Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

อากิญจัญญายตนะ คืออะไร

User Rating:  / 8
PoorBest 

 

วิดีโอ


บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

        ดูกรโปฏฐปาทะ เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้ว

ย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น.

เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ สัญญาเกี่ยวด้วยกามที่มีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียดมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ย่อมมีในสมัยนั้น

เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและ สุขเกิดแต่วิเวกในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป เพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

 

ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. สัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกมีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิย่อมมีในสมัยนั้น

เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

 

ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข สัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิในก่อนของเธอย่อมดับไป สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยสุขเกิดแต่อุเบกขาย่อมมีในสมัยนั้น

เธอชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยสุขเกิดแต่อุเบกขาในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

 

ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยสุขเกิดแต่อุเบกขามีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยอทุกขมสุขย่อมมีในสมัยนั้น

เธอชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยอทุกขมสุข ในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

 

ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานซึ่งมีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งสัญญาต่างๆโดยประการทั้งปวงอยู่ รูปสัญญามีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานย่อมมีในสมัยนั้น

เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

 

ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานซึ่งมีอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานมีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานย่อมมีในสมัยนั้น

เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

 

ดูกรโปฏฐปาทะ ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌานซึ่งมีอารมณ์ว่า ไม่มีอะไร สัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานที่มีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน

ย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

 

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้า ๑๓๖๕

(บาลี) สี. ที. ๙/๒๒๖- ๒๒๘/๒๗๙ - ๒๘๕. : คลิกดูพระสูตร

(ไทย)  สี. ที. ๙/๒๖๕- ๒๖๗/๒๗๙ - ๒๘๕. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว

ย่อมสำคัญธาตุดิน

ย่อมสำคัญในธาตุดิน

ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน

ย่อมสำคัญธาตุดินว่า ของเรา

ย่อมยินดีธาตุดิน

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้ธาตุน้ำโดยความเป็นธาตุน้ำ ครั้นรู้ธาตุน้ำโดยความเป็นธาตุน้ำแล้ว

ย่อมสำคัญธาตุน้ำ

ย่อมสำคัญในธาตุน้ำ

ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุน้ำ

ย่อมสำคัญธาตุน้ำว่า ของเรา

ย่อมยินดีธาตุน้ำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้ธาตุไฟโดยความเป็นธาตุไฟ ครั้นรู้ธาตุไฟโดยความเป็นธาตุไฟแล้ว

ย่อมสำคัญธาตุไฟ

ย่อมสำคัญในธาตุไฟ

ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุไฟ

ย่อมสำคัญธาตุไฟว่า ของเรา

ย่อมยินดีธาตุไฟ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลม ครั้นรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลมแล้ว

ย่อมสำคัญธาตุลม

ย่อมสำคัญในธาตุลม

ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุลม

ย่อมสำคัญธาตุลมว่า ของเรา

ย่อมยินดีธาตุลม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้สัตว์โดยความเป็นสัตว์ ครั้นรู้สัตว์โดยความเป็นสัตว์แล้ว

ย่อมสำคัญสัตว์

ย่อมสำคัญในสัตว์

ย่อมสำคัญโดยความเป็นสัตว์

ย่อมสำคัญสัตว์ว่า ของเรา

ย่อมยินดีสัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้เทวดาโดยความเป็นเทวดา ครั้นรู้เทวดาโดยความเป็นเทวดาแล้ว

ย่อมสำคัญเทวดา

ย่อมสำคัญในเทวดา

ย่อมสำคัญโดยความเป็นเทวดา

ย่อมสำคัญเทวดาว่าของเรา

ย่อมยินดีเทวดา ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้มารโดยความเป็นมาร ครั้นรู้มารโดยความเป็นมารแล้ว

ย่อมสำคัญมาร

ย่อมสำคัญในมาร

ย่อมสำคัญโดยความเป็นมาร

ย่อมสำคัญมารว่า ของเรา

ย่อมยินดีมาร ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้พรหมโดยความเป็นพรหม ครั้นรู้พรหมโดยความเป็นพรหมแล้ว

ย่อมสำคัญพรหม

ย่อมสำคัญในพรหม

ย่อมสำคัญโดยความเป็นพรหม

ย่อมสำคัญพรหมว่า ของเรา

ย่อมยินดีพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหม ครั้นรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหมแล้ว

