บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่ วิดีโอ
ทรงแสดงเรื่องที่เป็นไปได้ยากเกี่ยวกับพระองค์เอง
ทรงแสดงเรื่องที่เป็นไปได้ยาก
เกี่ยวกับพระองค์เอง
ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่าบัดนี้ความเป็นมนุษย์ก็ได้แล้ว ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้วก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ว่า
“นี้ ทุกข์;
นี้ เหตุให้เกิดทุกข์;
นี้ ความดับแห่งทุกข์;
นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์”
ดังนี้เถิด
ตามรอยธรรม หน้า ๖
(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๔๘/๑๗๔๔ : คลิกดูพระสูตร
สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ
สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร :
ฝุ่นนิดหนึ่ง ที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า. ฝุ่นนิดหนึ่ง
เท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย. ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบ
กับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค (ส่วนเสี้ยว)”.
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น :
สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่หมู่มนุษย์ มีน้อย ; สัตว์ที่เกิดกลับเป็นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์ มีมากกว่าโดยแท้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ
อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
“ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้”,
ดังนี้.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๘
(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๔๘/๑๗๕๗ : คลิกดูพระสูตร
พระเสขะ คือ ผู้ที่กำลังจะรู้จักนิพพาน
พระเสขะ คือ ผู้ที่กำลังจะรู้จักนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุใด แม้ยังเป็น พระเสขะ ยังไม่บรรลุถึงอรหัตตมรรค
ยังปรารถนาพระนิพพานอันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า อยู่,
ภิกษุแม้นั้นย่อม รู้ชัดแจ้ง ซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน ;
เมื่อรู้ชัดแจ้ง ซึ่งนิพพาน โดยสักแต่ว่า เป็นนิพพานแล้ว,
ย่อมเป็นผู้ จะไม่หมายมั่น ซึ่งนิพพาน ;
จะไม่หมายมั่น ในนิพพาน ;
จะไม่หมายมั่น โดยความเป็นนิพพาน ;
จะไม่หมายมั่นว่า นิพพาน เป็นของเรา ดังนี้ ;
จึงเป็นผู้ จะไม่มีปกติเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่า นิพพานเป็นสิ่งที่ภิกษุผู้เสขะนั้น จะต้องได้รู้รอบ.” ดังนี้แล.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๕๕๓
(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๕/๓ : คลิกดูพระสูตร