Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ของกลืนล่วงลำคอ ๔ อย่าง มีรายละเอียดอย่างไร, การถวายผักและผลไม้แก่ภิกษุ ต้องปอกเปลือกและนำเมล็ดออกก่อนหรือไม่

User Rating:  / 4
PoorBest 

 

วิดีโอ 1

สนทนาธรรมค่ำเสาร์ 18 มิ.ย. 54

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

 ดาวน์โหลด : mp4 , mp3

 

 

วิดีโอ 2

วัดป่าบ้านพันลำ 14 มี.ค. 56 (ตอน 1)

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

 ดาวน์โหลด : mp4 , mp3

 

 

 

วิดีโอ 3

วัดป่าบ้านพันลำ 14 มี.ค. 56 (ตอน 2)

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

 ดาวน์โหลด : mp4 , mp3

 

 

 

วิดีโอ 4

ยุวพุทธิกสมาคม 10 ก.ค. 54

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

 ดาวน์โหลด : mp4 , mp3

 

 

 

วิดีโอ 5

สนทนาธรรมค่ำเสาร์ 21 ม.ค. 55

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

 ดาวน์โหลด : mp4 , mp3

 



พระสูตรที่เกี่ยวข้อง 

 พระพุทธานุญาตกาลิกระคน

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ยามกาลิกระคนกับยาวกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับยาวกาลิกควรหรือไม่ควรหนอ สัตตาหกาลิกระคนกับยามกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ แล้ว

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาคตรัส ว่าดังนี้:-

. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยามกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล

. สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล

. ยาวชีวิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล

. สัตตาหกาลิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยาม ล่วงยามแล้ว ไม่ควร.

. ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยาม ล่วงยามแล้วไม่ควร.

. ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรตลอด ๗ วัน ล่วง ๗ วันแล้วไม่ควร.

(ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๑๐๕/๙๓. : คลิกดูพระสูตร

โภชนะ ๕

 อุบาลี. โภชนะมีเท่าไร หนอแล พระพุทธเจ้าข้า?

พระพุทธเจ้า. ดูกรอุบาลี โภชนะนี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:

. ข้าวสุก (โอทโน)

. ขนมสด (กุมฺมาโส)

. ขนมแห้ง (สตฺตุ)

. ปลา (มจฺโฉ)

. เนื้อ (มํสํ)

 

ดูกรอุบาลี โภชนะ ๕ อย่าง นี้แล.

 (ภาษาไทย) ปริวาร. วิ. ๘/๔๒๘/๑๑๘๑. : คลิกดูพระสูตร

ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่าง

         พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะพราหมณ์นั้น ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า

ดูกรพราหมณ์ ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่างนี้ ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ผู้ให้ข้าวยาคู ชื่อว่า

ให้อายุ ๑ ให้วรรณะ ๑ ให้สุข ๑ ให้กำลัง ๑ ให้ปฏิภาณ ๑ ข้าวยาคูที่ดื่มแล้วกำจัดความหิว ๑ บรรเทาความระหาย ๑ ทำลมให้เดินคล่อง ๑ ล้างลำไส้ ๑ ย่อยอาหารใหม่ที่เหลืออยู่ ๑

ดูกรพราหมณ์ ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่างนี้แล.

         พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์พจน์นี้ ครั้นแล้วพระสุคตผู้พระศาสดาจึงได้ตรัสคาถา

อนุโมทนานี้ต่อไปในภายหลัง ว่าดังนี้:-

คาถาอนุโมทนา

ทายกใดถวายข้าวยาคูโดยเคารพตามกาล แก่ปฏิคาหก ผู้สำรวมแล้ว บริโภคโภชนาอันผู้อื่นถวาย ทายกนั้น ชื่อว่าตามเพิ่มให้ซึ่งสถานะ ๑๐ อย่างแก่ปฏิคาหกนั้น อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ ย่อมเกิดแก่ปฏิคาหกนั้น แต่นั้นยาคูย่อมกำจัดความหิว ความระหาย ทำลมให้เดิน คล่อง ล้างลำไส้ และย่อยอาหาร ยาคูนั้นพระสุคตตรัส สรรเสริญว่าเป็นเภสัช เพราะเหตุนั้นแล มนุษย์ชนที่ต้อง การสุขยั่งยืน ปรารถนาสุขที่เลิศ หรืออยากได้ความงามอัน เพริศพริ้งในมนุษย์ จึงควรแท้เพื่อถวายข้าวยาคู. พระพุทธานุญาตข้าวยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวาน

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาแก่พราหมณ์นั้นด้วย ๓ คาถานี้แล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับกลับไป.

         ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตข้าวยาคู และขนมปรุงด้วยน้ำหวาน.

 

 (ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๖๒-๖๓/๖๑-๖๓. : คลิกดูพระสูตร

 

ยาคุสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของข้าวยาคู ๕ ประการนี้  ๕ ประการเป็นไฉน คือ

บรรเทาความหิว ๑ ระงับความระหาย ๑ ยังลมให้เดินคล่อง ๑ ชำระลำไส้ ๑ เผาอาหารเก่าที่ยังไม่ย่อย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของข้าวยาคู ๕ ประการนี้แล ฯ

(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๒๔/๒๐๗. : คลิกดูพระสูตร

 

พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด

คือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะทราง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือองุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.

(ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๙๘/๘๖-๘๗. : คลิกดูพระสูตร

 

อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ, คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย, ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้เจ็ดวันเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

 

อริยวินัย หน้า ๗๘

 

(ภาษาไทย) มหาวิ. วิ. ๒/๑๔๘/๑๔๐. : คลิกดูพระสูตร

พระพุทธานุญาตงบน้ำอ้อย

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครสาวัตถีตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพุทธดำเนินไปทางพระนครราชคฤห์ ท่านพระกังขาเรวตะได้แวะเข้าโรงทำงบน้ำอ้อย ในระหว่างทาง เห็นเขาผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย จึงรังเกียจว่า งบน้ำอ้อยเจืออามิส เป็นอกัปปิยะ ไม่ควรจะฉันในเวลาวิกาล ดังนี้ จึงพร้อมด้วยบริษัทไม่ฉันงบน้ำอ้อย แม้พวกภิกษุที่เชื่อฟังคำท่านก็พลอยไม่ฉันงบน้ำอ้อยไปด้วย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย เพื่อประสงค์อะไร?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เพื่อประสงค์ให้เกาะกันแน่น พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนทั้งหลายผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย เพื่อประสงค์ให้เกาะกันแน่น งบน้ำอ้อยนั้นก็ยังถึงความนับว่า งบน้ำอ้อยนั่นแหละ

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันงบน้ำอ้อยตามสบาย.

(ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๔๖-๔๗/๔๘. : คลิกดูพระสูตร

 

 

พระพุทธานุญาตงบน้ำอ้อย

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ เสด็จถึงพระนครราชคฤห์แล้ว ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์นั้น ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์มีงบน้ำอ้อยมาก ภิกษุทั้งหลายรังเกียจว่า ผู้ไม่อาพาธ จึงไม่ฉันงบน้ำอ้อย แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

         พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตงบน้ำอ้อย แก่ภิกษุผู้อาพาธ และงบน้ำอ้อยละลายน้ำแก่ภิกษุผู้ไม่อาพาธ.

(ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๖๙/๖๖. : คลิกดูพระสูตร

 

พระพุทธานุญาตถั่วเขียว

  ท่านพระกังขาเรวตะ ได้เห็นถั่วเขียวงอกขึ้นในกองอุจจาระ ณ ระหว่างทาง แล้วรังเกียจว่า ถั่วเขียวเป็นอกัปปิยะ แม้ต้มแล้วก็ยังงอกได้ จึงพร้อมด้วยบริษัทไม่ฉันถั่วเขียว แม้พวกภิกษุที่เชื่อฟังคำของท่านก็พลอยไม่ฉันถั่วเขียวไปด้วย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถั่วเขียวแม้ที่ต้มแล้ว ก็ยังงอกได้ เราอนุญาตให้ฉันถั่วเขียวได้ตามสบาย.

พระพุทธานุญาตยาดองโลณโสจิรกะ

         สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคลมเกิดในอุทร ท่านได้ดื่มยาดองโลณโสจิรกะ โรคลมเกิดในอุทรของท่านหายขาด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันยาดองโลณโสจิรกะได้ตามสบาย แต่ภิกษุไม่อาพาธต้องเจือน้ำฉันอย่างน้ำปานะ.

