Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

วิญญาณรู้อารมณ์ อารมณ์เป็นขันธ์ใด

User Rating:  / 7
PoorBest 

 

 

วิดีโอ

 

เปิดธรรมที่ถูกปิด  2554/22

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ภิกษุทั้งหลาย !  วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร)  พึงเห็นว่า เหมือนกับ ดิน.

ภิกษุทั้งหลาย !  นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน) พึงเห็นว่าเหมือนกับ นํ้า.

ภิกษุทั้งหลาย !  วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย พึงเห็นว่า เหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้.ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์  มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า :-

เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ (การตายการอุบัติ (การเกิด)

ความเจริญ ความงอกงามและความไพบูลย์ของวิญญาณ

โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนาเว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร ดังนี้นั้น นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว.

เพราะละราคะได้  อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง  ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี  วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม  

หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง  เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน  ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว

กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.

ภพภูมิ หน้า ๑๕

(ไทย) ขนฺธสํ๑๗/๕๔-๕๕/๑๐๖-๑๐๗.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ขนฺธสํ๑๗/๖๗-๖๘/๑๐๖-๑๐๗.: คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุ ท. !  สมัยใด ภิกษุ   

[๑] ย่อมทำในบทศึกษาว่า  เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้ย่อมทำในบทศึกษาว่า  เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออก ดังนี้ ;   

[๒] ย่อมทำในบทศึกษาว่า  เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ย่อมทำในบทศึกษาว่า  เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ;   

[๓] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ย่อมทำในบทศึกษาว่า  เราเป็นผู้ทำจิตตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ;   

[๔] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้,  ย่อมทำในบทศึกษาว่า  เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ; ภิกษุ ท. !  สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้  ตามเห็นจิตในจิต  อยู่เป็นประจำ  มีความเพียรเผากิเลส  มีสัมปชัญญะมีสติ  นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

          ภิกษุ ท. !        เราไม่กล่าวอานาปานสติ  ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติ อันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.    ภิกษุ ท. !    เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ภิกษุ นั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ  มีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะ  มีสติ  นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้  ในสมัยนั้น.

 

(ไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๖/๒๘๙:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๕/๒๘๙:คลิกดูพระสูตร

 

 

 

Today753
Yesterday1254
This week5558
This month15576
Total2522881

Who Is Online

42
Online