เจ้ากรรมนายเวร มีหรือไม่ ตามหลักพุทธวจน, จำเป็นต้องอุทิศบุญกุศลให้หรือไม่
วิดีโอ
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
สัตว์ต้องเวียนว่ายเพราะไม่เห็นอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ บางคราวตกเอาโคนลง
บางคราวตกเอาตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง, ข้อนฉันใด ;
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก แล่นไปอยู่ท่องเที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ ก็ทำนองเดียวกัน บางคราวแล่นไปจาก โลกนี้สู่โลกอื่น บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ
● อริยสัจคือทุกข์
● อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
● อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
● อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่ เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน เป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้.” ดังนี้. –
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๙๗
(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๗๑๖.: คลิกดูพระสูตร
คหบดีบุตร ! อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้งหกโดยเฉพาะแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?
คหบดีบุตร ! พึงทราบว่า ทิศทั้งหกเหล่านี้ มีอยู่ คือ :-
พึงทราบว่า มารดาบิดา เป็นปุรัตถิมทิศ (ทิศเบื้องหน้า),
พึงทราบว่า อาจารย์ เป็นทักขิณทิศ (ทิศเบื้องขวา),
พึงทราบว่า บุตรภรรยา เป็นปัจฉิมทิศ (ทิศเบื้องหลัง),
พึงทราบว่า มิตรสหาย เป็นอุตตรทิศ (ทิศเบื้องซ้าย),
พึงทราบว่า ทาสกรรมกร เป็นเหฏฐิมทิศ (ทิศเบื้องต่ำ),
พึงทราบว่า สมณพราหมณ์ เป็นอุปริมทิศ (ทิศเบื้องบน).
หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหน้า
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหน้า คือ มารดาบิดา
อันบุตรพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
ท่านเลี้ยงเราแล้ว เราจักเลี้ยงท่าน ๑
เราจักทำกิจของท่าน ๑
เราจักดำรงวงศ์สกุล ๑
เราจักปฏิบัติตนเป็นทายาท ๑
เมื่อท่านทำกาละล่วงลับไปแล้ว
เราจักกระทำทักษิณาอุทิศท่าน ๑
ฉบับ ๗ ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๗
(ภาษาไทย) ปา. ที. ๑๑/๑๓๙/๑๗๔–๒๐๕: คลิกดูพระสูตร
หลักในการใช้จ่ายทรัพย์
คหบดี ! อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์ที่ ตน หาได้มา ด้วยความเพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น รวบรวมมาด้วย กำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ประกอบด้วย ธรรม ได้มาโดยธรรม เพื่อกระทำกรรมในหน้าที่ ๔ ประการ
๔ ประการอย่างไรเล่า ? ๔ ประการในกรณีนี้คือ :-
๑. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มา โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ในการเลี้ยงตน ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารตนให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง,
๒. ในการเลี้ยงมารดาและบิดาให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหาร ท่านทั้งสองให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง,
๓. ในการเลี้ยงบุตร ภรรยา ทาสและกรรมกรชายหญิง ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารให้อยู่กันอย่างเป็นสุขโดยถูกต้อง,
๔. ในการเลี้ยงมิตร อำมาตย์ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๑ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล( อายตนโส)
คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :
๒. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มา โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ในการปิดกั้น อันตรายทั้งหลาย ทำตนให้สวัสดีจากอันตรายทั้งหลาย ที่เกิดจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร หรือจากทายาท ที่ไม่เป็นที่รักนั้น ๆ นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๒ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้วบรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบ ด้วยเหตุผล
คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :
๓. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มา โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวข้างต้น) ในการกระทำพลีกรรม ๕ ประการ คือ
สงเคราะห์ญาติ (ญาติพลี)
สงเคราะห์แขก (อติถิพลี)
สงเคราะห์ผู้ล่วงลับไปแล้ว (ปุพพเปตพลี)
ช่วย ชาติ (ราชพลี)
บูชาเทวดา (เทวตาพลี)
นี้เป็นการบริโภค ทรัพย์ ฐานที่ ๓ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภค
แล้วโดยชอบด้วยเหตุผล
คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :
๔. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหามาได้ โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ในการตั้งไว้ซึ่ง ทักษิณา อุทิศแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้งดเว้นแล้วจาก ความประมาทมัวเมา ผู้ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะผู้ฝึกฝน ทำความสงบ ทำความดับเย็น แก่ตนเอง อันเป็น ทักษิณาทานที่มีผลเลิศในเบื้องบน เป็นฝ่ายดี มีสุข เป็นผลตอบแทน เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์ นี้เป็นการ บริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๔ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล.
คหบดี ! อริยสาวกนั้น ย่อมใช้โภคทรัพย์ ที่ตนหาได้มาด้วยความเพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น รวบรวม มาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เพื่อกระทำกรรม ในหน้าที่ ๔ ประการเหล่านี้.
(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๗/๖๑ : คลิกดูพระสูตร