Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ในเมื่อเราเก็บจิตไว้ปฏิบัติตามชนผู้มีอายุเหล่าอื่นแล้ว และชนเหล่านั้นยังมีการทะเลาะอยู่ ยังมองดูกันด้วยสายตาไม่เป็นมิตรอยู่ แบบนี้ จะต้องทำอย่างไร?

User Rating:  / 3
PoorBest 

 

 

วิดีโอ

สนทนาธรรมค่ำเสาร์ วันที่ 4 มิ.ย. 2554
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง 

 

ความอยากเป็นเหตุแห่งความทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง. ๙ อย่าง อย่างไรเล่า ?

๙ อย่าง คือ :-

เพราะอาศัยตัณหา จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา);

เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);

เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);

เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค);

เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมี ความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ);

เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห);

เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่(มจฺฉริยํ);

เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น(อารกฺโข);

เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ)

กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท

การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จทั้งหลาย: ธรรมอันเป็น

บาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ชื่อว่าธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.

 

ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๒๙

(บาลี) นวก. อํ. ๒๓/๔๑๓/๒๒๗.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหา. ที. ๑๐/๖๙/๕๙.. : คลิกดูพระสูตร 

 

เหตุแห่งการเบียดเบียน

“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! อะไรเป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนาอยู่ว่า เราจักเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้ว ก็ไม่สามารถจักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันเล่า พระเจ้าข้า?”

จอมเทพ ! ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี่ (มัจฉริยะ) นั่นแล เป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนาอยู่ว่า เราจักเป็นคน ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถจักเป็นผู้อยู่ อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันได้.

“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็ความอิจฉาและความตระหนี่นั้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ (นิทาน) มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น (สมุทัย) มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด (ชาติกะ) มีอะไรเป็นแดนเกิด (ปภวะ)? เมื่ออะไรมีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงมี? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงไม่มี พระเจ้าข้า?”

จอมเทพ ! ความอิจฉา และความตระหนี่ นั้น มีสิ่งอันเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก (ปิยาปฺปิย) นั่นแลเป็นต้นเหตุ... เมื่อสิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักไม่มีอยู่ ความอิจฉา และ ความตระหนี่ก็ไม่มี.

“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้นเล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ...ฯลฯ... ? เมื่ออะไรมีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงมี? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงไม่มีพระเจ้าข้า ? ”

จอมเทพ ! สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้นมีฉันทะ (ความพอใจ ) เป็นต้นเหตุ...ฯลฯ... เมื่อฉันทะ ไม่มีอยู่สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักก็ไม่มี...

ปฐมธรรม หน้า ๘๐

(บาลี) มหา. ที. ๑๐/๓๑๐-๓๑๒/๒๕๕-๒๕๖. : คลิกดูพระสูตร 

    

Today1031
Yesterday1254
This week5836
This month15854
Total2523159

Who Is Online

124
Online