Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การไหว้เจ้า ในวันตรุษจีนถูกต้องหรือไม่ ตามหลักพุทธวจน

User Rating:  / 4
PoorBest 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : วิดีโอ

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

พิธีปลงบาปด้วยสัมมัตตปฏิปทา

พราหมณ์ ! อะไรกันหนอ ท่านจึงสระเกล้าในวัดอุโบสถ นุ่งห่มผ้าโขมพัสตร์คู่ใหม่ กำหญ้ากุสะสด มายืนอยู่ ณ ที่นี้ ? วันนี้เป็นวันอะไร ของพวกสกุลพราหมณ์ ?

พระโคดมผู้เจริญ ! วันนี้เป็นวันปัจโจโรหณี (ปลงบาป) ของ พวกสกุลพราหมณ์

พราหมณ์ ! พิธีปัจโจโรหณีของพวกพราหมณ์ เป็นอย่างไรกันเล่า ?

พระโคดมผู้เจริญ ! ใน กรณีนี้ พราหมณ์ทั้งหลายสระเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าโขมพัสตร์คู่ใหม่ ฉาบแผ่นดินด้วยโคมัยสด ปูลาดด้วยหญ้ากุสะสด แล้วสำเร็จการ นอนระหว่ากองกูณฑ์และเรือนไฟ ลุกขึ้นประคองอัญชลีต่อไฟนั้นสามครั้ง ในราตรีนั้น กล่าวอยู่ว่า ข้าพเจ้าปลงบาปกะท่านผู้เจริญ, ข้าพเจ้าปลงบาปกะท่านผู้เจริญดังนี้ หล่อเลี้ยงไฟไว้ด้วยเนยใส น้ำมัน เนยข้น อันพอเพียง; ล่วงราตรีนั้นแล้ว เลี้ยงดูพราหมณ์ ทั้งหลายให้อิ่มหนำ ด้วยขาทนียโภชนียะอันประณีต. พระโคดมผู้เจริญ! พิธีปัจโจโรหณี ของพวกพราหมณ์ เป็นอย่างนี้แล”.

พราหมณ์ ! พิธีปัจโจโรหณีของพวกพราหมณ์ เป็นอย่างหนึ่ง. ส่วน พิธีปัจโจโรหณีในอริยวินัย เป็นอย่างอื่น; กล่าวคือ พราหมณ์ ! อริยสาวกในกรณีนี้ พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ว่าวิบากแห่งมิจฉาทิฏฐินี้แลเป็น ธรรมลามกทั้งในทิฏฐิธรรม (ขณะนี้) และอภิสัมปรายะ (ขณะอื่น)”. ครั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ก็ ละเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ปลงลงเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิ. (ใน กรณีแห่งมิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่ง มิจฉาทิฏฐิ). พราหมณ์ ! ปัจโจโรหณีในอริยวินัย เป็นอย่างนี้ แล.

พระโคดมผู้เจริญ ! ปัจโจโรหณีของพวกพราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง ในอริยวินัย เป็นอย่างอื่น. ปัจโจโรหณีของพวกพราหมณ์ มีค่าไม่เข้าถึงส่วนเสี้ยวที่สิบหกของ ปัจโจโรหณีในอริยวินัยนี้ ”.

[ในสูตรนี้ตรัสเรียกพิธีกรรมนี้ว่า ปัจโจโรหณีในอริยวินัย; ส่วนในสูตรอื่นๆ (๒๔/๒๕๓,๒๖๙/๑๒๐ ,๑๕๗) ตรัสเรียกว่า ปัจโจโรหณีอันเป็นอริยะก็มี. ในสูตรอื่นทรงยกเอากุศลกรรมบถสิบ มาเป็นธรรมเครื่องปลงบาปแทนสัมมัตตะสิบก็มี ( ๒๔/๒๖๗ - ๒๖๙/๑๕๖) ].

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๔๔๗

(ภาษาไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๒๐๔/๑๑๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 

เหตุที่ทำให้เป็นผู้มีรูปงาม,

มีทรัพย์มากและสูงศักดิ์

พระนางมัลลิกา ! มาตุคาม บางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคืองและความไม่พอใจ ให้ปรากฏ เป็นผู้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์ และถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์.

ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๑๓๒

(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๒/๑๙๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ การโกง   การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภนี้มิจฉาอาชีวะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย   เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์อย่าง สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้นเจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน

ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ จึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมากัมมันตะ   สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาอาชีวะ   สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาวายามะ   สัมมาสติ จึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาสมาธิ   สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้  

เมื่อมีสัมมาญาณะ   สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๔๙/๒๗๕-๒๗๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด

[๒๘๘] ดู กรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เขาได้ฟังต่อคนผู้มีจักษุกล่าวว่า ดูกรผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้. เขาพึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง. บุรุษ คนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงบุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้นว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทิน สะอาด ดังนี้. เขารับเอาผ้านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้. ดู กรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น รู้อยู่ เห็นอยู่ รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ หรือว่าเปล่งวาจาแสดงความยินดี ด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเล่า?

