาราชิก แต่ข้าพเจ้าระลึกได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย

ภิกษุผู้โจทก์นั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุจงรู้ตัว

ให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียง

ปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อันที่จริง ข้าพเจ้าต้อง

อาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อยไม่ถูกใครถามยังรับ ไฉนข้าพเจ้าต้องอาบัติหนัก

เห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ถูกถาม จักไม่รับเล่า ภิกษุ

ผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุก็ท่านต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย

ไม่ถูกถามยังไม่รับ ไฉนท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียง

ปาราชิกแล้ว ไม่ถูกถามจักรับเล่า เอาเถอะท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด

เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้วภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้ากำลังระลึกได้แล

ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว

คำที่ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ

ปาราชิกหรือใกล้เคียง ปาราชิกนี้ ข้าพเจ้าพูดพลั้งพูดพลาดไป ดูก่อน

อานนท์ อย่างนี้แลเป็น ตัสสปาปิยสิกา ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่าง

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วย ตัสสปาปิยสิกา อย่างนี้

 

ดูก่อนอานนท์ ก็ติณวัตถารกะเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้

เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงและได้พูดละเมิดกรรมอัน ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุม ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกัน พึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวร เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วง และได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ถ้าสงฆ์มีความ

พรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้

และของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์

ด้วยวินัยเพียงดังว่ากลบไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์

แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน ต่อนั้น ภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็น

ฝ่ายเดียวกันอีกฝ่ายหนึ่ง พึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนม

อัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่สงฆ์ ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วง และได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ถ้าสงฆ์มีความพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว

ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ และของตน ยกเว้นอาบัติ

ที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัย เพียงดังว่ากลบไว้ด้วยหญ้า

ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ และแก่ตน

ดูก่อนอานนท์  อย่างนี้แล เป็นติณวัตถารกะ ก็แหละความระงับอธิกรณ์ บางอย่างในธรรมวินัยนี้ย่อมมีได้ด้วยติณวัตถารกะอย่างนี้     

 

อริยวินัย  หน้า ๓๘๙.

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙/๕๔.: คลิกดูพระสูตร

 

ประกาศพรหมจรรย์…บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงพร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ

 

ภิกษุทั้งหลายพระสุคตหรือวินัยของพระสุคตยังดำรงอยู่ในโลก  พึงเป็นไป

เพื่อเกื้อกูลแก่มหาชนเป็นอันมาก เพื่อสุขแก่มหาชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก  เพื่อประโยชน์  เพื่อเกื้อกูล  เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลายก็ พระสุคต เป็นไฉน ?

ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้   เป็นผู้ไกลจากกิเลส  ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

เป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึก  อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า  เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม  เป็นผู้มีความจําเริญ จําแนกธรรมสั่งสอนสัตว์    ภิกษุทั้งหลายนี้ คือ พระสุคต

ภิกษุทั้งหลายก็ วินัยของพระสุคต เป็นไฉน ? 

ตถาคตนั้นทําให้แจ้งซึ่งโลกนี้  กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์  พร้อมทั้งสมณพราหมณ์  เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์  ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว  สอนผู้อื่น ให้รู้แจ้งตาม  ตถาคตนั้นแสดงธรรม  ไพเราะในเบื้องต้น  ไพเราะในท่ามกลางไพเราะในที่สุด  ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ดังนี้

ภิกษุทั้งหลายนี้ คือ วินัยของพระสุคต

ภิกษุทั้งหลาย ! พระสุคตหรือวินัยของพระสุคตยังดำรงอยู่ในโลก พึงเป็นไป เพื่อเกื้อกูลแก่มหาชนเป็นอันมาก เพื่อสุขแก่มหาชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลกเพื่อประโยชน์  เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

 

ผู้ทำศาสนาเสื่อม

 

ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้ ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน

จนเสื่อมสูญไป สี่อย่างอะไรกันเล่า? สี่อย่างคือ :-

ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุเล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิดด้วยบท

พยัญชนะที่ใช้กันผิด; เมื่อบทและพยัญชนะใช้กันผิดแล้ว แม้ความหมาย

ก็มีนัยอันคลาดเคลื่อน ภิกษุทั้งหลาย นี้มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระสัทธรรม

เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

ภิกษุทั้งหลายอีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุเป็นคนว่ายากประกอบด้วยเหตุ

ที่ทำให้ เป็นคนว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือนโดยความเคารพหนักแน่น

