ฌาน และ ญาณ ต่างกันอย่างไร
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ฌานที่มีสัญญา เป็นฐานของการวิปัสสนาญาณ ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย ปฐมฌานบ้าง เพราะอาศัย ทุติยฌานบ้าง เพราะอาศัย ตติยฌานบ้าง เพราะอาศัย จตุตถฌานบ้าง เพราะอาศัย อากาสนัญจายตนบ้าง เพราะอาศัย เนวสัญญานาสัญญายตนบ้าง. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๙๑๑ (ภาษาไทย) นวก. อํ. ๒๓/๓๔๑/๒๔๐. : คลิกดูพระสูตร
สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง หรือว่าญาณเกิดก่อน สัญญาเกิดทีหลัง หรือทั้งสัญญาและญาณเกิดไม่ก่อนไม่หลังกัน. พระเจ้าข้า ? ” ดูกรโปฏฐปาทะ ! สัญญาแลเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง เพราะสัญญาเกิดขึ้นญาณจึงเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า ญาณเกิดขึ้นแก่เราเพราะสัญญานี้เป็นปัจจัย ดูกรโปฏฐปาทะ ! เธอพึงทราบความข้อนี้โดยบรรยายนี้ว่า สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง เพราะสัญญาเกิดขึ้น ฌาณจึงเกิดขึ้น. (ภาษาไทย) สี. ที. ๙/๒๖๘/๒๘๘. : คลิกดูพระสูตร
ญาณมีได้เฉพาะผู้มีจิตตั้งมั่นในสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาตถาคตพลญาณ ๖ ประการนี้ เรากล่าว ยถาภูตญาณ ในสิ่งซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และสิ่งซึ่งอฐานะโดยความเป็นอฐานะ ว่าญาณนั้นมีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เรากล่าว ยถาภูตญาณ ในสิ่งซึ่งเป็นวิบากโดยฐานะเป็นเหตุ ของกัมสมาทาน อันเป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันว่าญาณนั้นมีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เรากล่าว ยถาภูตญาณ ในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์สมาธิ และสมาบัติ ว่าญาณนั้นมีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เรากล่าว ยถาภูตญาณ ในปุพเพนิวาสานุสติ ว่าญาณนั้นมีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เรากล่าว ยถาภูตญาณ ในการจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ว่าญาณนั้นมีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เรากล่าว ยถาภูตญาณ ในการสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ว่าญาณนั้นมีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยอาการอย่างนี้แล สมาธิเป็นมรรค(แท้) ส่วนอสมาธิเป็นมรรคลวง (ภิกฺขเว สมาธิ มคฺโค อสมาธิ กุมฺมคฺโคติ) อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๓๔๙ (ภาษาไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๗๐/๓๓๕. : คลิกดูพระสูตร
ญาณทัสสนะเกิด เมื่อไม่ประมาท ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ กุลบุตรบางคน มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราเป็นผู้ถูก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะปรากฏมีได้” ดังนี้. ครั้นบวชแล้ว เธอสามารถทำลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นได้ … ไม่ถึงความประมาทในลาภสักการะและเสียงเยินยอนั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ถึงความพร้อมด้วยศีลเกิดขึ้นได้ … ไม่ถึงความประมาทในความพร้อมด้วยศีลนั้นเมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ถึงความพร้อมด้วยสมาธิเกิดขึ้นได้ … ไม่ถึงความประมาทในความพร้อมด้วยสมาธินั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ญาณทัสสนะ (ปัญญาเครื่องรู้เห็น) เกิดขึ้นได้ …ไม่ถึงความประมาทในญาณทัสสนะ นั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ สมยวิโมกข์(ความพ้นวิเศษโดยสมัย) เกิดขึ้นได้อีก. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๔๘๗ (ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๒๖๑/๓๕๑. : คลิกดูพระสูตร