ถ้าความทุกข์เป็นผลจากกรรมเก่า กรรมใหม่คืออะไร มีอะไรบอกได้ว่าเรากำลังจะหมดกรรม
แสดงธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี ดาวน์โหลด mp3 : คลิกที่นี่เสียง
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคล เหล่าอื่น. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี ; เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว, พุทธวจน แก้กรรม หน้า ๒๔ (ภาษาไทย) นิทาน.สํ. ๑๖/๖๒/๑๔๓. : คลิกดูพระสูตร
พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต),
เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต),
เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).
ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ :
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้,สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ;
เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี ;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ , สิ่งนี้จึงดับไป :
ข้อนี้ได้แกสิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
จึงมีความดับแห่งสังขาร,
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; .....ฯลฯ ..... ฯลฯ ..... ฯลฯ .....
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ แล.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย ทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา. .... ภิกษุทั้งหลาย !กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ (ตา) .... โสตะ (หู) .... ฆานะ (จมูก) .... ชิวหา (ลิ้น) .... กายะ (กาย) .... มนะ (ใจ) อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า) อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น) เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้). ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด, อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่. พุทธวจน แก้กรรม หน้า ๒๑ (ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๖/๒๒๗-๒๓๑.: คลิกดูพระสูตร
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราจักแสดงของหนัก ผู้แบกของหนัก ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป, ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เราเรียกว่า ของหนัก. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อะไรเล่าชื่อว่าผู้แบกของหนัก ? ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อะไรเล่าชื่อว่าการแบกของหนัก ? ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เราเรียกว่า การแบกของหนัก. ตามรอยธรรม หน้า๙๕ (ภาษาไทย) ขนฺธ. ส°. ๑๗/๒๕/๔๙-๕๑ : คลิกดูพระสูตร
และการแบกของหนัก แก่พวกเธอ, เธอทั้งหลายจงฟังข้อความนั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อะไรเล่าชื่อว่าของหนัก ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อุปาทานักขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ เรากล่าวว่าเป็นของหนัก.
อุปาทานักขันธ์ทั้งห้า เหล่าไหนเล่า ? คือ :-
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร,
และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคล (ตามสมมติ) นั้นแหละ เราเรียกว่าผู้แบกของหนัก
เขามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนั้น ตามที่รู้กันอยู่.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เราเรียกว่า ผู้แบกของหนัก.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ตัณหาอันใดที่ทำให้มีการเกิดอีก
อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน
ซึ่งมีปกติทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.