Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

เวทนา ในปฏิจจสมุปบาท, ขันธ์ ๕ และสติปัฏฐาน ๔ เป็นองค์ธรรมเดียวกันหรือไม่ และ ขอคำอธิบายเกี่ยวกับ เวทนานิโรธ

User Rating:  / 8
PoorBest 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ

แล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ

ซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ

ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขาร

ให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ

หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและ

ลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ

ซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ

หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ

ซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข

หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำ

จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำ

จิตตสังขารให้รำงับหายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้

เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร

เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก

ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต

หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้

ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง

หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้

ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้

ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่

หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็น

จิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ

มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว

ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่ง

ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็น

ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่ง

ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็น

ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่ง

ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็น

ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่ง

ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็น

ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ

เป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและ

โทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้.

ฉบับ ๖ อานาปานสติ 13

 (ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๔๐/๑๔๐๒-๑๔๐๓.: คลิกดูพระสูตร 

 


 

ภิกษุองค์หนึ่งกราบทูลว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ ได้เกิดการใคร่ ครวญ

ขึ้นในใจว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า  ‘เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ

ประมวลลงในความทุกข์ดังนี้  ข้อที่พระองค์ตรัสว่าเวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนา

นั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์ ดังนี้ ทรงหมายถึงอะไรหนอ ?’’

ภิกษุ ! ดีแล้ว ดีแล้ว. เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ อย่าง เหล่านี้คือ สุขเวทนา

ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา จริง ; และยังได้กล่าว่าเวทนาใด ๆ ก็ตาม

เวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์”. ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงความเป็นของ

ไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลายนั่นเอง, และเรายังกล่าวหมายถึงความเป็นของสิ้นไป

เป็นธรรมดา ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา ความเป็นของจางคลายไปเป็น

ธรรมดา ความเป็นของดับไม่เหลือเป็นธรรมดา ความเป็นของแปรปรวนเป็น

ธรรมดา ของสังขารทั้งหลายนั่นแหละ ที่ได้กล่าวว่าเวทนาใด ๆ ก็ตาม

เวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์ดังนี้.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑๘๒

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๓๑/๓๙๑: คลิกดูพระสูตร

 


 

ภิกษุทั้งหลาย !  ความดับแหงสังขารโดยลําดับๆ เราไดกลาวแลว ดังนี้คือ :- 

เมื่อเขาสู  ปฐมฌาน แลว วาจา ยอมดับ ;

เมื่อเขาสู  ทุติยฌาน แลว วิตก และ วิจาร ยอมดับ ;

เมื่อเขาสู  ตติยฌาน แลว ปีติ ยอมดับ ;

เมื่อเขาสู  จตุตถฌาน แลว อัสสาสะ และ ปัสสาสะ ยอมดับ ;

เมื่อเขาสู  อากาสานัญจายตนะ แลว รูปสัญญา ยอมดับ ;

เมื่อเขาสู  วิญญาณัญจายตนะ แลว อากาสานัญจายตนสัญญายอดับ ;

เมื่อเขาสู  อากิญจัญญายตนะ แลว วิญญาณัญจายตนสัญญา ยอมดับ ;

เมื่อเขาสู  เนวสัญญานาสัญญายตนะ แลว อากิญจัญญายตนสัญญา ยอมดับ ;

เมื่อเขาสู  สัญญาเวทยิตนิโรธ แลว สัญญา และ เวทนา ยอมดับ ;

(เหลือสังขารขันธ์และ วิญญาณขันธ์)

เมื่อภิกษุ  สิ้นอาสวะ แลว ราคะ ก็ดับ โทสะ ก็ดับ โมหะ ก็ดับ.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น  หน้า ๗๖๖

(ภาษาไทย) สฬา.สํ. ๑๘/๒๓๑/๓๙๒. : คลิกดูพระสูตร

 


 

ภิกษุทั้งหลาย !  นิพพานธาตุมี ๒ อย่าง, สองอย่างเหล่าไหนเล่า ?

สองอย่างคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย !  สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์

แล้ว ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว

มีกิเลสอันเป็นเครื่องผูกติดให้อยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว

เพราะรู้โดยชอบ. อินทรีย์ห้าของเธอยังตั้งอยู่ เพราะเป็นอินทรีย์ที่ยังไม่ถูกกำจัด

เธอย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นที่ชอบใจบ้าง ไม่เป็นที่ชอบใจบ้าง

ให้รู้สึกสุขและทุกข์บ้าง. ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ

ความสิ้นไปแห่งโมหะของเธอ อันใด,

ภิกษุทั้งหลาย! อันนั้นแหละ เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

 

. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย !  ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว

อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว

ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว

มีกิเลสอันเป็นเครื่องผูกติดอยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย !  เวทนาทั้งหลายทั้งปวงของเธอ อันเธอไม่

เพลิดเพลินแล้ว จักดับเย็นในโลกนี้เอง.

