Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

อนุสติ กับ สติสัมปชัญญะ มีแง่มุมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร

 

 

 

วิดีโอ

เปิดธรรมที่ถูกปิด 2554/34

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ อนุสสติมีเท่าไรหนอแล

 

ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า

 

ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ อนุสสติมี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

- ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็น สุขข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ย่อมเป็นไป เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯ

- อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมทำอาโลกสัญญาไว้ในใจ ย่อมตั้งสัญญาว่าเป็นกลางวันอยู่ เธอกระทำอาโลกสัญญาว่ากลางวันไว้ในใจ ฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจปลอดโปร่ง อันนิวรณ์ไม่พัวพัน ย่อมเจริญจิตที่มีความสว่างด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญนี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ได้ญาณทัสสนะ ฯ

- อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำ ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มเต็มด้วยสิ่งไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกเยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อยอาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามราคะ ฯ

- อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้าตายแล้ว วันหนึ่ง สองวัน หรือสามวัน พองขึ้น มีสีเขียวพราว มีหนองไหลออกเธอย่อมน้อมซึ่งกายนี้เข้าไปเปรียบ อย่างนี้ว่า กายแม้นี้แลย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่าง นั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ฝูงกา นกตะกรุม แร้ง สุนัข สุนัขจิ้งจอกหรือสัตว์ปาณชาติต่างๆ กำลังกัดกิน เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า มีโครงกระดูกมีเนื้อและเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีโครงกระดูก ไม่มีเนื้อ และเลือดมีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีโครงกระดูก ปราศจากเนื้อและ เลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูกเป็นท่อนกระดูก ปราศจากเครื่องผูก เรี่ยรายไปตามทิศต่างๆ คือ กระดูกมือทางหนึ่ง กระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง กระดูกขาทางหนึ่ง กระดูกเอว ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมกายนี้แลเข้าไปเปรียบ อย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็น อย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกเขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกมีสีขาวเหมือนสีสังข์ เป็นท่อนกระดูก เรี่ยราด เป็นกองเกินหนึ่งปี เป็นท่อนกระดูกผุ เป็นจุรณ เธอย่อมน้อมกายนี้ เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้นไม่ล่วง พ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอัสมิมานะ ฯ

- อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้บริสุทธิ์อยู่ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็น อนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธาตุหลายประการ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติ๕ ประการนี้แล ฯ

 

พ. ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำอนุสสติ ข้อที่ ๖ แม้นี้คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสตินอน มีสติประ กอบการงาน ดูกรอานนท์ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ

อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย  หน้า ๑๒๓๙

(ไทย)  ฉกก. อํ. ๒๒/๒๙๔/๓๐๐.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)  ฉกก. อํ. ๒๒/๓๖๐/๓๐๐.คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

Today1514
Yesterday1254
This week6319
This month16337
Total2523642

Who Is Online

47
Online