Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การบวช ตามพุทธวจน เป็นอย่างไร

User Rating:  / 7
PoorBest 

 

วิดีโอ

สนทนาธรรมค่ำเสาร์ 13 ส.ค. 54

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : วิดีโอ


 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง


 

ข้อบัญญัติเพิ่มเติมในการบวช

. ภิกษุบอกนิสสัยก่อน ผู้บวชไม่พอใจ จึงทรงห้ามบอกนิสสัยก่อน แต่ให้บอกเมื่อบวชเสร็จแล้ว ในเวลาติด ๆ กัน ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุ ผู้บอกนิสสัยก่อน.

. ภิกษุที่ร่วมในการบวชเป็นคณะ คือ ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้างทรงทราบ จึงทรงบัญญัติพระวินัยปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุที่ให้บวชมีคณะต่ำกว่า ๑๐ ; คณะครบ ๑๐ หรือเกิน ๑๐ ให้บวชได้ (ในภายหลังทรงอนุญาตให้คณะภิกษุ ๕ หรือเกิน ๕ ให้บวชได้ในปัจจันตประเทศ มีรายละเอียดหน้า ๒๔๔)

. ภิกษุมีพรรษา ๑ บ้าง ๒ บ้าง ให้สัทธิวิหาริกบวช แม้พระอุปเสนะวังคันตบุตร มีพรรษาเพียง ๑ ก็ให้สัทธิวิหาริกอุปสมบท จึงทรงบัญญัติพระวินัยปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้มีพรรษาหย่อนกว่า ๑๐ ที่บวชให้สัทธิวิหาริก พรรษาครบ ๑๐ หรือเกิน ๑๐ ให้บวชได้.

. ภิกษุ มีพรรษาครบ ๑๐ แต่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ให้สัทธิวิหาริกบวช ปรากฏว่าเป็นผู้ด้อยกว่าสัทธิวิหาริก จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุที่ฉลาด สามารถผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือเกิน ๑๐ บวชให้สัทธิวิหาริกได้

ห้ามบวชให้คนเป็นโรค ๕ ชนิด

สมัยนั้น มีโรค ๕ ชนิด เกิดขึ้นมาก ในแคว้นมคธ คือ โรคเรื้อน โรคฝีโรคกลาก โรคมองคร่อ (โรคหลอดลมโป่งพอง) โรค ลมบ้าหมู มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นโรคเหล่านี้ ก็พากันไปหาหมอชีวก เพื่อให้ช่วยรักษาให้ หมอชีวกไม่รับ รักษาอ้างว่ามีภาระต้องรักษาพระราชา บุคคลในราชสำนัก และภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข คนเหล่านั้นเห็นไม่มีทางอื่นจึงขอบวช ภิกษุทั้งหลายก็บวชให้ เป็นภาระแก่ภิกษุทั้งหลายที่จะต้องพยาบาล แม้หมอชีวกเองก็ต้องทำงานหนักจนเสียราชกิจ ชายคนหนึ่งออกบวชให้หมอชีวกรักษา พอหายแล้วก็สึกไปหมอชีวกเห็นเข้าจำได้ ถามทราบความก็ติเตียน

พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติวินัยห้ามบวชแก่คนเป็นโรค ๕ ชนิด ผู้ใดบวชให้ต้องอาบัติทุกกฏ.

 

ห้ามบวชให้ข้าราชการ

เกิด ความไม่สงบชายแดน พระเจ้าพิมพิสาร ตรัสสั่งมหาอำมาตย์ที่เป็นนายทัพให้ไปปราบ มีหลายคนหนีไปบวช ภิกษุทั้งหลายก็บวชให้ พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงขอให้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติวินัย มิให้พระบวชคนที่เป็นข้าราชการเพราะอาจมีพระราชาที่ไม่เลื่อมใสในพระพุทธ ศาสนาเบียดเบียนภิกษุเหล่านั้น

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสห้ามบวชให้ข้าราชการ ทรงปรับอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุที่บวชให้

ห้ามบวชให้โจรที่มีชื่อหมายจับ

สมัยนั้นโจรองคุลิมาลบวชอยู่ในสำนักภิกษุทั้งหลาย คนเห็นก็ตกใจกลัวบ้าง สะดุ้งบ้าง วิ่งหนีบ้าง มีผู้ติเตียน

พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติวินัย ห้ามบวชให้โจรมีชื่อเสียงมีหมายจับ ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้บวชให้.

 

ห้ามบวชโจรที่ทำลายเครื่องพันธนาการ

ครั้ง นั้นพระเจ้าพิมพิสาร ทรงประกาศมิให้ใครทำอะไรบุคคลที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา โจรผู้หนึ่ง ทำโจรกรรมถูกพันธนาการด้วยเครื่องจองจำ แต่ทำลายเครื่องจองจำได้ จึงหนีไปบวช คนทั้งหลายพากันติเตียนภิกษุผู้บวชให้

พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามบวชให้โจร ที่ทำลายเครื่องพันธนาการหนีมา ผู้บวชให้ต้องอาบัติทุกกฏ.

 

ห้ามบวชบุคคลที่ไม่สมควรอื่นอีก

ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ที่ภิกษุทั้งหลายบวชให้บุคคลผู้ไม่สมควรมีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติพระวินัยห้ามบวชให้บุคคลผู้ไม่สมควรอื่นอีก คือ
โจรที่ถูกหมายประกาศให้ฆ่า
บุคคลที่ถูกอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย ให้เป็นเครื่องหมายโทษ
บุคคลที่ถูกนาบด้วยเหล็กแดง ลงอาญาสักเป็นเครื่องหมายโทษ

บุคคลที่เป็นหนี้
บุคคลที่เป็นทาส.

ให้บอกสงฆ์เมื่อจะโกนศีรษะคนบวช

เด็ก ลูกช่างทองทะเลาะกับพ่อแม่หนีมาบวช พ่อแม่มาถามภิกษุทั้งหลายไม่ทราบจึงปฏิเสธ ครั้นเขาพบว่ามาบวชก็ติเตียนหาว่า ภิกษุเหล่านั้นพูดปด (ความจริงไม่รู้) พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้บอกกล่าวสงฆ์(อปโลกน์) เมื่อจะโกนศีรษะคนบวช (ภัณฑุกัมม์ - การโกนศีรษะ).

 

ห้ามบวชผู้มีอายุยังไม่ครบ ๒๐

เด็ก ๑๗ คน ขออนุญาตมารดาบิดาออกบวช ถึงเวลากลางคืนลุกขึ้นร้องไห้ขออาหาร พากันถ่ายอุจจาระปัสสาวะรดเสนาสนะ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามบวชให้คนมีอายุไม่ถึง ๒๐ ทั้งที่รู้อยู่ ถ้าบวชให้ ให้ปรับตามธรรม

 

ข้อกำหนดเรื่องการอุปสมบท

ต่อมาทรงบัญญัติให้สวดอนุสาวนา ไม่ต้องระบุนาม แต่ระบุเพียงโคตร(สกุล) ได้ และให้สวดประกาศครั้งละ ๒ - ๓ รูปได้ โดยมีอุปัชฌาย์รูปเดียวกันและทรงอนุญาตให้นับอายุผู้บวชว่าครบ ๒๐ โดยคิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์

 

อริยวินัย หน้า ๒๐๗ , ๒๑๑-๒๑๓ , ๒๒๑

 

 

 

Today451
Yesterday726
This week4205
This month12751
Total2462518

Who Is Online

44
Online