Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การเปรียบเรื่อง ม้ากระจอกกับม้าอาชาไนย ในการเห็นการเกิดดับ เป็นอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

 

วิดีโอ

 

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3


 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

สันธะ ! เธอจงเพ่งอย่างการเพ่งของสัตว์อาชาไนย ; อย่าเพ่งอย่างการเพ่งของสัตว์กระจอก.

สันธะ ! อย่างไรเล่า เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์กระจอก ?  สันธะ ! ม้ากระจอก ถูกผูกไว้ที่รางเลี้ยงอาหาร ใจของมันก็จะเพ่งอยู่แต่ว่า ข้าวเปลือก ๆเพราะเหตุไรเล่า ? สันธะ ! เพราะเหตุว่ามันไม่มีแก่ใจที่จะคิดว่า วันนี้ สารถีของเราต้องการให้เราทำอะไรหนอ เราจะตอบสนองเขาอย่างไรหนอ” ; มันมัวเพ่งอยู่ในใจว่า ข้าวเปลือก ๆดังนี้.

สันธะ! ฉัน ใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุกระจอกบางรูปในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม มีจิตถูกกามราคนิวรณ์กลุ้มรุมห่อหุ้มอยู่. เขาไม่รู้ตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว; เขากระทำกามราคะนั้น ๆ ให้เนื่องกันไม่ขาดสาย เพ่งอยู่ เพ่งทั่วอยู่ เพ่งโดยไม่เหลืออยู่ เพ่งลงอยู่. (ในกรณีแห่ง พยาบาท - ถีนมิทธะ - อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉานิวรณ์ ก็ได้เป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งกามราคะนิวรณ์). ภิกษุ นั้นย่อมเพ่งอาศัยความสำคัญว่าดินบ้าง ย่อมเพ่งอาศัยความสำคัญว่าน้ำบ้าง อาศัยความสำคัญว่าไฟบ้าง อาศัยความสำคัญว่าลมบ้าง ว่าอากาสานัญจายตนะบ้าง ว่าวิญญาณัญ-จายตนะบ้าง ว่าอากิญจัญญายตนะบ้าง ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง ว่าโลกนี้บ้าง ว่าโลกอื่นบ้าง อาศัยความสำคัญว่า สิ่งที่เราเห็นแล้ว. สิ่งที่เราฟังแล้ว, สิ่งที่เรารู้สึกแล้ว, สิ่งที่เรารู้แจ้งแล้ว, สิ่งที่เราบรรลุแล้ว, สิ่งที่เราแสวงหาแล้ว, สิ่งที่ใจของเราติดตามแล้วแต่ละอย่างๆเป็นต้น ดังนี้บ้าง, เพ่งอยู่สันธะ ! อย่างนี้แล เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์กระจอก.

สันธะ ! อย่างไรเล่า เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์อาชาไนย ?  สันธะ ! ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ถูกผูกไว้ที่รางเลี้ยงอาหาร ใจของมันจะไม่เพ่งอยู่แต่ว่าข้าวเปลือก ๆเพราะเหตุไรเล่า ? สันธะ ! เพราะเหตุว่า แม้ถูกผูกอยู่ที่รางเลี้ยงอาหาร แต่ใจของมันมัวไปคิดอยู่ว่า วันนี้ สารถีของเราต้องการให้เราทำอะไรหนอ เราจะตอบสนองเขาอย่างไรหนอดังนี้; มันไม่มัวแต่เพ่งอยู่ในใจว่า ข้าวเปลือก ๆดังนี้. สันธะ ! ก็ม้าอาชาไนยนั้น รู้สึกอยู่ว่า การถูกลงปะฏักนั้นเป็นเหมือนการใช้หนี้ การถูกจองจำ ความเสื่อมเสีย เป็นเหมือนเสนียดจัญไร.

