การปรุงแต่งในธรรมเป็นไปพร้อมเพื่อวิชชา เป็นอย่างไร
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพทั้งหลาย ๓ อย่าง เหล่านี้คือ :-
กามภพ
รูปภพ
อรูปภพ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ภพ.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมี
เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน
ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมี
เพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐนั่นเอง
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ
การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ
ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภพภูมิ หน้า ๓
(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๓๙/๙๑.: คลิกดูพระสูตร
(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๕๑/๙๑: คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็น
ที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์
มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์
มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์
มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า :-
เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป
การจุติ (การตาย) การอุบัติ (การเกิด)
ความเจริญ ความงอกงาม
และความไพบูลย์ของวิญญาณ
โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา
เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร ดังนี้นั้น
นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.
ภพภูมิ หน้า ๑๑
(ไทย)ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๔-๕๕/๑๐๖-๑๐๗: คลิกดูพระสูตร
(บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗-๖๘/๑๐๖-๑๐๗ : คลิกดูพระสูตร
“ภิกษุ ทั้งหลาย. ! รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน. สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง; ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน” ดังนี้. อัคคิเวสสนะ ! เราย่อมนำสาวกทั้งหลายไปอย่างนี้, อนึ่ง อนุสาสนีของเรา ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนแห่งการจำแนกอย่างนี้, ดังนี้. (ไทย) มู. ม. ๑๒/๓๐๒/๓๙๖: คลิกดูพระสูตร (บาลี)มู. ม. ๑๒/๔๒๓/๓๙๖: คลิกดูพระสูตร