 (ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕//๔๘. : คลิกดูพระสูตร

พระพุทธานุญาตมูลเภสัช

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยรากไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรากไม้ที่เป็นเภสัช คือ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู ก็หรือมูลเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนมูลเภสัชเหล่านั้นแล้ว เก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

(ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๓๒/๒๘. : คลิกดูพระสูตร

 

พระพุทธานุญาตกสาวเภสัช

 

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยน้ำฝาดเป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำฝาดที่เป็นเภสัช คือ น้ำฝาดสะเดาะ น้ำฝาดมูกมัน น้ำฝาดกระดอม หรือขี้กา น้ำฝาดบรเพ็ด หรือพญามือเหล็ก น้ำฝาดกถินพิมาน ก็หรือกสาวเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนกสาวเภสัชเหล่านั้นแล้ว เก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

 

พระพุทธานุญาตปัณณเภสัช

 

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยใบไม้เภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตใบไม้ที่เป็นเภสัช คือ ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม หรือขี้กา ใบกะเพรา หรือแมงลัก ใบฝ้าย ก็หรือปัณณเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนปัณณเภสัชเหล่านั้นแล้ว เก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุ ไม่มีภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

 

พระพุทธานุญาตผลเภสัช

 

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยผลไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผลไม้ที่เป็นเภสัช คือ ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ ก็หรือผลเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนผลเภสัชเหล่านั้นแล้ว เก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

 พระพุทธานุญาตชตุเภสัช

 ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยยางไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยางไม้ที่เป็นเภสัช คือ ยางอันไหลออกจากต้นหิงคุ ยางอันเขาเคี่ยว จากก้านและใบแห่งต้นหิงคุ ยางอันเขาเคี่ยวจากใบแห่งต้นหิงคุ หรือเจือของอื่นด้วย ยางอันไหลออกจากยอดไม้ตกะ ยางอันไหลออกจากใบแห่งต้นตกะ ยางอันเขาเคี่ยวจากใบหรือไหลออกจากก้านแห่งต้นตกะ กำยานก็หรือชตุเภสัชชนิดอื่นใดบรรดามีที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนชตุเภสัชเหล่านั้นแล้ว เก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

 พระพุทธานุญาตโลณเภสัช

 ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยเกลือเป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเกลือที่เป็นเภสัช คือ เกลือสมุทร เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เกลือดินโป่ง เกลือหุง ก็หรือโลณเภสัชชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนโลณเภสัชเหล่านั้นแล้ว เก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

 (ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๓๓-๓๔/๒๙-๓๓. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุอาพาธด้วยโรคต่างๆ

 ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธถูกยาแฝด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ดื่มน้ำที่เขาละลายจากดินรอยไถซึ่งติดผาล.

 สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นพรรดึก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ดื่มน้ำด่างอามิส.

 สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผอมเหลือง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรโค.

 สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผิวหนัง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ทำการลูบไล้ด้วยของหอม.

 สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งมีกายกอปรด้วยโทษมาก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ดื่มยาประจุถ่าย

 ภิกษุนั้นมีความต้องการน้ำข้าวใส ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำข้าวใส

 มีความต้องการด้วยน้ำถั่วเขียวต้มที่ไม่ข้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำถั่วเขียวต้มที่ไม่ข้น

 มีความต้องการด้วยน้ำถั่วเขียวต้มที่ข้นนิดหน่อย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต น้ำถั่วเขียวต้มที่ข้นนิดหน่อย

 มีความต้องการด้วยน้ำเนื้อต้ม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต น้ำเนื้อต้ม.

 (ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๔๑/๔๔. : คลิกดูพระสูตร

เรื่องความเคารพ

[๒๖๐] ครั้นพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่พระนครเวสาลี ตามพระ พุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุอันเตวาสิกของ พระฉัพพัคคีย์รีบไปข้างหน้าภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จองวิหาร กันที่นอน ไว้ว่า ที่นี้ของอุปัชฌาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้ของพวกเรา   ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปล้าหลังภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เมื่อภิกษุ   ทั้งหลายจองวิหาร แลที่นอนหมดแล้ว หาที่นอนไม่ได้ จึงนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นเวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาค เสด็จลุกขึ้น ทรงพระกาสะ แม้ท่าน พระสารีบุตรก็กระแอมไอ

