Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

จิตสัมผัสกับผี เป็นจริงหรือปรุงแต่ง ต้องอุทิศบุญกุศลหรือไม่

 

วิดีโอ


บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่


พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามเทวดากับอสูรประชิดกัน ก็ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ ก็พวกอสูรที่แพ้กลัวแล้ว ยังจิตของพวกเทวดาให้งวยงงอยู่ เข้าไปสู่บุรีอสูรโดยทางก้านบัว เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงอย่าคิดเรื่องโลกว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้

 

ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

     เพราะความคิดนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความ

 

คลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร?  เพราะความคิดนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ  นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

 

(ไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๔๑-๔๔๒/๑๗๒๕-๑๗๒๗:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๘-๕๕๙/๑๗๒๕-๑๗๒๗:คลิกดูพระสูตร

  

เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และ

อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อใด จิตของเธอ เป็นจิตตั้งมั่น

ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำ จิตได้

 

เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทำ ให้มากซึ่ง

เมตตาเจโตวิมุตติ, กรุณาเจโตวิมุตติ, มุทิตาเจโตวิมุตติ,

อุเบกขาเจโตวิมุตติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้งให้มั่นคงสั่งสม ปรารภดีแล้ว

เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจาก อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้น

ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว

กายก็สงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับ ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิเธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้นแผ่

ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และ

เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องต่ำ เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

 

มีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วยกรุณา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องต่ำ เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

 

มีจิตประกอบด้วยมุทิตา

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วยมุทิตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องต่ำ เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

 

มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้นแ ละเธอมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องต่ำ เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

 

เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรกทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว  

พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ

 

หลับเป็นสุข ๑

ตื่นเป็นสุข ๑

ไม่ฝันร้าย ๑

เป็นที่รักของพวกมนุษย์ ๑

เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑

เทพยดารักษา ๑

ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัสตราก็ดีไม่ต้องบุคคลนนั้น ๑

จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑

สีหน้าผุดผ่อง ๑

ไม่หลงทำกาละ ๑

เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป

ย่อมเกิดในพรหมโลก ๑ 

 

เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรก

ทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน

ที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ

ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่างนี้แล.

 

(ไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๓๘/๑๖๐.คลิกดูพระสูตร

(บาลี )สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๐๘/๑๖๐.คลิกดูพระสูตร

(ไทย) มู. ม. ๑๒/๓๖๒/๔๘๒คลิกดูพระสูตร

(บาลีมู. ม. ๑๒/๕๑๘/๔๘๒คลิกดูพระสูตร

(ไทย) สี. ที. ๙/๓๗๐/๓๘๓-๔คลิกดูพระสูตร

(บาลี) สี. ที. ๙/๓๑๐/๓๘๓-๔ คลิกดูพระสูตร

(ไทย) เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๑๖/๒๒๒ คลิกดูพระสูตร

(บาลีเอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๗๖/๒๒๒คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 
Today1401
Yesterday1254
This week6206
This month16224
Total2523529

Who Is Online

97
Online