Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ทาน, ทมะ และ สัญญมะ คืออะไร

User Rating:  / 3
PoorBest 

 

วิดีโอ 1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 ส่วนหนึ่งของสนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ที่ ๙ เม.ย. ๕๔

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนทางที่ไม่เรียบ ก็พึงมีทางเส้นอื่นที่เรียบ สำหรับ หลีกทางที่ไม่ราบเรียบนั้น อนึ่ง เปรียบเหมือนท่าที่ไม่ราบเรียบ ก็พึงมีท่าอื่นที่ราบเรียบ สำหรับ หลีกท่าที่ไม่ราบเรียบนั้น

ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เบียดเบียน

การงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.

การงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลักทรัพย์.

การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เสพเมถุน.

การงดเว้นจากมุสาวาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเท็จ.

การงดเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด.

การงดเว้นจากผรุสวาจา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ.

การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.

ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.

ความไม่พยาบาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.

ความเห็นชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเห็นผิด.

ความดำริชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความดำริผิด.

การกล่าววาจาชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวาจาผิด.

การงานชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการงานผิด.

การเลี้ยงชีพชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีอาชีพผิด.

ความเพียรชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเพียรผิด.

ความระลึกชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความระลึกผิด.

ความตั้งใจชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตั้งใจผิด.

ความรู้ชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความรู้ผิด.

วิมุตติชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวิมุตติผิด.

 

(ไทย)ม. มู. ๑๒/๕๘/๑๐๖.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)ม. มู. ๑๒/๗๘/๑๐๖.คลิกดูพระสูตร

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุข อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เรารู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่ง ซึ่งวิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ที่ตนเสวยแล้วสิ้นกาลนาน แห่งบุญทั้งหลายที่ตนได้ทำไว้สิ้นกาลนาน เราเจริญ เมตตาจิตตลอด ๗ ปีแล้ว ไม่กลับมาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อกัปฉิบหายอยู่ เราเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระเมื่อกัปเจริญอยู่ เราย่อม เข้าถึงวิมานแห่งพรหมที่ว่าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าเราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ใครครอบงำไม่ได้ เป็นผู้สามารถเห็นอดีต อนาคตและปัจจุบันโดยแท้ เป็นผู้ยังจิตให้ เป็นไปในอำนาจ อยู่ในวิมานพรหมนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราได้เป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระธรรมราชามีสมุทรสาครสี่เป็น ขอบเขต เป็นผู้ชนะวิเศษแล้ว ถึงความเป็นผู้มั่นคงในชนบท ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง จะกล่าวใยถึงความเป็นพระเจ้าประเทศราชเล่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเรา หนอแล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมาก อย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรม ๓ ประการของเรา คือ ทาน ๑ ทมะ ๑ สัญญมะ ๑

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา ประพันธ์ดังนี้ว่า กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษาบุญนั่นแล อันสูงสุดต่อไปซึ่งมีสุข เป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ ความประพฤติสงบ ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิต ครั้นเจริญธรรม ๓ ประการอันเป็นเหตุเกิดแห่งความสุขเหล่านี้ แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุข ฯ

 

(ไทย)อิติวุ.ขุ.๒๕/๑๗๒/๒๐๐.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)อิติวุ.ขุ.๒๕/๒๔๐/๒๐๐.คลิกดูพระสูตร

 

Today378
Yesterday739
This week3311
This month14691
Total2495190

Who Is Online

10
Online