Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ขอคำอธิบาย เกี่ยวกับปานะ

User Rating:  / 3
PoorBest 

 

วิดีโอ 1


บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ณ ยุวพุทธิกสมาคม 15 ก.ค. 50 (ยุวพุทธ 1 track 12)

ดาวน์โหลด : วิดีโอ

 

 

วิดีโอ 2

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

 ณ ยุวพุทธิกสมาคม 12 ก.ค. 50 (ยุวพุทธ 1 track 7)

ดาวน์โหลด : วิดีโอ 

 
 

 

วิดีโอ 3

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 สนทนาธรรมค่ำเสาร์ 30 ก.ค. 54

ดาวน์โหลด : วิดีโอ
 

 

 

            ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ

น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑

น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑

น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑

น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑

น้ำปานะทำด้วยผลมะทราง ๑

น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือองุ่น ๑

น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑

น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง.

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด. 

 

(ภาษาไทย)  มหา. วิ. ๕/๙๘/๘๖: คลิกดูพระสูตร

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ยามกาลิกระคนกับยาวกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิกควรหรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับยาวกาลิกควรหรือไม่ควรหนอ สัตตาหกาลิกระคนกับยามกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

            พระผู้มีพระภาคตรัส ว่าดังนี้:-

. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยามกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล

          . สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล

          . ยาวชีวิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล

. สัตตาหกาลิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยาม ล่วงยามแล้ว ไม ควร.

          . ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยาม ล่วงยามแล้วไม่ควร.

          . ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรตลอด ๗ วัน ล่วง ๗ วัน

    แล้วไม่ควร.

(ภาษาไทย)  มหา. วิ.  ๕/๑๐๕/๙๓.  : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 


 

 

 

 

 
Today350
Yesterday1254
This week5155
This month15173
Total2522478

Who Is Online

65
Online