ย่อมสำคัญอาภัสสรพรหม

ย่อมสำคัญในอาภัสสรพรหม

ย่อมสำคัญโดยความเป็นอาภัสสรพรหม

ย่อมสำคัญอาภัสสรพรหมว่า ของเรา

ย่อมยินดีอาภัสสรพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

 

ย่อมรู้สุภกิณหพรหมโดยความเป็นสุภกิณหพรหม ครั้นรู้สุภกิณหพรหมโดยความเป็นสุภกิณหพรหมแล้ว

ย่อมสำคัญสุภกิณหพรหม

ย่อมสำคัญในสุภกิณหพรหม

ย่อมสำคัญโดยความเป็นสุภกิณหพรหม

ย่อมสำคัญสุภกิณหพรหมว่า ของเรา

ย่อมยินดีสุภกิณหพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็นเวหัปผลพรหม ครั้นรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็นเวหัปผลพรหมแล้ว

ย่อมสำคัญเวหัปผลพรหม

ย่อมสำคัญในเวหัปผลพรหม

ย่อมสำคัญโดยความเป็นเวหัปผลพรหม

ย่อมสำคัญเวหัปผลพรหมว่า ของเรา

ย่อมยินดีเวหัปผลพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้อสัญญีสัตว์โดยความเป็นอสัญญีสัตว์ ครั้นรู้อสัญญีสัตว์โดยความเป็นอสัญญีสัตว์แล้ว

ย่อมสำคัญอสัญญีสัตว์

ย่อมสำคัญในอสัญญีสัตว์

ย่อมสำคัญโดยความเป็นอสัญญีสัตว์

ย่อมสำคัญอสัญญีสัตว์ว่า ของเรา

ย่อมยินดีอสัญญีสัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้อากาสานัญจายตนพรหมโดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหม ครั้นรู้อากาสานัญจายตนพรหมโดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหมแล้ว

ย่อมสำคัญอากาสานัญจายตนพรหม

ย่อมสำคัญในอากาสานัญจายตนพรหม

ย่อมสำคัญโดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหม

ย่อมสำคัญอากาสานัญจายตนพรหมว่า ของเรา

ย่อมยินดีอากาสานัญจายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้วิญญาณัญจายตนพรหมโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ครั้นรู้วิญญาณัญจายตนพรหมโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหมแล้ว

ย่อมสำคัญวิญญาณัญจายตนพรหม

ย่อมสำคัญในวิญญาณัญจายตนพรหม

ย่อมสำคัญโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม

ย่อมสำคัญวิญญาณัญจายตนพรหมว่า ของเรา

ย่อมยินดีวิญญาณัญจายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้อากิญจัญญายตนพรหมโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหม ครั้นรู้อากิญจัญญายตนพรหมโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหมแล้ว

ย่อมสำคัญอากิญจัญญายตนพรหม

ย่อมสำคัญในอากิญจัญญายตนพรหม

ย่อมสำคัญโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหม

ย่อมสำคัญอากิญจัญญายตนพรหมว่า ของเรา

ย่อมยินดีอากิญจัญญายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ครั้นรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมแล้ว

ย่อมสำคัญเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม

ย่อมสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม

ย่อมสำคัญโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม

ย่อมสำคัญเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมว่า ของเรา

ย่อมยินดีเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้รูปที่ตนเห็นโดยความเป็นรูปที่เห็น ครั้นรู้รูปที่ตนเห็นโดยความเป็นรูปที่ตนเห็นแล้ว

ย่อมสำคัญรูปที่ตนเห็น

ย่อมสำคัญในรูปที่ตนเห็น

ย่อมสำคัญโดยความเป็นรูปที่ตนเห็น

ย่อมสำคัญรูปที่ตนเห็นว่า ของเรา

ย่อมยินดีรูปที่ตนเห็น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้เสียงที่ตนฟังโดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง ครั้นรู้เสียงที่ตนฟังโดยความเป็นเสียงที่ตนฟังแล้ว

ย่อมสำคัญเสียงที่ตนฟัง

ย่อมสำคัญในเสียงที่ตนฟัง

ย่อมสำคัญโดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง

ย่อมสำคัญเสียงที่ตนฟังว่า ของเรา

ย่อมยินดีเสียงที่ตนฟัง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้อารมณ์ที่ตนทราบโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ครั้นรู้อารมณ์ที่ตนทราบโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว

ย่อมสำคัญอารมณ์ที่ตนทราบ

ย่อมสำคัญในอารมณ์ที่ตนทราบ

ย่อมสำคัญโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ

ย่อมสำคัญอารมณ์ที่ตนทราบว่า ของเรา

ย่อมยินดีอารมณ์ที่ตนทราบ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ครั้นรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งแล้ว

