Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ทุกขาปฏิปทา และ สุขาปฏิปทา คืออะไร

User Rating:  / 2
PoorBest 

 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรม ณ โรงแรมจันทรารีสอร์ท วันที่ 16 พ.ย. 55
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ ๔ แบบ

ภิกษุทั้งหลาย !ปฏิปทา ๔ ประการ เหล่านี้ มีอยู่ คือ :

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.

แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติ

เห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร

มีสัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ

สัทธาพละ, หิริพละ, โอตตัปปพละ, วิริยพละ, ปัญญาพละ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ

สัทธินทรีย์, วิริยินทรีย์, สตินทรีย์, สมาธินทรีย์, ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ

ได้ช้า :

ภิกษุทั้งหลาย !นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า .

 

แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติ

เห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร

มีสัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ

สัทธาพละ, หิริพละ, โอตตัปปพละ, วิริยพละ, ปัญญาพละ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ

สัทธินทรีย์, วิริยินทรีย์, สตินทรีย์, สมาธินทรีย์, ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุทั้งหลาย !นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.

 

แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัด

จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย

จึงบรรลุปฐมฌาน...ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน

(มีรายละเอียดดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ

สัทธาพละ, หิริพละ, โอตตัปปพละ, วิริยพละ, ปัญญาพละ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ

สัทธินทรีย์, วิริยินทรีย์, สตินทรีย์, สมาธินทรีย์, ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้น จึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้น      อาสวะได้ช้า :

ภิกษุทั้งหลาย !นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า .

 

แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัด

จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ

สัทธาพละ, หิริพละ, โอตตัปปพละ, วิริยพละ, ปัญญาพละ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ

สัทธินทรีย์, วิริยินทรีย์, สตินทรีย์, สมาธินทรีย์, ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.

                                                                                                                                                                                                                                         

มรรควิธีที่ง่าย หน้า  ๑๑๔-๑๑๘

                                        (ภาษาไทย)  จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๔๘/๑๖๓.: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

Related questions

Today1027
Yesterday1254
This week5832
This month15850
Total2523155

Who Is Online

122
Online