Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

วิญญาณฐิติ, ภพ และกรรม สัมพันธ์กันอย่างไร

User Rating:  / 8
PoorBest 

 

 

วิดีโอ

หลังฉัน  20 ต.ค. 56
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง 

 

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ภพภพดังนี้

ภพ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า!

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

หามิได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม (กามธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

หามิได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

หามิได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (อรูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภพภูมิ หน้า  ๔

(ภาษาไทย)  ติก. อํ. ๒๐/๒๑๑/๕๑๖. : คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมี ๕ อย่าง เหล่านี้.

๕ อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ๕ อย่าง คือ :-

() พืชจากเหง้าหรือราก (มูลพีช)

() พืชจากต้น (ขนฺธพีช)

() พืชจากตาหรือผล (ผลพีช)

() พืชจากยอด (อคฺคพีช)

() พืชจากเมล็ด (พีชพีช)

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า สิ่งที่ใช้เป็น พืช ๕ อย่าง เหล่านี้

ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด

ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี  แต่ดิน น้ำ ไม่มี.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้นจะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้แลหรือ ?

หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า สิ่งที่ใช้เป็น พืช ๕ อย่าง เหล่านี้แหละ ที่ไม่ถูกทำลายยังไม่เน่าเปื่อย

ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี

ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้นจะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ ?

อย่างนั้น พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย !  วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร)  พึงเห็นว่า เหมือนกับ ดิน.

ภิกษุทั้งหลาย !  นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน) พึงเห็นว่าเหมือนกับ นํ้า.

ภิกษุทั้งหลาย !  วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย พึงเห็นว่า เหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้

เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็น

ที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้.ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์  มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์

มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า :-

เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ (การตาย) การอุบัติ (การเกิด)

ความเจริญ ความงอกงามและความไพบูลย์ของวิญญาณ

โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนาเว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร ดังนี้นั้น

นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ

ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว.

เพราะละราคะได้  อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง

ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี  วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม 

หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง  เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น

เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง

เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว

เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน  ย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว

กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.

ภพภูมิ หน้า ๑๕

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๔-๕๕/๑๐๖-๑๐๗.: คลิกดูพระสูตร

 
 

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริ (ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่ และย่อมมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มีอยู่ ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมไม่คิด (โน เจเตติ) ถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริ (โน ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใด แต่เขายังมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปมีอยู่ ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วน น ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และย่อมไม่มีจิตฝังลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ไม่มี ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.

ภพภูมิ หน้า  ๙-๑๐

 (ภาษาไทย)  นิทาน. สํ. ๑๖/๖๓/๑๔๕. : คลิกดูพระสูตร 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังเดินอยู่

ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม (กามวิตก)

หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น (พยาบาทวิตก)

หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ (วิหิงสาวิตก) ขึ้นมา

และภิกษุก็ ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้

สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ

ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังเดินอยู่ ก็เรียกว่า

เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก

เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังยืนอยู่

ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม

หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น

หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา

และภิกษุก็ ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้

สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ

ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังยืนอยู่ ก็เรียกว่า

เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก

เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังนั่งอยู่

ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม

หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น

หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา

และภิกษุก็ ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้

สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ

ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังนั่งอยู่ ก็เรียกว่า

เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก

เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังนอนอยู่

ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม

หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น

หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา

และภิกษุก็ ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้

สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ

ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังนอนอยู่ ก็เรียกว่า

เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก

เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจแล.

 

 

ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...) : หน้า ๕๔

(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๒/๑๑: คลิกดูพระสูตร. 

 

ภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งรูป.

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป,

ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใด ในรูป, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน...

ภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา.

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา,

ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใด ในเวทนา, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน...

ภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา.

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา

ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใด ในสัญญา, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน...

ภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสังขาร.

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสังขาร

ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น

ความเพลินใด ในสังขาร, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน...

ภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ

ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น.

ความเพลินใด ในวิญญาณ, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน

เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะอุปายาสทั้งหลาย

จึงเกิดขึ้นครบถ้วนความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้  ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...): หน้า45

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘/๒๘.: คลิกดูพระสูตร 

 

ภิกษุทั้งหลาย !

อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการสำรวม เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้

พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวรในอินทรีย์

คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นอินทรีย์ที่เมื่อภิกษุไม่สำรวมแล้ว,

อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น.

และ เมื่อภิกษุเป็นผู้สำรวมแล้วเป็นอยู่,

อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่สำรวมด้วยอาการอย่างนี้,

อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น,

และ เมื่อภิกษุสำรวมแล้วเป็นอยู่

อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน

จะไม่พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย !   นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการสำรวม.

มู. . ๑๒/๑๖/๑๓.

ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)หน้า 80

 (ภาษาไทย)  นิทาน. สํ.  ๑๖/๒๐/๕๕.  : คลิกดูพระสูตร

 

    

Today527
Yesterday1254
This week5332
This month15350
Total2522655

Who Is Online

64
Online