ภิกษุ ทั้งหลาย นี้มูลกรณีที่สอง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

ภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหูสูตร คล่องแคล่วใน

หลักพระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท), ภิกษุเหล่านั้น

ไม่ได้เอาใจใส่บอกสอนใจความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ; เมื่อท่าน

เหล่านั้น ล่วงลับดับไป สูตรทั้งหลายก็เลยขาดผู้เป็นมูลรากไม่มีที่อาศัย สืบไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

ภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุชั้นเถระ ทำการสะสมบริขาร

ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา เป็นผู้นำในทางทราม ไม่เหลียวแลในกิจ

แห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง

ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ผู้บวชในภายหลังได้เห็นพวก

พระเถระเหล่านั้น ทำแบบแผนเช่นนั้นไว้ ก็ถือเอาไปเป็นแบบอย่าง จึงทำให้

เป็นผู้ทำการสะสมบริขารบ้าง ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา เป็นผู้นำในทาง

ทราม ไม่เหลียวแลในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง, ตามกันสืบไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้มูลกรณีที่สี่ ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้แล ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน

จนเสื่อมสูญไป.

 

อริยวินัย  หน้า ๒.

(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ.  ๒๑/๑๔๔/๑๖๐.: คลิกดูพระสูตร

 

ธรรมที่เป็นไปในส่วนที่เสื่อม 

 

ผู้มีอายุทั้งหลาย !  

ธรรมที่เป็นไปในส่วนทางเสื่อม

คือ ธรรมด้วยความไม่เคารพ  ๖ ประการ  

๖ ประการ  เป็นไฉน ?  ๖ ประการ  คือ

ผู้มีอายุทั้งหลาย !   ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

(๑) ไม่มี ความเคารพ ไม่เชื่อฟัง ในพระศาสดา

(๒) ไม่มี ความเคารพ ไม่เชื่อฟัง ในพระธรรม  

(๓) ไม่มี ความเคารพ ไม่เชื่อฟัง ในพระสงฆ์  

(๔) ไม่มี ความเคารพ ไม่เชื่อฟัง ในความเป็นสิกขา   

(๕) ไม่มี ความเคารพ ไม่เชื่อฟัง ในความไม่ประมาท  

(๖) ไม่มี ความเคารพ ไม่เชื่อฟัง ในปฏิสันถาร

ธรรม  ๖ ประการ เหล่านี้  เป็นไปในส่วนทางเสื่อม

ธรรมที่เป็นไปในส่วนทางเจริญ

ผู้มีอายุทั้งหลาย !  

ธรรมที่เป็นไปในส่วนทางเจริญ 

คือ ธรรมด้วยความเคารพ  ๖ ประการ  

๖ ประการเป็นไฉน ?  ๖ ประการ  คือ

ผู้มีอายุทั้งหลาย !  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

(๑) มีความเคารพ เชื่อฟัง ในพระศาสดา

(๒) มีความเคารพ เชื่อฟัง ในพระธรรม  

(๓) มีความเคารพ เชื่อฟัง ในพระสงฆ์  

(๔) มีความเคารพ เชื่อฟัง ในความเป็นสิกขา   

(๕) มีความเคารพ เชื่อฟัง ในความไม่ประมาท  

(๖) มีความเคารพ เชื่อฟัง ในปฏิสันถาร

ธรรม  ๖ ประการ เหล่านี้  เป็นไปในส่วนที่เจริญ

(ภาษาไทย) ปา. ที. ๑๑/๒๖๒/๔๒๖-๔๒๗.: คลิกดูพระสูตร

 

มณิจูฬกสูตร

 

[๖๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน

ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสังสนทนากันว่าทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน ย่อมรับทองและเงิน ฯ

[๖๒๔] ก็สมัยนั้นแล นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ครั้งนั้น นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน นายบ้านมณิจูฬกะไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้ ฯ

[๖๒๕] ครั้งนั้น  นายบ้านจูฬกะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสังสนทนากันว่า ทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน เมื่อราชบริษัทกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินย่อมไม่ควรแก่สมณศากยบุตรสมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้ เมื่อข้าพระองค์พยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้แลหรือ พระเจ้าข้า ฯ

[๖๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ นายคามณี เมื่อท่านพยากรณ์อย่างนี้ เป็นอัน

