โรคซึมเศร้า รักษาอย่างไร
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก : เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว; เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”; เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ ย่อมละความระลึกและความดำริอันอาศัยเรือนเสียได้. เพราะละความระลึกและความดำรินั้นได้ จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว. ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุนั้นก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ. อานาปานสติ หน้า ๔๗–๔๘ (บาลี) อุปริ. ม. ๑๔/๒๐๔/๒๙๔. : คลิกดูพระสูตร (ไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๖๑/๒๙๔. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล ว่าไม่เที่ยง ความเห็นเช่นนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ (การเห็นอยู่โดยถูกต้อง) ของเธอนั้น. เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย (สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ; เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ (นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ; เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ (ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย) ; เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้. (นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ). (บาลี) สฬา.สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕-๖:คลิกดูพระสูตร (ไทย) สฬา.สํ. ๑๘/๑๔๖/๒๔๕-๖:คลิกดูพระสูตร