. ใคร ที่นั่น

. ข้าพระพุทธเจ้า สารีบุตร พระพุทธเจ้าข้า

. สารีบุตร ทำไมเธอจึงมานั่งที่โคนต้นไม้นี้เล่า

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ

[๒๖๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ   เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุอันเตวาสิกของพระฉัพพัคคีย์ รีบไปก่อนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วจองวิหาร กันที่นอนไว้ว่า ที่นี้ของอุปัชฌาย์ของพวกเรา ที่นี้ของ   อาจารย์ของพวกเรา ที่นี้ของพวกเรา จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้รีบไปก่อนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วจองวิหาร กันที่นอนไว้ว่า ที่นี้ของอุปัชฌาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้ของพวกเราการกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ...

… … …

[๒๖๓] คนเหล่าใด ฉลาดในธรรม ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ ย่อมเป็นผู้อันมหาชนสรรเสริญในปัจจุบันนี้ ทั้งสัมปรายภพของคนเหล่านั้นเป็นสุคติแล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แท้จริงสัตว์เหล่านั้นเป็นดิรัจฉาน ยังมีความเคารพ   ยำเกรงกัน มีความประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ การที่พวกเธอเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ มีความเคารพยำเกรงกัน มีความประพฤติกลมเกลียว กันอยู่ นั่นจะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมนุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี   กรรม การทำสามีจิกรรม อาสนะที่เลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ตามลำดับผู้แก่ กว่า อนึ่ง ภิกษุไม่ควรเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์ ตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดเกียดกัน   ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

… … …

เรื่องเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์

[๒๖๕] สมัยนั้น ชาวบ้านตกแต่งมณฑป จัดแจงเครื่องลาดแผ้วถางสถาน ที่ไว้เฉพาะสงฆ์ ภิกษุอันเตวาสิกของพระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคทรง อนุญาตเสนาสนะตามลำดับผู้แก่กว่า เฉพาะของสงฆ์เท่านั้น ของเหล่านี้เขาไม่ได้ทำเจาะจงไว้ จึงรีบไปก่อนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จองมณฑป จองเครื่อง ลาด จองสถานที่ไว้ว่า นี้สำหรับอุปัชฌาย์ของพวกเรา นี้สำหรับอาจารย์ของพวกเรา นี้สำหรับพวกเรา ครั้นท่านพระสารีบุตรไปล้าหลัง ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เมื่อภิกษุเหล่านั้นจองมณฑป จองเครื่องลาด จองสถานที่หมดแล้ว หาที่ว่างไม่ได้ จึงนั่งอยู่ ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นเวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาค เสด็จลุกขึ้นทรงพระกาสะ แม้ท่านพระสารีบุตรก็กระแอมไอ

. ใคร ที่นั่น

. ข้าพระพุทธเจ้า สารีบุตร พระพุทธเจ้าข้า

. สารีบุตร ทำไมเธอจึงมานั่งที่โคนต้นไม้นี้เล่า

จึงท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่ผู้มีพระภาค ฯ

[๒๖๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุอันเตวาสิกของภิกษุฉัพพัคคีย์พูดว่า พระผู้มีพระภาคทรง อนุญาตเสนาสนะตามลำดับผู้แก่กว่าเฉพาะของสงฆ์เท่านั้น ไม่ได้ทรงหมายถึงของที่เขาทำเจาะจง จึงรีบไปก่อนหน้าภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จองมณฑป จองเครื่องลาด จองสถานที่ว่างไว้ว่า ที่นี้สำหรับอุปัชฌาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้ของพวกเรา จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ของที่เขาทำเจาะจง ภิกษุก็ไม่พึงเกียดกันตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

… … …

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ไล่ภิกษุอาพาธให้ลุกขึ้น

[๒๗๓] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ไล่ภิกษุอาพาธให้ลุกขึ้น ภิกษุอาพาธ ตอบอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกผมไม่สามารถจะลุกขึ้นได้ เพราะเป็นผู้อาพาธ   พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า พวกผมจะพยุงพวกท่านให้ลุกขึ้น แล้วประคองให้ลุกขึ้น   พอยืนแล้วก็ปล่อยเสีย ภิกษุอาพาธล้มสลบ ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไล่ภิกษุอาพาธให้ลุกขึ้น รูปใดไล่ให้ลุกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

