Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

อภิชฌาและโทมนัส คืออะไร

User Rating:  / 8
PoorBest 

 

วิดีโอ

 

 

บางส่วนจาก สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ ๕ มีนาคม ๒๕๕๔

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4,mp3

 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย ใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า

เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจ ออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หาย ใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนา ชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแลในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาใน เวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเรา จักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลายใน สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืน กิเลส หายใจ ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่า บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ

 

(ไทย)อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๖/๒๘๙.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๕/๒๘๙.คลิกดูพระสูตร

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วนแห่ง การชำแรกกิเลส แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมปริยายที่เป็นปริยาย เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสนั้นเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกามความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความ ดับกาม

เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่ง เวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา

เธอทั้งหลาย พึงทราบสัญญา เหตุ เกิดแห่งสัญญา ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับสัญญา

เธอทั้งหลาย พึงทราบอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบาก แห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะปฏิปทาที่ให้ถึงความดับอาสวะ

เธอทั้งหลาย พึงทราบกรรม เหตุเกิดแห่งกรรมความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับกรรม

เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวนี้ว่า เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม นั้น เรา อาศัยอะไรกล่าว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่น ที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจเป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อ ว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณในวินัยของพระอริยะเจ้า ฯ 

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้วจึงได้ตรัส คาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม ความกำหนัดที่เกิดขึ้นด้วย สามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของตน ส่วนว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัดความ พอใจ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งกามเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกาม ทั้งหลาย ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นไฉน คือกามในรูปเป็นอย่างหนึ่งกามในเสียงเป็น อย่างหนึ่ง กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง กามในรสเป็นอย่างหนึ่งกามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่าความต่างกันแห่งกาม วิบากแห่งกามเป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ ย่อมยัง อัตภาพที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้นๆให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่า วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกามเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกามเพราะผัสสะดับ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ แห่งกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดกามเหตุเกิดแห่งกาม ความ ต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็น ที่ดับแห่งกาม ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม ฯลฯ ปฏิปทาให้ ถึงความดับแห่งกาม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาให้ ถึงความดับแห่งเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลายเวทนา ๓ ประการนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็เหตุเกิดแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุ เกิดแห่งเวทนา ก็ความต่างกันแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ สุขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุก ขมสุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ นี้เรียกว่าความต่างแห่ง เวทนา วิบากแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากเวทนานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งเวทนา ก็ความ ดับแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ความดับแห่งเวทนาย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริย มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นข้อปฏิบัติ ที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดเวทนา เหตุเกิด แห่งเวทนา ความต่างกันแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนาปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อม ทราบชัด พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับเวทนานี้ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา ดังนี้ นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯปฏิปทาที่ให้ ถึงความดับแห่งสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ ประการนี้ คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญารสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา เหตุเกิดแห่ง สัญญาเป็นไฉน คือผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา ก็ความต่างแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ สัญญาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่งสัญญา ในรสเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในธรรมารมณ์เป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความต่างแห่งสัญญา ก็วิบากแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าวสัญญาว่ามีคำพูดเป็นผล (เพราะว่า) บุคคลย่อมรู้สึกโดยประการใดๆ ก็ย่อมพูดโดยประการนั้นๆ ว่า เราเป็นผู้มีความ รู้สึกอย่างนั้นนี้เรียกว่าวิบากแห่งสัญญา ก็ความดับแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ ความดับแห่ง สัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญาดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญาความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่ง สัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลายอาสวะ ๓ ประการ คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ก็เหตุเกิดแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ อวิชชาเป็นเหตุเกิดอาสวะ ก็ความต่างแห่งอาสวะเป็นไฉน คืออาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่นรกก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่กำเนิด สัตวดิรัจฉานก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่เปรตวิสัยก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่มนุษย์โลกก็มี ที่เป็นเหตุให้ ไปสู่เทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งอาสวะ ก็วิบากแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ การที่บุคคล มีอวิชชา ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากอวิชชานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งอาสวะ ก็ความดับแห่งอาสวะเป็นไฉน คือความดับแห่งอาสวะย่อมเกิด เพราะความดับแห่งอวิชชา อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อม ทราบชัดอาสวะเหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัด พรหมจรรย์ อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับอาสวะนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจาด้วยใจ ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เรา ย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรมที่ให้ผลในภพที่ เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรมความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวก นั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสเป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความ ต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้พยาธิก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาสก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิด แห่งทุกข์ ก็ความต่างแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ทุกข์มากก็มี ทุกข์น้อยก็มี ทุกข์ที่คลายช้าก็มี ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งทุกข์ ก็วิบากแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ บุคคลบางคน ในโลกนี้ถูกทุกข์อย่างใดครอบงำ มีจิตอันทุกข์อย่างใดกลุ้มรุม ย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลง ก็หรือบางคนถูกทุกข์ใดครอบงำแล้ว มีจิตอันทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้ว ย่อมแสวงหาเหตุปลดเปลื้องทุกข์ในภายนอกว่าใครจะรู้ทางเดียวหรือสองทางเพื่อดับทุกข์นี้ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวทุกข์ว่ามีความหลงใหลเป็นผล หรือว่ามีการแสวงหาเหตุปลดเปลื้อง ทุกข์ภายนอกเป็นผล นี้เรียกว่าวิบากแห่งทุกข์ ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ความดับแห่ง ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งตัณหา อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับ แห่งทุกข์ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัด พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ฯ

 

(ไทย)ฉกฺก. อ. ๒๒/๓๖๕-๓๖๙/๓๓๔.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)ฉกฺก. อ. ๒๒/๔๕๘-๔๖๑/๓๓๔.คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Related questions

Today1033
Yesterday1254
This week5838
This month15856
Total2523161

Who Is Online

121
Online