Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ มีความหมายอย่างไร และเป็นองค์ประกอบในการเจริญอริยมรรคมีองค์แปดอย่างไร

User Rating:  / 6
PoorBest 

 

วิดีโอ

 

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ดูกรอัมพัฏฐะ อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ?

ดูกรอัมพัฏฐะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง

ดูกรอัมพัฏฐะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.

(ภาษาไทย) สี. ที. ๙/๙๒/๑๖๓ : คลิกดูพระสูตร

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ... เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต ... เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ นี้เรียกว่าสัมมาสติ

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะสงบวิตกและวิจารเสีย มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่   เข้าตติยฌาน ... อยู่ เข้าจตุตถฌาน ... อยู่นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ

(ภาษาไทย). อุปริ. ม.. ๑๔/๓๔๑/๗๐๕ : คลิกดูพระสูตร

ขยายความแห่งอริยมรรคมีองค์แปด

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทางอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนี้เอง,องค์แปดคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบการงานชอบ อาชีวะชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ใน ทุกข์, ความรู้ใน เหตุให้เกิดทุกข์, ความรู้ใน ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด,นี้เราเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! การละทิ้งความคิดในทางกาม,การละทิ้งความคิดในทางพยาบาท, การละทิ้งความคิดในทางเบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจาก การพูดเท็จ, การเว้นจาก การพูดยุให้แตกกัน, การเว้นจาก การพูดหยาบ,การเว้นจาก การพูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า สัมมาวาจา.

ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์, การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่า สัมมากัมมันตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาชีพเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ,นี้เราเรียกว่า สัมมาอาชีวะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันเป็นบาป ที่บังเกิดขึ้นแล้ว; ย่อมปลูกความพอใจย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว, นี้เราเรียกว่า สัมมาวายามะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นกายในกาย อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาปมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นจิตในจิต อยู่,มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสตินำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้, นี้เราเรียกว่า สัมมาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในศาสนานี้ เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเข้าถึง ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่;

เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่;

เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย, ย่อมเข้าถึง ฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่าเป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมแล้วแลอยู่

เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, เธอย่อมเข้าถึง ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่, นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ก้าวย่างอย่างพุทธะ หน้าที่ ๖๐ บทที่ ๒๓

(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๒๓๑/๒๙๙.. : คลิกดูพระสูตร

 

 

สฬายตนวิภังคสูตร

        ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

         สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ มากมายแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า

        พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อ ไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อม กำหนัดในจักษุ กำหนัดในรูป กำหนัดในจักษุวิญญาณ กำหนัดในจักษุสัมผัสกำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุข ก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลงเล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่วจะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจ เจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทาง กายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะ ตามความเป็นจริง...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย ตามความเป็นจริง...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมกำหนัดในมโน กำหนัดในธรรมารมณ์ กำหนัดในมโนวิญญาณ กำหนัดในมโนสัมผัส กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้วลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขา จะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมี ความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกายแม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตาม ความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูน ต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็น สัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความ พยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใดความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีใน เบื้องต้นเทียวด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์

(ภาษาไทย). อุปริ. ม.. ๑๔/๓๙๖/๘๒๙ ๘๓๐ : คลิกดูพระสูตร

 

 

อชิตปัญหาที่ ๑

 อชิตมาณพทูลถามปัญหาว่า โลกคือหมู่สัตว์อันอะไรหุ้มห่อไว้ โลกย่อมไม่แจ่มแจ้งเพราะอะไร

 พระองค์ตรัสอะไรว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ อะไรเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้นฯ

 พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรอชิตะ

 โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่แจ่มแจ้งเพราะความตระหนี่ (เพราะความประมาท) เรากล่าวตัณหา ว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ฯ

 อ. กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสบอกเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสทั้งหลายอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยธรรมอะไร ฯ

 . ดูกรอชิตะ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา ฯ

 . ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และนามรูป ธรรมทั้งหมดนี้ย่อมดับไป ณ ที่ไหน พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกปัญหาข้อนี้แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ

 . ดูกรอชิตะ เราจะบอกปัญหาที่ท่านได้ถามแล้วแก่ท่าน นามและรูปย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด สติและปัญญานี้ย่อมดับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ ฯ

 . ชนเหล่าใดผู้มีธรรมอันพิจารณาเห็นแล้ว และชนเหล่าใดผู้ยังต้องศึกษาอยู่เป็นอันมากมีอยู่ในโลกนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ผู้มีปัญญารักษาตน อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกความเป็นไปของชนเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ

 . ภิกษุไม่กำหนัดยินดีในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติ พึงเว้นรอบ ฯ

 (ภาษาไทย). สุตฺต. ขุ. ๒๕/๓๙๖/๔๒๕ : คลิกดูพระสูตร

 

Today461
Yesterday739
This week3394
This month14774
Total2495273

Who Is Online

32
Online