Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

พุทธวจนกล่าวถึงการละความเพลินให้ได้เร็วไว้อย่างไร และการมีสติอยู่กับอิริยาบถต่าง ๆ ทำอย่างไร

User Rating:  / 3
PoorBest 

 

วิดีโอ

 

บางส่วนจากการแสดงธรรม ณ ยุวพุทธธิกสมาคม 8 ส.ค. 55

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา)ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ–ไม่เป็นที่ชอบใจ–

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.

 

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า

“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)

เป็นของหยาบๆ (โอฬาริก)

เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);

แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำ.งับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.

(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ–ไม่เป็นที่ชอบใจ-ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

  

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ–ไม่เป็นที่ชอบใจ ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

 

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย

 

(ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.ในกรณีแห่ง

เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ

รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และ

ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ทรงตรัสอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้นๆ, คือ

กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,

กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำ.ตกจากใบบัว,

กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งนำ้.ลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,

กรณีโผฏฐัพพะ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,

กรณีธรรมารมณ์ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดนำ้.บนกระทะเหล็กที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)

 

 

หนังสืออินทรีย์สังวร หน้า ๑๑๘

(ไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๔๐๙–๔๑๒/๘๕๖–๘๖๑ : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๑–๕๔๔/๘๕๖–๘๖๑ : คลิกดูพระสูตร 

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

แม้มีประมาณน้อย ชั่วลัดนิ้วมือเดียว

ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้.

 

 

หนังสือภพภูมิ หน้า ๑๙

(ไทย)เอก. อํ. ๒๐/๓๖/๒๐๓: คลิกดูพระสูตร

(บาลี)เอก. อํ. ๒๐/๔๕/๒๐๓: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

           สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือดร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้า ย่อมกล่าวซึ่งโรคนั้น โดยความเป็นตัวเป็นตน

เขาสำคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยประการอื่นจากที่เขาสำคัญนั้น

สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น.

เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย เขากลัวต่อสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์.

 

           พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ   สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความหลุดพ้นจากภพว่ามีได้เพราะภพ    เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ.

 

            ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความออกไปได้จากภพ ว่ามีได้เพราะวิภพ  เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ยังสลัดภพออกไปไม่ได้ ก็ทุกข์นี้มีขึ้น เพราะอาศัยซึ่งอุปธิทั้งปวง   เพราะความสิ้นไปแห่ง อุปาทานทั้งปวง ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์จึงไม่มี    ท่านจงดูโลกนี้เถิด (จะเห็นว่า) สัตว์ทั้งหลายอัน อวิชชาหนาแน่นบังหน้าแล้ว และว่าสัตว์ผู้ยินดีในภพอันเป็นแล้วนั้น    ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นไปจากภพได้.

 

            ก็ภพทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด อันเป็นไปในที่หรือในเวลาทั้งปวง เพื่อความมีแห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง

ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา    เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งข้อนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้อยู่  เขาย่อมละภวตัณหาได้ และไม่เพลิดเพลินวิภวตัณหาด้วย.

 

          ความดับเพราะความสำรอกไม่เหลือ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง นั้นคือ นิพพาน.

ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้ว เพราะไม่มีความยึดมั่น     ภิกษุนั้น เป็นผู้ครอบงำได้แล้ว ชนะสงครามแล้ว ก้าวล่วงพ้นภพทั้งหลายทั้งปวงได้แล้ว เป็นผู้คงที่ ดังนี้แล.

 

 

หนังสือภพภูมิ หน้า ๕๑๓

(ไทย)อุ.ขุ. ๒๕/๘๗/๘๔: คลิกดูพระสูตร

(บาลี)อุ.ขุ. ๒๕/๑๒๑/๘๔: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

Today17
Yesterday867
This week3817
This month15197
Total2495696

Who Is Online

5
Online