ภิกษุทั้งหลาย! อย่างนี้แล เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

( คาถาผนวกท้ายพระสูตรนี้ มีว่า :-)

นิพพานธาตุ อันพระผู้มีพระภาคผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิ

ไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ ได้ประกาศไว้แล้ว มีอยู่ ๒ อย่าง เหล่านี้คือ

นิพพานธาตุอย่างหนึ่ง (มี) เพราะความสิ้นไปแห่งภวเนตติ เป็นไป

ในทิฎฐธรรมนี้ (อิธ ทิฏฺฐธมฺมิกา) ยังมีอุปาทิเหลือ, และนิพพาน-

ธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) ไม่มีอุปาทิเหลือ เป็นไปในกาลเบื้องหน้า

(สมฺปรายิกา) เป็นที่ดับแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง.

บุคคลเหล่าใด รู้ทั่วถึงแล้วซึ่งนิพพานธาตุสองอย่างนั่นอันเป็ น

อสังขตบท เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นพิเศษแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งภว-

เนตติ ; บุคคลเหล่านั้น ยินดีแล้ว ในความสิ้นไป (แห่งทุกข์) เพราะ

การถึงทับซึ่งธรรมอันเป็ นสาระ เป็นผู้คงที่ ละแล้วซึ่งภพทั้งปวง, ดังนี้.

เนื้อความแม้นี้ เป็นเนื้อความอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว

อย่างนี้, ดังนี้.

(ถ้อยคำในพากย์บาลี มีดังต่อไปนี้ :-)

เทฺว อิมา จกฺขุมตา ปกาสิตา

นิพฺพานธาตู อนิสฺสิเตน ตาทินา

เอกา หิ ธาตุ อิธ ทิฏฺฐธมฺมิกา

สอุปาทิเสสา ภวเนตฺติสงฺขยา

อนุปาทิเสสา ปน สมฺปรายิกา

ยมฺหิ นิรุชฺฌนฺติ ภวานิ สพฺพโส.

เย เอตทญฺญาย ปทํ อสงฺขตํ

วิมุตฺตจิตฺตา ภวเนตฺติสงฺขยา

เต ธมฺมสาราธิคมกฺขเย รตา

ปหํสุ เต สพฺพภวานิ ตาทิโนติ.

อยมฺปิ อตฺโถ วุตฺโต ภควตา อิติ เม สุตนฺติ.

๔๔๖ อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๔๔๕

(ภาษาไทย)  อิติวุ. ขุ. ๒๕/๑๙๒/๒๒๒. : คลิกดูพระสูตร

 


อิมสฺมึ       สติอิทํ โหติ

                             เมื่อสิ่งนี้ มี      สิ่งนี้ ย่อมมี

                          อิมสฺสุปฺปาทา      อิทํ อุปฺปชฺชติ

          เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้      สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

                            อิมสฺมึ อสติ      อิทํ น โหติ

                          เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี      สิ่งนี้ ย่อมไม่มี

                          อิมสฺส นิโรธา      อิทํ นิรุชฺฌติ

           เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้      สิ่งนี้จึงดับไป.

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์  หน้า ๓

(ภาษาไทย)  นิทาน. สํ. ๑๖/๖๘/๑๕๔. : คลิกดูพระสูตร

 


 

ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ให้ตั้งใจฟังแล้ว ได้ตรัสข้อความเหล่านี้ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟัง ปฏิจจสมุปบาท นั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าว บัดนี้.

ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่า ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! :

เพราะมีอวิชชา         เป็นปัจจัย จึงมี    สังขารทั้งหลาย.

เพราะมีสังขาร         เป็นปัจจัย จึงมี    วิญญาณ;

เพราะมีวิญญาณ      เป็นปัจจัย จึงมี    นามรูป;

เพราะมีนามรูป        เป็นปัจจัย จึงมี    สฬายตนะ;

เพราะมีสฬายตนะ    เป็นปัจจัย จึงมี    ผัสสะ;

เพราะมีผัสสะ         เป็นปัจจัย จึงมี    เวทนา;

เพราะมีเวทนา         เป็นปัจจัย จึงมี    ตัณหา;

เพราะมีตัณหา         เป็นปัจจัย จึงมี    อุปาทาน;

เพราะมีอุปาทาน      เป็นปัจจัย จึงมี    ภพ;

เพราะมีภพ            เป็นปัจจัย จึงมี    ชาติ;

เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณ ะ โสกะปริเวทะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;

เพราะมีความดับ แห่งสังขาร       จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ;

เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ    จึงมีความดับ แห่งนามรูป;

เพราะมีความดับ แห่งนามรูป     จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ;

เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ;

เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ       จึงมีความดับ แห่งเวทนา;

เพราะมีความดับ แห่งเวทนา      จึงมีความดับ แห่งตัณหา;

เพราะมีความดับ แห่งตัณหา      จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน;

เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน    จึงมีความดับ แห่งภพ;

เพราะมีความดับ แห่งภพ          จึงมีความดับ แห่งชาติ;

เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”, ดังนี้.

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์  หน้า ๑๑

(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖// : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

Today335
Yesterday1353
This week4617
This month8508
Total2539371

Who Is Online

15
Online