Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

คนที่นับถือศาสนาอื่น มีสวรรค์นรกที่เดียวกันหรือไม่?

 

วิดีโอ

ดาวน์โหลด : 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง


 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารเพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

 จึงมีนามรูปเพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้  ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลายย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัดเพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้วย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ

 

(ไทย) นิทาน.สํ.  ๑๖/๙๔/๒๓๓.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) นิทาน.สํ.  ๑๖/๑๑๕/๒๓๓.คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมี ๕ อย่าง เหล่านี้.

๕ อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ๕ อย่าง คือ :-

(พืชจากเหง้าหรือราก (มูลพีช)

(พืชจากต้น (ขนฺธพีช)

(พืชจากตาหรือผล (ผลพีช)

(พืชจากยอด (อคฺคพีช)

(พืชจากเมล็ด (พีชพีช)

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า สิ่งที่ใช้เป็น พืช ๕ อย่าง เหล่านี้

ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด

ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี  แต่ดิน น้ำ ไม่มี.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้นจะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้แลหรือ ?

หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า สิ่งที่ใช้เป็น พืช ๕ อย่าง เหล่านี้แหละ ที่ไม่ถูกทำลายยังไม่เน่าเปื่อย

ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี

ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้นจะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ ?

อย่างนั้น พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย !  วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร)  พึงเห็นว่า เหมือนกับ ดิน.

ภิกษุทั้งหลาย !  นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน) พึงเห็นว่าเหมือนกับ นํ้า.

ภิกษุทั้งหลาย !  วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย พึงเห็นว่า เหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้

เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็น

ที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้.ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์  มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์

มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า :-

เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ (การตายการอุบัติ (การเกิด)

ความเจริญ ความงอกงามและความไพบูลย์ของวิญญาณ

โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนาเว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร ดังนี้นั้น

นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ

ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว.

เพราะละราคะได้  อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง

ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี  วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม  

หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง  เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น

เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง

เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว

เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน  ย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว

กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.

ภพภูมิ หน้า ๑๕

(ไทย) ขนฺธสํ๑๗/๕๔-๕๕/๑๐๖-๑๐๗. :คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ขนฺธสํ๑๗/๖๗-๖๘/๑๐๖-๑๐๗. : คลิกดูพระสูตร

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

 

      บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝีเป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ

 

     อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ รูป เวทนา  สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น บุคคล

นั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี

เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียนเป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป

เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตนบุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่า

สุทธาวาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

 

 

(ไทย) จตุกฺก. อํ ๒๑/๑๒๗/๑๒๔ :คลิกดูพระสูตร

(บาลี) จตุกฺก. อํ ๒๑/๑๗๑/๑๒๔คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง

ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง

ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง

จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

(บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง 

เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา 

มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่.

(ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้

เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ 

ไม่ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ 

ในบ้านก็ดี ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย.

(ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม

(คือเว้นจากการประพฤติผิดในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา 

พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือ ญาติรักษา อันธรรมรักษา 

เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม 

โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องมาลัย

ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง.

จุนทะ ! ความสะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

(บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท 

ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี 

ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี 

อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า

บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น

ดังนี้บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้

เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น,

เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่น 

หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสไรๆ ก็ไม่เป็น ผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่.

(ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากการส่อเสียด

ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้ 

หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้วไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น 

แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับพร้อมเพรียงกัน 

อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น 

เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคนยินดีในการพร้อมเพรียง 

เป็นคนพอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน.

(ละการกล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ 

กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก 

เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน 

เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่.

(ละคำพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำพูดเพ้อเจ้อ

กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์

เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง

มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง.

จุนทะ ! ความสะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง เป็น อย่างไรเล่า ?

(บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา 

คือเป็นผู้ไม่โลภ เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า 

สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา ดังนี้.

(เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันไม่ประทุษร้ายว่า 

สัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน 

ไม่มีทุกข์ มีสุข บริหารตนอยู่เถิด” ดังนี้ เป็นต้น.

(เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีทัสสนะไม่วิปริต ว่า 

ทานที่ให้แล้ว มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว มี (ผล), 

ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่ว มี

โลกอื่น มีมารดา มีบิดา มี โอปปาติกสัตว์ มี,

สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น 

ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มี” ดังนี้.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง.

จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐.

จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้ 

ลุกจากที่นอนตามเวลาแห่งตนแล้ว 

แม้จะลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาดแม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด

แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาดแม้จะไม่จับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด

แม้จะจับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาดแม้จะไม่จับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาด

แม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่บำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด

แม้จะไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาดแม้จะไม่ไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด

แม้จะลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สามก็เป็นคนสะอาด 

แม้จะไม่ลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาด.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

จุนทะ ! เพราะเหตุว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

เหล่านี้ เป็นตัวความสะอาด และเป็นเครื่องกระทำความสะอาด.

จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ เป็นเหตุ

พวกเทพจึงปรากฏ หรือว่าสุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.

 

พุทธวจน ปฐมธรรม  บทที่ ๔๘ หน้า ๑๒๙.

(ไทย) ทสกอํ๒๔/๒๓๘-๒๔๔/๑๖๕.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ทสกอํ๒๔/๒๘๓-๒๘๙/๑๖๕.: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

Today1310
Yesterday1254
This week6115
This month16133
Total2523438

Who Is Online

57
Online