กล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ เพราะว่าทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทองปราศจากทองและเงิน ดูกรนายคามณี ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้นเบญจกามคุณควรแก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น ดูกรนายคามณี ท่านพึงทรงความที่ควรแก่เบญจกามคุณนั้นโดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร อนึ่งเล่าเรากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้าผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษพึง แสวงหาบุรุษ เรามิได้กล่าวว่า สมณศากยบุตรพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายอะไรเลย ฯ

จบสูตรที่ ๑๐

 (ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๓๒/๖๒๕-๖๒๖.: คลิกดูพระสูตร

 

หมวดว่าด้วยสังฆกรรมลงโทษเพื่อให้แก้ไขพฤติกรรม

 

[แต่ทุกข้อนี้ต้องประชุมพร้อมเพรียงกันโดยธรรม ถูกต้องตามพระวินัย

ครั้นแล้ว ทรงอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสงฆ์ 

๔ รูป  ๕ รูป  ๑๐ รูป  ๒๐ รูป  ซึ่งทำกรรมต่างๆกันโดยพิสดาร.]

ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ย่อมก่อความบาดหมาง  ก่อการทะเลาะ

ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน  อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท  ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์  เอาละ พวกเรา

ทำ ตัชชนียกรรม     แก่ภิกษุ ผู้ควรตัชชนียกรรม ...

ทำ นิยสกรรม        แก่ภิกษุ ผู้ควรนิยสกรรม ...

ทำ ปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุ ผู้ควรปัพพาชนียกรรม ...

ทำ ปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุ ผู้ควรปฏิสารณียกรรม ...

ทำ อุกเขปนียกรรม  แก่ภิกษุ ผู้ควรอุกเขปนียกรรม ...  

 

ตัชชนียกรรม (ข่มขู่)

ทรงแสดง หลักการลงตัชชนียกรรม คือ การสวดประกาศลงโทษ เป็นการตำหนิ

ภิกษุผู้ชอบหาเรื่องก่อการทะเลาะวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ขึ้นในสงฆ์.

นิยสกรรม (ถอดยศหรือตัดสิทธิ)

ทรงแสดง หลักการลงนิยสกรรม  คือ  การถอดยศหรือตัดสิทธิ  แก่ภิกษุผู้มากด้วยอาบัติ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ในลักษณะที่ไม่สมควร.

ปัพพาชนียกรรม (ขับไล่)

ทรงแสดง หลักการลงปัพพาชนียกรรม  คือ  การไล่เสียจากวัด  แก่ภิกษุ

ผู้ประทุษร้ายตระกูลประจบคฤหัสถ์  ยอมตัวให้เขาใช้  มีความประพฤติชั่ว.

ปฏิสารณียกรรม  (ขอโทษคฤหัสถ์)

ทรงแสดง หลักการลงปฏิสารณียกรรม  คือ การให้ไปขอโทษคฤหัสถ์ แก่ภิกษุผู้ด่า บริภาษคฤหัสถ์.

อุกเขปนียกรรม (ยกเสียจากหมู่)

ครั้นแล้ว ทรงแสดงหลักการลงอุกเขปนียกรรม  คือ การสวดประกาศยกเสียจากหมู่ ไม่ให้ใครร่วมกิน ร่วมนอน หรือคบหาด้วย ว่าจะทำได้ในกรณีที่ไม่เห็นอาบัติ, ไม่ทำคืนอาบัติ, ไม่สละความเห็นที่ชั่ว

ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น  พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า  

กรรมพร้อมเพรียงกัน  โดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า  

กรรมไม่เป็นอันทำ  กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ  กรรมต้องทำใหม่

บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น  สองพวกนี้  เป็นธรรมวาที

[ต่อจากนั้น  ทรงอธิบาย  การทำกรรมที่เป็นธรรมและไม่เป็นธรรมแก่พระอุบาลี. 

ครั้นแล้ว ทรงแสดงวิธีระงับการลงโทษทั้ง ๕ ประการนั้น เมื่อภิกษุรูปที่ถูกลงโทษต่างๆแล้ว กลับประพฤติชอบหายเย่อหยิ่งกลับตัวได้ ขอระงับกรรม นั้นๆ กับสงฆ์  (การลงโทษทั้ง ๕ ประการนี้ เรียกรวม ๆ ว่า การลงนิคหกรรม)]

 

อริยวินัย  หน้า ๒๖๘.

(ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๒๒๑/๒๐๔-๒๓๖. : คลิกดูพระสูต

 

เหตุทำให้สงฆ์แตกกัน

 

เหตุเป็นเครื่องทำให้สงฆ์แตกกัน  มี ๑๘ ประการ คือ

ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า

พระพุทธเจ้าข้า !  พระองค์ตรัสว่า  สังฆเภท สังฆเภท  ดังนี้  ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตกกัน

 

อุบาลี ! ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้

๑.  แสดง อธรรมว่าเป็นธรรม

๒.  แสดง ธรรมว่าเป็นอธรรม

๓.  แสดง อวินัยว่าเป็นวินัย

๔.  แสดง วินัยว่าเป็นอวินัย

๕.  แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้ว่าตรัสไว้

๖.  แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามิได้ตรัสไว้

๗.  แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ประพฤติไว้ว่าได้ประพฤติ

๘.  แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้าประพฤติว่ามิได้ประพฤติ

๙.  แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้บัญญัติว่าบัญญัติ

๑๐. แสดง ข้อที่พระพุทธเจ้าบัญญัติว่ามิได้บัญญัติ

๑๑. แสดง สิ่งที่มิใช่อาบัติว่าเป็นอาบัติ

๑๒. แสดง อาบัติว่ามิใช่อาบัติ

๑๓. แสดง อาบัติเบาว่าหนัก

๑๔. แสดง อาบัติหนักว่าเบา

๑๕. แสดง อาบัติไม่มีส่วนเหลือว่ามีส่วนเหลือ

๑๖. แสดง อาบัติมีส่วนเหลือว่าไม่มีส่วนเหลือ

๑๗. แสดง อาบัติชั่วหยาบว่าไม่ชั่วหยาบ

๑๘. แสดง อาบัติไม่ชั่วหยาบว่าชั่วหยาบ

พวกเธอ ย่อมทำให้แตกแยกกัน ด้วยเหตุ ๑๘ ประการนี้

แล้วทำอุโบสถ ทำปวารณา และสังฆกรรม แยกกัน 

อุบาลี  ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล  สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว

[ส่วนเหตุ เป็นเครื่องทำให้สงฆ์สามัคคีกัน  ก็มี ๑๘ ประการ  ที่ตรงกันข้ามกับ  ที่กล่าวแล้ว  คือ  

แสดงถูกตรงตามความจริง  ทำอุโบสถร่วมกัน  ทำปวารณาร่วมกัน และ ไม่ทำสังฆกรรมแยกกัน. 

(ภาษาไทย) จุลฺล. วิ. ๗/๑๓๙/๔๐๖.]    

อริยวินัย  หน้า ๓๓๓.

(ภาษาไทย)  จุลฺล. วิ. ๗/๑๓๘/๔๐๕.: คลิกดูพระสูตร

 

แสดงวิธีระงับอธิกรณ์  ด้วยธรรมะ  ๗  ประการ

 

อานนท์  !  ก็อธิกรณ์สมถะนี้  มี ๗ อย่างแล คือ เพื่อระงับอธิกรณ์อันเกิดแล้ว

สงฆ์พึงใช้  สัมมุขาวินัย  สติวินัย  อมุฬหวินัย  ปฏิญญาตกรณะ  เยภุยยสิกา  ตัสสปาปิยสิกา  ติณวัตถารกะ  …

อานนท์  !  ก็ สัมมุขาวินัย สติวินัย อมุฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ … 

เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ …  เป็นอย่างไร ?

๑. สัมมุขาวินัย       การระงับอธิกรณ์  ในที่พร้อมหน้า (บุคคล,วัตถุ,ธรรมะ)…

๒. สติวินัย            การระงับอธิกรณ์  ด้วยยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ…

๓. อมูฬ๎หวินัย        การระงับอธิกรณ์  ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า…

๔. ปฏิญญาตกรณะ การระงับอธิกรณ์  ด้วยปรับตามรับสารภาพตามทำจริง…

๕. เยภุยยสิกา       การระงับอธิกรณ์  ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ…

๖. ตัสสปาปิยสิกา  การระงับอธิกรณ์  ด้วยการลงโทษ…

๗. ติณวัตถารกะ   การระงับอธิกรณ์  ดุจหญ้ากลบไว้  หยุดไม่ให้ลุกลาม…

อานนท์  !  อย่างนี้แล  เป็น  สัมมุขาวินัย สติวินัย อมุฬหวินัย

ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ …  

ก็แหละ  ความระงับอธิกรณ์บางอย่างใน ธรรมวินัยนี้  ย่อมมีได้ด้วย

สัมมุขาวินัย สติวินัย อมุฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ …   อย่างนี้  …

อริยวินัย  หน้า ๑๙๑.

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๔๑/๕๗-๖๔.: คลิกดูพระสูตร