"บรรพชาเป็นโอกาสว่าง ... ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี" หมายความว่าอย่างไร
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ. คฤหบดี หรือว่าคฤหบดีบุตร หรือบุคคลผู้เกิดแล้วในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในภายหลัง ย่อมไดฟังซึ่งธรรมนั้น. บุคคลนั้นๆ ครั้นได้ฟังแล้วย่อมได้ซึ่งสัทธาใน ตถาคต, มาตามพร้อมแล้วด้วยการได้สัทธาในตถาคตแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาส
ว่าง ; มิใช่เป็นการง่าย ที่จะอยู่ครองเรือนแล้วประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์อันขัดดีแล้ว, ถ้ากระไร เราจะพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะแล้ว ออกจากเรือนบวชสู่ความไม่มีเรือนเถิด” ดัง นี้บุคคลนั้น ครั้นถึงสมัยอื่น ละโภคะน้อยใหญ่ ละวงค์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะแล้ว ออกบวชจากเรือนสู่ความไม่มีเรือน.
ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร, มีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย, มาตามพร้อมแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรม อันเป็นกุศล, มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย, ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ, มีความสันโดษ.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๐๔๑
(ภาษาไทย) สี. ที. ๙/๕๙/๑๐๒ : คลิกดูพระสูตร