มรรค ๘ ต้องเริ่มที่สัมมาทิฏฐิหรือไม่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน นี้คือ
มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์
ความรู้ในทุกขสมุทัย
ความรู้ใน ทุกขนิโรธ
ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ
(ไทย) มหา. ที. ๑๐/๒๓๑/๒๙๙.คลิกดูพระสูตร
(บาลี) มหา. ที. ๑๐/๓๔๓/๒๙๙.คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย!ก็ญาณวัตถุ ๔๔ อย่างเป็นอย่างไรเล่า?ญาณวัตถุ ๔๔ อย่างคือ:-
(หมวด ๑) ๑.ญาณคือความรู้ในชรามรณะ;
๒.ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ;
๓.ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;
๔.ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;
(หมวด ๒) ๑.ญาณคือความรู้ในชาติ;
๒.ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ;
๓.ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งชาติ;
๔.ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ;
(หมวด ๓) ๑.ญาณคือความรู้ในภพ;
๒.ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ;
๓.ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งภพ;
๔.ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ;
(หมวด ๔) ๑.ญาณคือความรู้ในอุปาทาน;
๒.ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน;
๓.ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน;
๔.ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน;
(หมวด ๕) ๑.ญาณคือความรู้ในตัณหา;
๒.ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา;
๓.ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งตัณหา;
๔.ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา;
(หมวด ๖) ๑.ญาณคือความรู้ในเวทนา;
๒.ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา;
๓.ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งเวทนา;
๔.ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา;
(หมวด ๗) ๑.ญาณคือความรู้ในผัสสะ;
๒.ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
๓.ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
๔.ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
(หมวด ๘) ๑.ญาณคือความรู้ในสฬายตนะ;
๒.ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ;
๓.ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ;
๔.ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ;
(หมวด ๙) ๑.ญาณคือความรู้ในนามรูป;
๒.ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป;
๓.ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งนามรูป;
๔.ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป;
(หมวด ๑๐) ๑.ญาณคือความรู้ในวิญญาณ;
๒.ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ;
๓.ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
๔.ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
(หมวด ๑๑) ๑.ญาณคือความรู้ในสังขารทั้งหลาย;
๒.ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร;
๓.ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งสังขาร;
๔.ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย!เหล่านี้เรียกว่าญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง.
(ไทย)นิทาน.สํ.๑๖/๕๒-๕๕/๑๑๘-๑๒๕.คลิกดูพระสูตร
(บาลี)นิทาน. สํ. ๑๖/๖๖-๗๐/๑๑๘-๑๒๕.คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย!ก็ญาณวัตถุ ๗๗ อย่างเป็นอย่างไรเล่า? ญาณวัตถุ๗๗อย่างนั้นคือ:- (หมวด ๑) ๑.ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ; ๒.ญาณคือความรู้ว่าเมื่อชาติไม่มีชรามรณะย่อมไม่มี; ๓.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ; ๔.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อชาติไม่มีชรามรณะย่อมไม่มี; ๕.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ; ๖.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อชาติไม่มีชรามรณะย่อมไม่มี; ๗.ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา; (หมวด ๒) ๑.ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; ๒.ญาณคือความรู้ว่าเมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มี; ๓.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; ๔.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มี; ๕.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; ๖.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มี; ๗.ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา; (หมวด ๓) ๑.ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ; ๒.ญาณคือความรู้ว่าเมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มี; ๓.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ; ๔.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มี; ๕.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ; ๖.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มี; ๗.ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา; (หมวด ๔) ๑.ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน; ๒.ญาณคือความรู้ว่าเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานย่อมไม่มี; ๓.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปทาน; ๔.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานย่อมไม่มี; ๕.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน; ๖.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานย่อมไม่มี; ๗.ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา; (หมวด ๕) ๑.ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา; ๒.ญาณคือความรู้ว่าเมื่อเวทนาไม่มีตัณหาย่อมไม่มี; ๓.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา; ๔.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อเวทนาไม่มีตัณหาย่อมไม่มี; ๕.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา; ๖.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อเวทนาไม่มีตัณหาย่อมไม่มี; ๗.ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา; (หมวด ๖) ๑.ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา; ๒.ญาณคือความรู้ว่าเมื่อผัสสะไม่มีเวทนาย่อมไม่มี; ๓.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา; ๔.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อผัสสะไม่มีเวทนาย่อมไม่มี; ๕.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา; ๖.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อผัสสะไม่มีเวทนาย่อมไม่มี; ๗.ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา; (หมวด ๗) ๑.ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ; ๒. ญาณคือความรู้ว่าเมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มี; ๓.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ; ๔.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มี; ๕.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ; ๖.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มี; ๗.ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา; (หมวด ๘) ๑.ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ; ๒.ญาณคือความรู้ว่าเมื่อนามรูปไม่มีสฬายตนะย่อมไม่มี; ๓.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ; ๔.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อนามรูปไม่มีสฬายตนะย่อมไม่มี; ๕.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ; ๖.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อนามรูปไม่มีสฬายตนะย่อมไม่มี; ๗.ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา; (หมวด ๙) ๑.ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป; ๒.ญาณคือความรู้ว่าเมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มี; ๓.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป; ๔.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มี; ๕.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป; ๖.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มี; ๗.ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา; (หมวด ๑๐) ๑.ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ; ๒.ญาณคือความรู้ว่าเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณย่อมไม่มี; ๓.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ; ๔.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณย่อมไม่มี; ๕.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ; ๖.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณย่อมไม่มี; ๗.ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา; (หมวดที่ ๑๑)๑.ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย; ๒.ญาณคือความรู้ว่าเมื่ออวิชชาไม่มีสังขารทั้งหลายย่อมไม่มี; ๓.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย; ๔.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่ออวิชชาไม่มีสังขารทั้งหลายย่อมไม่มี; ๕.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย; ๖.ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่ออวิชชาไม่มีสังขารทั้งหลายย่อมไม่มี; ๗.ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา. ภิกษุทั้งหลาย!เหล่านี้เรียกว่าญาณวัตถุ ๗๗ อย่างดังนี้แล. (ไทย)นิทาน.สํ.๑๖/๕๕-๕๘/๑๒๖-๑๒๗.คลิกดูพระสูตร (บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๗๐-๗๓/๑๒๖-๑๒๗.คลิกดูพระสูตร