บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
สังขตลักษณะ
ภิกษุทั้งหลาย !สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่างคือ :-
๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ);
๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ);
๓. เมื่อตั้งอยู่ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
(ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล คือ สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.
อสังขตลักษณะ
ภิกษุทั้งหลาย ! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม
๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.
๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ);
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ);
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
(น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.
พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๓๐๔-๓๐๕
.(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๗. : คลิกดูพระสูตร
เบญจขันธ์เป็นที่บัญญัติกฎแห่งสังขตะ
อานนท์ ! ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามเธออย่างนี้ว่า “ท่านอานนท์! กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น จากที่เป็นอยู่แล้วก็ดีได้ถูกบัญญัติแล้ว จักถูกบัญญัติ และย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่ธรรมเหล่าไหนเล่า ?” ดังนี้. อานนท์ !เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบเขาว่าอย่างไร ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามข้าพระองค์เช่นนั้นแล้ว ข้าแต่พระองค์จะตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเหล่าใด ล่วงไปแล้วดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้วแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น. ผู้มีอายุ ! รูปเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดีกฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี จักถูกบัญญัติแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น, ผู้มีอายุ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเหล่าใด เป็นสิ่งเกิดอยู่แล้ว ปรากฏอยู่แล้ว ;
กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.’ ดังนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ เมื่อถูกถามอย่างนั้น จะพึงตอบแก่เขาอย่างนี้.”
ถูกแล้ว อานนท์ ! ถูกแล้ว อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้ว แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.
อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ;
กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี จักถูกบัญญัติแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.
อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด เป็ นสิ่งเกิดอยู่แล้ว ปรากฏอยู่แล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.
อานนท์ ! เธอ เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงตอบแก่เขาอย่างนี้เถิด.
(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้หน้า๔๑๕, ๔๓๘, ๔๔๒, ๔๔๘, ๕๐๒, ๘๐๕ /
ในพุ.โอ.หน้า๓๙๙, ๔๖๒ / ในปฏิจจ.โอ.หน้า๑๕, ๖๕๕)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น หน้า ๒๒๓
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๗/๘๑-๘๒. : คลิกดูพระสูตร
เบญจขันธ์ไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย ! รูป เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้;
ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้;
ภิกษุทั้งหลาย ! สัญญา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้;
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้;
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ แล.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น หน้า ๒๓๓
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๕๐/๔๗๘.: คลิกดูพระสูตร
สิ่งใดมิใช่ของเรา
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้, สิ่งใดมิใช่ของพวกเธอ,
พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย, สิ่งนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์
สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สิ่งใดเล่า มิใช่ของพวกเธอ?
ภิกษุทั้งหลาย ! รูป มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละรูปนั้นเสีย ;
รูปนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละเวทนานั้นเสีย ;
เวทนานั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเองตลอดกาลนาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัญญา มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละสัญญานั้นเสีย ; สัญญานั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละสังขารทั้งหลายเหล่านั้นเสีย ; สังขารทั้งหลายเหล่านั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละวิญญาณนั้นเสีย ; วิญญาณนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญ ความข้อนี้ว่าอย่างไร ?
คือ ข้อที่หญ้า ไม้ กิ่งไม้และใบไม้ ใดๆ มีอยู่ ในเชตวันนี้, เมื่อคนเขาขนเอามันไปก็ตาม
เผาเสียก็ตาม หรือกระทำตามความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ;
พวกเธอเคยเกิดความคิดอย่างนี้บ้างหรือไม่ ว่า “คนเขาขนเอาเราไปบ้าง
เขาเผาเราบ้าง เขาทำแก่เราตามความปรารถนาของเขาบ้าง” ดังนี้?
“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!”
ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ?
“เพราะเหตุว่านั่น หาได้เป็น
ตัวตน หรือของเนื่องด้วยตัวตน ของข้าพระองค์ไม่ พระเจ้าข้า !”
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น, คือ สิ่งใด มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย ;
สิ่งนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน แล.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๔๓
(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๑๙๕/๒๘๗. : คลิกดูพระสูตร
ปฏิปทาการเพิกถอนความมั่นหมายในนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่ง ซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน
ครั้นรู้ยิ่ง ซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่ง นิพพาน (นิพฺพานํ น มฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ใน นิพพาน (นิพฺพานสฺมึ น มฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็น นิพพาน (นิพฺพานโต น มฺญติ) ;
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย นิพพาน ว่าของเรา (นิพฺพานมฺเมติ น มฺญติ) ;
ย่อม ไม่เพลิดเพลินอย่างยิ่ง ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ นาภินนฺทติ).
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุใดเปน พระอรหันต มีอาสวะสิ้นแลว อยูจบพรหมจรรย ทํากิจที่ตองทําสําเร็จแลว มีภาระอันปลงลงแลว มีประโยชนของตนอันตามถึงแลว มีสังโยชนในภพ สิ้นไปรอบแลว เปนผูหลุดพนแลว เพราะรูโดยชอบ ;
ภิกษุนั้น ยอมรูยิ่งซึ่งนิพพานโดยความเปนนิพพาน; …
ขอนั้น เรากลาววาเพราะ นิพพานเป็นสิ่งที่เธอนั้นกําหนดรู้รอบแล้ว.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๖๔๖
(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๖/๔. : คลิกดูพระสูตร