ย่อมสำคัญธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง

ย่อมสำคัญในธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง

ย่อมสำคัญโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง

ย่อมสำคัญธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งว่า ของเรา

ย่อมยินดีธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกันโดยความเป็นอันเดียวกัน ครั้นรู้สักกายะเป็นอันเดียวกันโดยความเป็นอันเดียวกันแล้ว

ย่อมสำคัญความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน

ย่อมสำคัญในความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน

ย่อมสำคัญโดยความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน

ย่อมสำคัญความที่สักกายะเป็นอันเดียวกันว่า ของเรา

ย่อมยินดีความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้ความที่สักกายะต่างกันโดยความเป็นของต่างกัน ครั้นรู้ความที่สักกายะต่างกันโดยความเป็นของต่างกันแล้ว

ย่อมสำคัญความที่สักกายะต่างกัน

ย่อมสำคัญในความที่สักกายะต่างกัน

ย่อมสำคัญโดยความที่สักกายะต่างกัน

ย่อมสำคัญความที่สักกายะต่างกันว่า ของเรา

ย่อมยินดีความที่สักกายะต่างกัน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้สักกายะทั้งปวงโดยความเป็นสักกายะทั้งปวง ครั้นรู้สักกายะทั้งปวงโดยความเป็นสักกายะทั้งปวงแล้ว

ย่อมสำคัญสักกายะทั้งปวง

ย่อมสำคัญในสักกายะทั้งปวง

ย่อมสำคัญโดยความเป็นสักกายะทั้งปวง

ย่อมสำคัญสักกายะทั้งปวงว่าของเรา

ย่อมยินดีสักกายะทั้งปวง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว

ย่อมสำคัญพระนิพพาน

ย่อมสำคัญในพระนิพพาน

ย่อมสำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน

ย่อมสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา

ย่อมยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๕๕๑

(บาลี) ม. ม. ๑๒/๑-๖/๒.: คลิกดูพระสูตร

(ไทย)  ม. ม. ๑๒/๑-๕/๒. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 ภิกษุ ท. !        ภิกษุใด  เป็นพระอรหันต์  มีอาสวะสิ้นแล้ว  อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ;   

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งดินโดยความเป็นดิน; ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญฺญา) ซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว

ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน (ปฐวึ น มญฺญติ) ;

ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน (ปฐวิยา น มญฺญติ) ;

ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน (ปฐวิโต น มญฺญติ) ;

ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา (ปฐวิมฺเมติ น มญฺญติ) ;

ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง ดิน (ปฐวึ นาภินนฺทติ).

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า  เพราะดินเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต)แล้ว.

 

(ในกรณีแห่งธรรมอื่นอีก ๒๒ อย่าง คือ น้ำ ไฟ ลม ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหมอาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้วทางจมูก,ลิ้น,ผิวกาย สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ และสิ่งทั้งปวง,  แต่ละอย่าง ๆ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้โดยระเบียบแห่งถ้อยคำอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งดิน จนกระทั่งถึงกรณีแห่งนิพพาน ซึ่งจะได้บรรยายด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่งดังต่อไปนี้ :-)

 

ภิกษุ ท. !        ภิกษุใด  เป็นพระอรหันต์  มีอาสวะสิ้นแล้ว  อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ; 

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน; ครั้นรู้ยิ่ง(อภิญญา) ซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว.

ย่อม        ไม่สำคัญมั่นหมาย   ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ น มญฺญติ) ;

ย่อม        ไม่สำคัญมั่นหมาย   ในนิพพาน (นิพฺพานสฺมึ น มญฺญติ) ;

ย่อม        ไม่สำคัญมั่นหมาย   โดยความเป็นนิพพาน (นิพฺพานโต น มญฺญติ) ;

ย่อม        ไม่สำคัญมั่นหมาย   ว่านิพพานของเรา (นิพฺพานมฺเมติ น มญฺญติ) ;

ย่อม        ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง นิพพาน (นิพฺพานํ นาภินนฺทติ).

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?   ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้า ๖๔๕-๖๔๖

(บาลี) มู. ม. ๑๒/๖/๔ : คลิกดูพระสูตร

(ไทย) มู. ม. ๑๒/๖/๔ : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

Today1961
Yesterday1254
This week6766
This month16784
Total2524089

Who Is Online

34
Online