Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

เผยแผ่คำสอนอย่างผิดๆ ย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก คืออย่างไร

 

 

วิดีโอ

บางส่วนจาก สนทนาธรรมช่วงหลังฉัน วันที่  15 ธ.ค. 2556
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง


 

[๑๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าธรรม ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมจะยังสัทธรรม  นี้ให้อันตรธาน ฯ

[๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า อธรรม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตทรงภาษิตไว้ตรัสไว้ ฯลฯ  ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตได้ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า  พระตถาคตมิได้ทรงภาษิต  มิตรัสไว้  ฯลฯ

ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมว่า พระตถาคตทรงสั่งสม ฯลฯ

ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตมิได้ทรงสั่งสม ไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมไว้ ฯลฯ

ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ฯลฯ

ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตทรงบัญญัติ  ไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้

    ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออนัตถะใช่ประโยชน์ เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ บาปใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน ฯ

 

 [๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าอธรรม ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ

[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า ธรรม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่ามิใช่วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตมิได้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตได้ทรงภาษิต ได้ตรัสไว้ว่าพระตถาคตได้ทรงภาษิต ได้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงกรรมที่พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมว่า พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตทรงสั่งสมว่า พระตถาคตทรงสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติว่า ตถาคตทรงบัญญัติ

       ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ 

(ไทย) อํ. เอก. ๒๐/๑๙ -๒๐/๑๓๑–๑๓๔:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) อํ. เอก. ๒๐/๒๕ -๒๖/๑๓๑–๑๓๔:คลิกดูพระสูตร

 

          ดูกรมาคัณฑิยะ  เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาวไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์. แต่เขาได้ฟังต่อคนที่มีจักษุซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น พึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงเขานั้นว่าบุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด. เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตรอำมาตย์

          ญาติสาโลหิตของเขา ตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ทำยาถอนให้อาเจียร ยาถ่ายให้ลง ยาหยอด ยาหยอดซ้ำ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วเห็นได้ชำระตาให้ใสได้ เขาย่อมละความรักด้วยสามารถความพอใจในผ้าเทียมเปื้อนเขม่าโน้นได้ พร้อมกับตาเห็น เขาพึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้นโดยความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก  

          อนึ่ง เขาพึงสำคัญบุรุษที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิตเสียด้วยความแค้นว่า บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้เอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงให้หลงว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดดังนี้ มานานหนอ ฉันใด

          ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแสดงธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้. ท่านนั้นพึงรู้ ความไม่มีโรค พึงเห็นนิพพานได้ ท่านนั้นก็จะละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในขันธ์ที่มีอุปาทานทั้งห้าได้ พร้อมกับความเห็นเกิดขึ้น อนึ่ง ท่านพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า

         ดูกรท่านผู้เจริญ เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานานแล้วหนอ เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่รูปเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่เวทนาเท่านั้น เมื่อยึดมั่น ก็ยึดมั่นแต่สัญญาเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สังขารเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่วิญญาณเท่านั้น เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยภพจึงมีแก่เรานั้น เพราะภพนั้นเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

 

(ไทย) ม.ม. ๑๓/๒๑๙/๒๙๐:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ม.ม. ๑๓/๒๘๔/๒๙๐:คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today1461
Yesterday1254
This week6266
This month16284
Total2523589

Who Is Online

53
Online