สันธะ ! ภิกษุอาชาไนยผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม, มีจิตไม่ถูกกามราคนิวรณ์กลุ้มรุม ห่อหุ้ม อยู่, เขาเห็นตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว. (ในกรณีแห่ง พยาบาท - ถีนมิทธะ - อุทธัจจกุกกุจจะ - และวิจิกิจฉา - นิวรณ์ ก็ได้เป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งกามราคะนิวรณ์).  ภิกษุ นั้น ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่าดิน ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่าน้ำ ไม่อาศัยความสำคัญว่าไฟ ไม่อาศัยความสำคัญว่าลม ไม่อาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าโลกนี้ ไม่อาศัยความสำคัญว่าโลกอื่น ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่า สิ่งที่เราเห็นแล้ว. สิ่งที่เราฟังแล้ว, สิ่งที่เรารู้สึกแล้ว, สิ่งที่เรารู้แจ้งแล้ว, สิ่งที่เราบรรลุแล้ว, สิ่งที่เราแสวงหาแล้ว, สิ่งที่ใจของเราติดตามแล้วแต่ละอย่างๆ เป็นต้น ดังนี้บ้าง, เพ่งอยู่ๆ.  สันธะ ! เทวดาทั้งหลาย พร้อมทั้งอินทร์ พรหม และปชาบดี ย่อมนมัสการบุรุษอาชาไนยผู้เจริญผู้เพ่งอยู่อย่างนี้ มาแต่ที่ไกลทีเดียว กล่าวว่า :-

ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ! ข้าแต่ท่านบุรุษสูงสุด !

ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะทราบ

สิ่งซึ่งท่านอาศัยแล้วเพ่ง ของท่าน

นโม เต ปุริสาช นโม เต ปุริสุตฺตม

ยสฺส เต นาภิชานาม ยมฺปิ นิสฺสาย ฌายสีติฯ

(เมื่อตรัสดังนี้แล้ว สันธภิกษุได้ทูลถามว่า :-)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุรุษ อาชาไนยผู้เจริญ เพ่งอย่างไรกัน ชนิดที่ไม่อาศัยดินหรือน้ำ เป็นต้นแล้วเพ่ง จนกระทั่งพวกเทวดาพากันสรรเสริญว่าดังนั้น พระเจ้าข้า ?

สัทธะ ! ในกรณีนี้ ปฐวีสัญญา (ความสำคัญในดินว่าดิน) ย่อมเป็นแจ้ง (วิภูติ-เป็นที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง) แก่บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ (ตามนัยแห่งอรรถกถา : มโนรถปูรณี ภ. ๓ น. ๔๓๒) ความสำคัญในนํ้าว่านํ้า, ความสำคัญในไฟว่าไฟ, ความสำคัญในลมว่าลม, ความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าอากาสานัญจายตนะ, ความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าวิญญาณัญจายตนะ, ความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าอากิญจัญญายตนะ, ความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ, ความสำคัญในโลกนี้ว่าโลกนี้, ความสำคัญในโลกอื่นว่าโลกอื่น, ความสำคัญในสิ่งที่เห็นแล้ว ฟังแล้วฯลฯ ว่า สิ่งที่เราเห็นแล้ว” “สิ่งที่เราฟังแล้วฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นแจ้งแก่บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ.

สันธะ ! บุรุษ อาชาไนยผู้เจริญ เพ่งอยู่อย่างนี้ จึงได้ชื่อว่า ไม่อาศัยความสำคัญว่าดินแล้วเพ่ง ไม่อาศัยความสำคัญว่าน้ำแล้วเพ่ง ไม่อาศัยความสำคัญว่าไฟแล้วเพ่ง เป็นต้น จนกระทั่งพวกเทวดาพากันสรรเสริญว่าดังนั้น.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น  หน้า  ๗๘๒

 (ภาษาไทย) เอกาทสก. อํ. ๒๔/๒๙๘ /๒๑๖. : คลิกดูพระสูตร

 

 

Today1431
Yesterday1254
This week6236
This month16254
Total2523559

Who Is Online

63
Online