Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การเจริญอานาปานสตินำไปสู่สติปัฏฐานสี่ได้อย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ 1

  

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

 

วิดีโอ 2

  

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3


 

ภิกษุทั้งหลาย !  อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำสติปัฏฐานทั้งสี่ ให้บริบูรณ์ได้ ?

[หมวดกายานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย !  สมัยใด ภิกษุ  

เมื่อหยใจเข้ ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหยใจเข้สั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพะซึ่งกยทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกยสังขรให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย !  สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกยในกยอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย !  เราย่อมกล่าว ลมหยใจเข้และลมหยใจออก ว่เป็นกยอันหนึ่งๆ ในกยทั้งหลย.

ภิกษุทั้งหลาย !  เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้  ในสมัยนั้น.

[หมวดเวทนานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย !  สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า  เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย !  สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนในเวทนทั้งหลยอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย !  เราย่อมกล่าวรทำในใจเป็นอย่งดีต่อลมหยใจเข้และลมหายใจออกทั้งหลยว่ เป็นเวทนอันหนึ่งๆ ในเวทนทั้งหลย. 

ภิกษุทั้งหลาย !   เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

[หมวดจิตตานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย !  สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปรโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย !  สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย !  เรไม่กล่วอนสติ ว่เป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ. 

ภิกษุทั้งหลาย !  เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

[หมวดธัมมานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย !  สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งควมไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งควมจงคลยอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งควมดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งควมสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย !  สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลยอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้ไปเพ่งเฉพะเป็นอย่งดีแล้ว เพระเธอเห็นกรละอภิชฌและโทมนัสทั้งหลยของเธอนั้นด้วยปัญญ.

ภิกษุทั้งหลาย !  เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย !  นสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่งนี้ ทำให้มากแล้วอย่งนี้แล ชื่อว่สติปัฏฐนทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้. 

 

พุทธวจน อานาปานสติ  หน้า ๓๐.

 (ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๖/๒๘๙. : คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุทั้งหลาย !  พวกเธอทั้งหลาย  จงเที่ยวไปในที่ที่ควรเที่ยวไป  ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตนเถิด  เมื่อเธอทั้งหลาย  เที่ยวไปในที่ที่ควรเที่ยวไป  ในที่ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตนแล้ว  มารจักไม่ได้ช่องทาง มารจักไม่ได้โอกาส  

ภิกษุทั้งหลายที่ที่ควรเที่ยวไป ในที่ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตน คือ อะไรเล่า ?

คือ  สติปัฏฐานสี่   สี่อย่าง อย่างไรเล่า  สี่อย่างคือ  ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(๑) เป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

(๒) เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

(๓) เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

(๔) เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลายดังนี้แล ที่ที่ควรเที่ยวไป ในที่ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตน

อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย  หน้า ๑๑๘๐.

 (ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖๗/๗๐๐. : คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง

องค์แปดคือ ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)  ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)

วาจาชอบ (สัมมาวาจา)   การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)

อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)   ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)

ความระลึกชอบ (สัมมาสติ)  ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ).

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุ

ให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้

ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด,

นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริในการออกจากกาม

ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน,

นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ การ

เว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ

การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้น

จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการ

ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหา

เลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพ

ที่ชอบ, นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม

ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตย่อมตั้งจิตไว้

เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด;

ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิตย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว;

ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม  ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด;

ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญความเต็มรอบ

แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว,

นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ)

มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

 

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,

มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจ

และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

 

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความ

รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้,

นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สองอันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกายย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมแล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุขมีแต่สติอันบริสุทธ์ิเพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่, นี้เราเรียกว่าสัมมาสมาธิ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

 

พุทธวจน ปฐมธรรม  หน้า ๒๙๕.

(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๒๓๑/๒๙๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today1526
Yesterday1254
This week6331
This month16349
Total2523654

Who Is Online

39
Online