[๒๗๔] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์พูดว่า พวกผมอาพาธ ลุกไม่ขึ้น แล้วยึดเอาที่นอนดีๆ ไว้ ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ที่นอนเหมาะสมแก่ภิกษุอาพาธ

[๒๗๕] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์อาพาธเล็กน้อย ก็หวงกันเสนาสนะไว้ ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีอาพาธเล็กน้อย ไม่พึงหวงกันเสนาสนะไว้ รูปใดหวงกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

(ภาษาไทย) จุลฺล. วิ. ๗/๗๒-๗๙/๒๖๐-๒๗๕. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ

 (การรักษาโรคด้วยอำนาจสมาธิ)

 อานนท์! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ.

 สัญญา ๑๐ ประการนั้น คือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา อานาปานสติ

             ... ... ...

 อานนท์! อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?

 อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่ากายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก; คือ ในกายนี้มีอาพาธต่างๆเกิดขึ้น, กล่าวคือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคที่ศีรษะ โรคที่หู โรคที่ปาก โรคที่ฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้มีพิษร้อน ไข้เซื่องซึม โรคกระเพาะ โรคลมสลบ ลงแดง จุกเสียด เจ็บเสียว โรคเรื้อรัง โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน คุดทะราด โรคละออง โรคโลหิต โรคดีซ่าน เบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง ริดสีดวงทวาร อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฎฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน ไข้สันนิบาต ไข้เพราะฤดูแปรปรวน ไข้เพราะบริหารกายไม่สม่ำเสมอ ไข้เพราะออกกำลังเกิน ไข้เพราะวิบากกรรม ความไม่สบายเพราะความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะดังนี้; เป็นผู้ตามเห็นโทษในกายนี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา

         … ... ...

 อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการเหล่านี้ แก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ.

 ลำดับนั้นแล ท่านอานนท์จำเอาสัญญาสิบประการเหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเข้าไปหาท่านคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการแก่ท่าน เมื่อท่านพระคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธก็ระงับไปโดยฐานะอันควร. ท่านคิริมานนท์หายแล้วจากอาพาธ และอาพาธก็เป็นเสมือนละไปแล้วด้วย แล.

 อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๓๔๙

 (ภาษาไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๙๙/๖๐. : คลิกดูพระสูตร

อนึ่ง ภิกษุใดฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี อันมิใช่เดน เป็นปาจิตตีย์.

อริยวินัย หน้า ๑๑๙

(ภาษาไทย) มหาวิ. วิ. ๒/๔๔๘/๔๙๙. : คลิกดูพระสูตร

อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ในเวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.

อริยวินัย หน้า ๑๒๑

(ภาษาไทย) มหาวิ. วิ. ๒/๔๕๗/๕๐๘. : คลิกดูพระสูตร

 

อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ที่ทำการสั่งสม เป็นปาจิตตีย์.

 อริยวินัย หน้า ๑๒๑

 (ภาษาไทย) มหาวิ. วิ. ๒/๔๖๐/๕๑๒. : คลิกดูพระสูตร

พระพุทธานุญาตผลไม้ที่ใช้เพาะพันธุ์ไม่ได้

ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครสาวัตถี มีของฉัน คือ ผลไม้เกิดขึ้นมาก แต่กัปปิยการกไม่มี ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่ฉันผลไม้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ที่ใช้เพาะพันธุ์ไม่ได้ หรือที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว ยังมิได้ทำกัปปะก็ฉันได้.

(ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๕๔/๕๖. : คลิกดูพระสูตร

 

สมณกัปปะ ๕ อย่าง

 สมัยต่อมา สัปบุรุษหมู่หนึ่งถวายภัตตาหารแก่สงฆ์ เขาไม่ได้ฝาน มะม่วงเป็นชิ้นๆ ในโรงอาหารล้วนแล้วไปด้วยผลมะม่วงทั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับประเคน ...

 พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคน ฉันเถิด เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดยสมณกัปปะ ๕ อย่าง คือ ๑. ผลไม้ที่ลนด้วยไฟ ๒. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา ๓. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ ๔. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด ๕. ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดยสมณกัปปะ ๕ อย่างนี้

 (ภาษาไทย) จุลฺล. วิ. ๗//๒๕. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 
Today635
Yesterday726
This week4389
This month12935
Total2462702

Who Is Online

20
Online