Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) และ นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ต่างกันอย่างไร

User Rating:  / 4
PoorBest 

 

 

วิดีโอ

สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์  28 ธ.ค. 56
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3


 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปไม่เที่ยง ...สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ...

สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ...

สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

 

เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง

...สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

...สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

...สิ่งใดเป็นอนัตตา

เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

...นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)

...นั่นไม่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)

...นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา(น เมโส อตฺตา)

เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ

หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่

เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

 

ปฐมธรรม หน้า ๓๐๖

(ภาษาไทย)  ขนธ. สํ.  ๑๗/๔๔/๙๑.  : คลิกดูพระสูตร

 

  

ภิกษุ ท. ! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.

สามอย่างอย่างไรเล่า ?  สามอย่างคือ :

 

๑.  มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ)

๒.  มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ)

๓.  เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).

 

ภิกษุ ท. ! สามอย่างเหล่านี้แล  คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.

 

 

ภพภูมิหน้า ๔๖๘

    (ภาษาไทย) สี.ที. ๒๐/๑๔๔/๔๘๗. :คลิกดูพระสูตร

 

 

 ภิกษุ ท. ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นธรรมมีส่วนแห่งวิชชา(วิชฺชาภาคิย).

หกอย่าง อย่างไรเล่า ?  หกอย่างคือ

อนิจจสัญญา (สัญญาว่าไม่เที่ยง)

อนิจเจทุกขสัญญา (สัญญาว่าทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง)

ทุกเขอนัตตสัญญา (สัญญาว่ามิใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์)

ปหานสัญญา (สัญญาในการละ)

วิราคสัญญา (สัญญาในความคลายกำหนัด)

นิโรธสัญญา (สัญญาในความดับ). 

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรม ๖ อย่างเป็นธรรมมีส่วนแห่งวิชชา.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๖๘๐-๖๘๑.

(ภาษาไทย) ฉกฺก. อํ.  ๒๒/๓๐๔/๓๐๖. :คลิกดูพระสูตร

  

 

 

 

 

 

 

Today1090
Yesterday1254
This week5895
This month15913
Total2523218

Who Is Online

89
Online