Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

เมื่อเห็นจิตเกิดดับแล้ว การปฏิบัติจะต้องดำเนินไปอย่างไร และต้องเห็นการเกิดดับไปนานเท่าไหร่ จึงจะบรรลุธรรม

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ

คอร์สปฎิบัติธรรมวัดนาป่าพง 26 พ.ย. 53

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

  

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ที่เรียกว่า   ‘มาร  มาร’  ดังนี้,    ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า  จึงถูกเรียกว่า  มาร  พระเจ้าข้า ?”

ราธะ ! เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณมีอยู่, จะพึงมีมาร, มีผู้ให้ตาย หรือว่าผู้ตาย.

ราธะ ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ เธอจงเห็น  รูป เวทนา  สัญญา สังขาร  และวิญญาณ ว่า ‘เป็นมาร’ 

เห็นว่าเป็น ‘ผู้ให้ตาย’ เห็นว่า ‘ผู้ตาย’ เห็นว่า  ‘เป็นโรค’ เห็นว่า  ‘เป็นหัวฝี’ เห็นว่า  ‘เป็นลูกศร’  

เห็นว่า  ‘เป็นทุกข์’  เห็นว่า ‘เป็นทุกข์ที่เกิดแล้ว’ ดังนี้.

พวกใดย่อมเห็น  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร และวิญญาณนั้น  ด้วยอาการอย่างนี้, พวกนั้น  ชื่อว่า  ย่อมเห็นโดยชอบ แล.

 

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  สัมมาทัสสนะ(การเห็นโดยชอบ) มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่า  พระเจ้าข้า ?”

ราธะ !  สัมมาทัสสนะ  มีนิพพิทา  (ความเบื่อหน่าย)  เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.

 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ก็นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย) มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่า พระเจ้าข้า ?”

ราธะ !  นิพพิทาแล   มีวิราคะ (ความจางคลายไป)  เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.

 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็วิราคะ มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่า พระเจ้าข้า ?”

ราธะ !  วิราคะแล  มีวิมุตติ  (ความหลุดพ้น)  เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ก็วิมุตติ มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่า พระเจ้าข้า ?”

ราธะ !  วิมุตติแล  มีนิพพานเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.

 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ก็นิพพาน  มีอะไรเป็นประโยชน์  ที่มุ่งหมายเล่า พระเจ้าข้า ?”

ราธะ ! เธอได้ถามเลยปัญหาเสียแล้ว, เธอไม่อาจจะจับฉวยเอาที่สุดของปัญหาได้.

ราธะ ! ด้วยว่า พรหมจรรย์ ที่ประพฤติกันอยู่นี้แล ย่อมหยั่งลง สู่นิพพาน  มีนิพพานเป็นที่สุดท้าย

  

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๔๒๒-๔๒๓.

  (ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๐/๓๖๖. :คลิกดูพระสูตร

 

 

        ภิกษุ ท. ! โพชฌงค์ทั้ง ๗  อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ?

       ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้  

ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัย วิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก  อันอาศัยวิราคะ อัน อาศัยนิโรธ  อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก  อันอาศัยวิราคะ  อันอาศัยนิโรธ  อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก  อันอาศัยวิราคะ  อันอาศัยนิโรธ     อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ    อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุ ท. !  โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว  ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล  ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้  ดังนี้.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้า ๑๒๐๗-๑๒๐๘.

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๖๐/๒๙๑:คลิกดูพระสูตร

  

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น) แก่พวกเธอทั้งหลาย.

พวกเธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์,  เราจักกล่าวบัดนี้......

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !   ก็ปฏิจจสมุปบาท   เป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !   เพราะชาติเป็นปัจจัย   ชรามรณะย่อมมี.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เพราะภพเป็นปัจจัย   ชาติย่อมมี.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย  อุปาทานย่อมมี.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเวทนาเป็นปัจจัย   ตัณหาย่อมมี.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะผัสสะเป็นปัจจัย  เวทนาย่อมมี.

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย   ผัสสะย่อมมี.

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย  สฬายตนะย่อมมี.

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี.

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี.

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี.

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระคถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม

ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือ ความตั้งอยู่แห่งธรรมดา,

คือ ความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา,

คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น;

ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ

ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ;

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น

อันเป็น  ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,

เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,

เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,

เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ;

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

 

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๓-๕๒

(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๒๒/๖๑.:คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

สัทธานุสารี

 

         ภิกษุ ท. ! จักษุ.... โสตะ ....  ฆานะ ....  ชิวหา ...  กายะ ... มนะ  เป็นสิ่งไม่เที่ยง

มีความแปรปรวนเป็นปกติ  มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.

    ภิกษุ ท. ! บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไป ในธรรม ๖ อย่างนี้  ด้วยอาการอย่างนี้ ;

บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น   สัทธานุสารี   หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง) 

หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)  ล่วงพ้นบุถุชนภูมิไม่อาจที่จะกระทำกรรม 

อันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก   กำเนิดดิรัจฉาน   หรือปิตติวิสัย และ

ไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

 

ธัมมานุสารี

 

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้   ทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญาของบุคคลใด

ด้วยอาการอย่างนี้ ; บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรมอันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก

กำเนิดดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย และไม่ควรที่จะกระทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

 

ภิกษุ ท. ! บุคคลใดย่อมรู้ย่อมเห็นในซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้

(ตามที่กล่าวแล้วในข้อบนมีความเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น) ;

บุคคลนี้เราเรียกว่า โสดาบัน (ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส)

ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (อวินิปาตธมฺม)

เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน (นิยต)

มีสัมโพธิเป็นเบื้องหน้า (สมฺโพธิปรายน).

  

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๕๙๒-๕๙๓.

   (ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๔๖-๒๔๗/๔๖๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

Today1484
Yesterday1254
This week6289
This month16307
Total2523612

Who Is Online

44
Online