ขอคำอธิบายว่า อุทิศส่วนบุญกุศลนั้น (ผู้แผ่เมตตา บุญกุศลพร่องไหม และผู้รับแบ่งส่วนยังไง)
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่วีดีโอ1
วีดีโอ2
วีดีโอ3
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
กาลทานสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๑ ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๑ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๑ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้แล ฯ ผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์
ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มีผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น
แม้พวกที่อนุโมทนาหรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ
เพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก ฯ
(ภาษาไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๖/๓๖ : คลิกดูพระสูตร
ภพภูมิที่บริโภคทานได้
ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณีพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
พระโคดมผู้เจริญ ! พวกข้าพเจ้าได้นามว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทำความเชื่อว่า ทานนี้ต้องสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วจงบริโภคทานนี้
พระโคดมผู้เจริญ ! ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วหรือญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้นย่อมได้บริโภคทานนั้นหรือ ?
พราหมณ์ ! ทานนั้น ย่อมสำเร็จในฐานะ และ ย่อมไม่สำเร็จในอฐานะ
พระโคดมผู้เจริญ ! ฐานะ เป็นอย่างไรเล่า ? อฐานะ เป็นอย่างไรเล่า ?
พราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตปองร้าย มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในนรกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรกนั้น ด้วยอาหารของสัตว์นรก.
พราหมณ์ ! ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นอฐานะ
พราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด บุคคลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉาน เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในกำเนิดเดรัจฉานนั้น ย่อมตั้งอยู่ในกำเนิดเดรัจฉานนั้น ด้วยอาหารของสัตว์เดรัจฉาน.
พราหมณ์ ! แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ.
พราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในมนุษยโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในมนุษยโลกนั้น ด้วยอาหารของมนุษย์.
พราหมณ์ ! แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ.
พราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเทวโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยอาหารของเทวดา.
พราหมณ์ ! แม้ฐานะเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ.
พราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในเปรตวิสัย หรือว่ามิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิตของเขา ย่อมอุทิศทานให้ เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยทานนั้น.
พราหมณ์ ! ฐานะอันเป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นฐานะ.
ท่านโคดมผู้เจริญ ! ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ?
พราหมณ์ ! ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้นที่เข้าถึงฐานะนั้น มีอยู่ ญาติสาโลหิตเหล่านั้นย่อมบริโภคทานนั้น.
ท่านโคดมผู้เจริญ ! ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น และญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้น ก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ?
พราหมณ์ ! ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกาลช้านานเช่นนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้.
พราหมณ์ ! อีกประการหนึ่ง แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล.
ท่านโคดมผู้เจริญ ! ย่อมตรัสกำหนดแม้ในอฐานะหรือ ?
พราหมณ์ ! เรากล่าวกำหนดแม้ในอฐานะ
พราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด แต่เขายังให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้าง แต่เขายังได้ข้าว น้ำ มาลา และเครื่องประดับต่างๆ ในกำเนิดช้างนั้น.
พราหมณ์ ! ข้อที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด ด้วยกรมนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้าง และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว ... เครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ ด้วยกรรมนั้น เขาย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องประดับต่างๆ ในกำเนิดช้างนั้น.
... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของม้า ... .
… ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของโค ... .
… ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข … .
พราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นชอบ และเขายังให้ข้าว … เครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของมนุษย์ และเขาย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นของมนุษย์นั้น.
พราหมณ์ ! ข้อที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นชอบ ด้วยกรรมนั้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของมนุษย์ และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว ... เครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ ด้วยกรรมนั้น เขาย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นของมนุษย์นั้น.
พราหมณ์ ! อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ … มีความเห็นชอบ และเขายังให้ข้าว ... เครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น
พราหมณ์ ! ข้อที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นชอบ ด้วยกรรมนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดา และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว … เครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ ด้วยกรรมนั้น เขาย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น.
พราหมณ์ ! (ด้วยเหตุอย่างนี้) แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อที่แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผลนี้ เป็นของควรเพื่อให้ทานโดยแท้ เป็นของควรเพื่อกระทำศรัทธาโดยแท้
พราหมณ์ ! ข้อนี้เป็นอย่างนี้ๆ
พราหมณ์ ! แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ... ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ภพภูมิ หน้า ๑๔๙
(ภาษาไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๒๔๓/๑๖๖ : คลิกดูพระสูตร