การดูจิตอย่างละเอียด ทำอย่างไร
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ [๑] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออก ดังนี้ ; [๒] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ; [๓] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ; [๔] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ; ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุ ท. ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติ อันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ภิกษุ นั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น. (ไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๖/๒๘๙:คลิกดูพระสูตร
(บาลี) อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๕/๒๘๙:คลิกดูพระสูตร
[๒๔๐]ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืมอมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม ฯ (ไทย) เอก. อํ. ๒๐/๔๕/๒๔๐:คลิกดูพระสูตร (บาลี) เอก. อํ. ๒๐/๕๙/๒๔๐:คลิกดูพระสูตร
จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?” มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้ ; เมื่อนันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมมี ; เมื่อสาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี ; มิคชาละ ! ภิกษุผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง”. มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะส้องเสพเสนาสนะ อันเป็นป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่สมควรแก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้วก็ตาม, ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่าผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ; ตัณหานั้น อันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง ดังนี้. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๓๕๘ – ๓๕๙ (ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๔/๖๖:คลิกดูพระสูตร (บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๔๓/๖๖:คลิกดูพระสูตร มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ เป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้, แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นนั่นแหละ, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับ ; เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่, สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมไม่มี ; เมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมไม่มี ; มิคชาละ ! ภิกษุผู้ ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว”. มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้อยู่ในหมู่บ้าน อันเกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย, ด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาทั้งหลาย, ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลายก็ตาม ; ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็เรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่าตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของ ภิกษุนั้น ; ตัณหานั้น อันภิกษุนั้นละเสียได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเรา จึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว, ดังนี้ แล. (ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๔/๖๗ :คลิกดูพระสูตร (บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๔๔/๖๗ :คลิกดูพระสูตร