ท่านพระ โคดม บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น ไม่รู้ไม่เห็นเลย รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่า เข้าไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ ด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเท่านั้น.

ดู กรมาคัณฑิยะ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีจักษุ ไม่รู้ความไม่มีโรค ไม่เห็นพระนิพพาน เออก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ยังกล่าวคาถานี้ได้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้. ดูกรมาคัณฑิยะ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้ตรัสพระคาถาไว้ว่า

ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์แปด เป็นทางเกษม.

บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลำดับ. ดู กรมาคัณฑิยะ กายนี้แล เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ ท่านนั้นกล่าวกายนี้เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ว่า ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้. ก็ท่านไม่มีจักษุของพระอริยะ อันเป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรคอันเป็นเครื่องเห็นนิพพาน.

มาคัณฑิยะอาราธนาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม

[๒๘๙] ข้าพเจ้า เลื่อมใสต่อท่านพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถ เพื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความไม่มีโรคให้เห็นนิพพานได้.

ดู กรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กำเนิด ไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์. มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา พึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้นได้ทำยารักษาเขา เขาอาศัยยานั้นแล้วก็เห็นไม่ได้ ทำจักษุให้ใสไม่ได้ ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน แพทย์ต้องมีส่วนแห่งความลำบาก ความคับแค้นสักเพียงไร มิใช่หรือ?

อย่างนั้น ท่านพระโคดม.

ดู กรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรคนั้นคือสิ่งนี้ นิพพานนั้นคือสิ่งนี้ ดังนี้ ท่านนั้นก็พึงรู้ความไม่มีโรคไม่ได้ พึงเห็นนิพพานไม่ได้ อันนั้น พึงเป็นความเหน็ดเหนื่อย เป็นความลำบากแก่เรา.

[๒๙๐] ข้าพเจ้า เลื่อมใสต่อท่านพระโคดมด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความไม่มีโรค ให้เห็นนิพพานได้.

ดู กรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์. แต่ เขาได้ฟังต่อคนที่มีจักษุซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น พึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงเขานั้นว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด. เขารับผ้านั้นมา ห่ม มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา ตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ทำยาถอนให้อาเจียร ยาถ่ายให้ลง ยาหยอด ยาหยอดซ้ำ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วเห็นได้ ชำระตาให้ใสได้ เขาย่อมละความรักด้วยสามารถความพอใจในผ้าเทียมเปื้อนเขม่าโน้นได้ พร้อมกับตาเห็น เขาพึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้นโดยความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก อนึ่ง เขาพึงสำคัญบุรุษที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิตเสียด้วยความแค้นว่า บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้เอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงให้หลงว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้ มานานหนอ ฉันใด ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแสดงธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้. ท่านนั้นพึง รู้ ความไม่มีโรค พึงเห็นนิพพานได้ ท่านนั้นก็จะละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในขันธ์ที่มีอุปาทานทั้งห้าได้ พร้อมกับความเห็นเกิดขึ้น อนึ่ง ท่านพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานานแล้วหนอ เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่รูปเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่เวทนาเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สัญญาเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สังขารเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่วิญญาณเท่านั้น เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยภพจึงมีแก่เรานั้น เพราะภพนั้นเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

[๒๙๑] ข้าพเจ้า เลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถ เพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้าไม่เป็นคนบอด ลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้.

ดู กรมาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น ท่านควรคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้น ท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ท่านจักรู้เอง เห็นเองว่า โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้ โรค ฝี ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

มาคัณฑิยะได้บรรพชาและอุปสมบท

[๒๙๒] พระ ผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด. ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบท ในสำนักท่านพระโคดม.

ดู กรมาคัณฑิยะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่ว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้.

ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชาอุปสมบทได้ไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสสี่ปี ต่อเมื่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชาให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด.

มาคัณฑิยปริพาชกได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว. ก็ เมื่อท่านมาคัณฑิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านานเท่าไร ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ท่านมาคัณฑิยะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

(ภาษาไทย) ม. ม. ๑๓/๒๑๗-๒๒๑/๒๘๘-๒๙๒. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 


 

 

 

Today944
Yesterday1254
This week5749
This month15767
Total2523072

Who Is Online

20
Online