จิตรับรู้อารมณ์ได้ที่ละอย่าง คืออย่างไร
วิดีโอ
สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ ๒๒ ม.ค. ๕๔
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ภิกษุทั้งหลาย. ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ; ผู้ไม่เข้าไปหาเป็นผู้หลุดพ้น. ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณ ที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้. เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัยมีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุทั้งหลาย. !วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้ง อยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้. ภิกษุทั้งหลาย. ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้น สังขาร” ดังนี้นั้น, นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย. ภิกษุทั้งหลาย. ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว ; เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี. วิญญาณ อันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง ; เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่นเพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง ; เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว ; เมื่อไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน ; ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๖๘๓ (ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๓/๑๐๕.: คลิกดูพระสูตร
อัคคิเวสสนะ ! เวทนาสามอย่าง เหล่านี้ มีอยู่ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา. อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด บุคคลเสวยสุขเวทนา, สมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา, สมัยนั้นคงเสวย แต่สุขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด บุคคลเสวยทุกขเวทนา, สมัย นั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา, สมัยนั้นคงเสวยแต่ ทุกขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด บุคคลเสวยอทุกขมสุขเวทนา, สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา, สมัยนั้นคงเสวยแต่ อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้าที่ ๙๕๔ (ภาษาไทย) ม.ม. ๑๓/๒๐๗/๒๗๓. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณฐิติ สี่อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) พึงเห็นว่าเหมือนกับ ดิน. ภิกษุทั้งหลาย. ! นันทิราคะ พึงเห็นว่าเหมือนกับ น้ำ. ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย (คือกรรม) พึงเห็นว่า เหมือนกับ พืชสดทั้งห้านั้น. ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา รูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความ เจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา เวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถือความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา สัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา สังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้. ภิกษุทั้งหลาย. ! ผู้ใด จะพึงกล่าวอย่างนี้ ว่า “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร” ดังนี้นั้น, นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้าที่ ๒๐๖ (ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๔/๑๐๗ : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็น ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือ เอาจิตโดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย. ข้อนี้เป็นเพราะเหตุใดเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่ ภิกษุทั้งหลาย. ! ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดีนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดวันตลอดคืน. ภิกษุทั้งหลาย. ! เปรียบเหมือนวานรเมื่อเที่ยวไปอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมจับกิ่งไม้ : ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่จับเดิมเหนี่ยวกิ่งอื่น เช่นนี้เรื่อย ๆ ไป, ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุทั้งหลาย. ! สิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดวงหนึ่งเกิดขึ้นดวงหนึ่งดับไปตลอดวันตลอดคืน. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้าที่ ๑๐๑๕ (ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๙๓-๙๕/๒๓๐ - ๒๓๒.: คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย. ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ; ผู้ไม่เข้าไปหาเป็นผู้หลุดพ้น. ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณ ที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้. เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็น อารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุทั้งหลาย. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้ง อยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้. ภิกษุทั้งหลาย. ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้น สังขาร” ดังนี้นั้น, นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย. ภิกษุทั้งหลาย. ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ใน สังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว ; เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี. วิญญาณ อันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง ; เพราะ หลุดพ้นไปก็ตั้งมั่นเพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง ; เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว ; เมื่อไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน ; ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้าที่ ๖๘๓-๖๘๔ (ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๓/๑๐๕. : คลิกดูพระสูตร