Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

หลักการรู้ตามซึ่งสัจจธรรม 12 ขั้นตอน คืออย่างไร

User Rating:  / 6
PoorBest 

 

วิดีโอ 1

เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน 2554/23

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

วิดีโอ 2

 

ณ โรงแรมเกษมศานติ์ จันทบุรี   2 พ.ค. 2555

 บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
 ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

 

วิดีโอ 3

 

สนทนาธรรมค่ำเสาร์   27 ส.ค. 2554

 บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
 ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

 

 

 “ข้าแต่พระองค์เจริญ ! ข้าพระองค์เป็นคนชรา เป็นคนแก่คนเฒ่ามานานผ่านวัยมาตามลำ ดับ. ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมโดยย่อในลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงเป็นทายาทแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด พระเจ้าข้า !”.

 

มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ รูปทั้งหลาย อันรู้สึกกันได้ทางตา เป็นรูปที่ท่านไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็น ที่ท่านกำลังเห็นอยู่ก็ไม่มี ที่ท่านคิดว่าท่านควรจะได้เห็นก็ไม่มี ดังนี้แล้ว ความพอใจก็ดีความกำหนัดก็ดี ความรักก็ดี

ในรูปเหล่านั้น ย่อมมีแก่ท่านหรือ ?

ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”.

 

(ต่อไปนี้ ได้มีการตรัสถามและการทูลตอบในทำนองเดียวกันนี้ทุกตัวอักษร

ผิดกันแต่ชื่อของสิ่งที่นำมากล่าว คือในกรณีแห่งเสียงอันรู้สึกกันได้ทางหู ในกรณีแห่ง กลิ่นอันรู้สึกกันได้ทางจมูก            ในกรณีแห่ง รสอันรู้สึกกันได้ทางลิ้น ในกรณีแห่ง โผฏฐัพพะอันรู้สึกกันได้ทางผิวกาย และในกรณีแห่ง ธรรมารมณ์อันรู้สึกกันได้ทางใจ).

 

มาลุงก๎ยบุตร ! ในบรรดาสิ่งที่ท่าน พึงเห็นพึงฟัง พึงรู้สึก พึงรู้แจ้งเหล่านั้น;

ใน สิ่งที่ท่านเห็นแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าเห็น;

ใน สิ่งที่ท่านฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าได้ยิน;

ใน สิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว (ทางจมูก, ลิ้น, กาย)จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก;

ใน สิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว (ทางวิญญาณ)ก็จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง.

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแล ในบรรดาธรรมเหล่านั้น :

เมื่อ สิ่งที่เห็นแล้ว สักว่าเห็น, สิ่งที่ฟังแล้ว สักว่าได้ยิน,

สิ่งที่รู้สึกแล้ว สักว่ารู้สึก, สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สักว่ารู้แจ้ง,ดังนี้แล้ว;

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มีเพราะเหตุนั้น;

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีเพราะเหตุนั้น, เมื่อนั้น ตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้นๆ;

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีในที่นั้นๆ,เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้

ไม่มีในโลกอื่นไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง :นั่นแหละ คือที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารดังต่อไปนี้ :-

เห็นรูปแล้ว สติหลงลืม ทำในใจซึ่งรูปนิมิตว่า

น่ารัก มีจิตกำหนัดแก่กล้าแล้ว เสวยอารมณ์นั้นอยู่

ความสยบมัวเมาย่อมครอบงำบุคคลนั้น. เวทนาอัน

เกิดจากรูปเป็นอเนกประการ ย่อมเจริญแก่เขานั้น.

อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา.

เมื่อสะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่ายังไกลจากนิพพาน.

(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกัน).

บุคคลนั้นไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย เห็นรูปแล้วมีสติเฉพาะ มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์อยู่ ความสยบมัวเมาย่อมไม่ครอบงำบุคคลนั้น. เมื่อเขาเห็นอยู่

ซึ่งรูปตามที่เป็นจริง เสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปๆ

ไม่เพิ่มพูนขึ้น เขามีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้,

เมื่อไม่สะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้ต่อนิพพาน.

(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้

อย่างเดียวกัน).

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความ

แห่งภาษิตอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดาร

อย่างนี้ พระเจ้าข้า !”.

พระผู้มีพระภาค ทรงรับรองความข้อนั้น ว่าเป็นการถูกต้อง. ท่านมาลุงก๎ยบุตรหลีกออกสู่ที่สงัดกระทำความเพียรได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในศาสนานี้.

พุทธวจน มรรควิธีที่ง่าย  หน้า ๗๕.

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๗๒/๑๓๑-๑๓๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่กล่าวการประสบความพอใจในอรหัตตผล

ด้วยการกระทำอันดับแรกเพียงอันดับเดียว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แต่ว่า รประสบควมพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้

เพระกรศึกษโดยลำดับ เพระกรกระทำโดยลำดับ

เพระกรปฏิบัติโดยลำดับ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็การประสบความพอใจในอรหัตตผล  ย่อมมีได้

เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ

เพราะการปฏิบัติโดยลำดับนั้น

เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !  บุรุษบุคคลในกรณีนี้ :

เป็นผู้มีศรัทธเกิดขึ้นแล้ว ย่อม เข้ไปห(สัปบุรุษ);

เมื่อเข้าไปหา ย่อม เข้ไปนั่งใกล้;

เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อม เงี่ยโสตลงสดับ;

ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อม ได้ฟังธรรม;

ครั้นฟังแล้ว ย่อม ทรงจำธรรมไว้,

ย่อม ใคร่ครวญพิจรณซึ่งเนื้อคว

แห่งธรรม ทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้;

เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่,

ธรรมทั้งหลยย่อมทนต่อกรเพ่งพิสูจน์;

เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่

ฉันทะ (ควมพอใจ) ย่อมเกิด;

ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อม มีอุตสหะ;

ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อม ใช้ดุลยพินิจ (เพื่อหาความจริง);

ครั้นใช้ดุลยพินิจ (พบ) แล้ว ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น;

ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่

ย่อม กระทำให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ด้วยนามกาย ด้วย,

ย่อม เห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย.

พุทธวจน ปฐมธรรม  หน้า ๒๙๓.

(ภาษาไทย) ม. ม. ๑๓/๑๘๑/๒๓๘. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

Today403
Yesterday428
This week2767
This month4940
Total2362934

Who Is Online

14
Online