Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

คำว่า จิตใหญ่ และ จิตอื่นยิ่งกว่า หมายความว่าอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง

 วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 ดาวน์โหลด : mp4, mp3


  พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้

() รู้ชัดซึ่งจิตอันมีราคะ ว่าจิตมีราคะ”,

() รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากราคะ ว่าจิตปราศจากราคะ

() รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโทสะ ว่าจิตมีโทสะ

() รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโทสะ ว่าจิตปราศจากโทสะ

() รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโมหะ ว่าจิตมีโมหะ

() รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโมหะ ว่าจิตปราศจากโมหะ

() รู้ชัดซึ่งจิตอันหดหู่ ว่าจิตหดหู่

() รู้ชัดซึ่งจิตอันฟุ้งซ่าน ว่าจิตฟุ้งซ่าน

() รู้ชัดซึ่งจิตอันถึงความเป็นจิตใหญ่ ว่า จิตถึงแล้วซึ่งความเป็นจิตใหญ่

(๑๐) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ถึงความเป็นจิตใหญ่ ว่า จิตไม่ถึงแล้ว ซึ่งความเป็นจิตใหญ่

(๑๑) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า ว่า "จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า

(๑๒) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า

(๑๓) รู้ชัดซึ่งจิตอันตั้งมั่น ว่าจิตตั้งมั่น

(๑๔) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ตั้งมั่น ว่าจิตไม่ตั้งมั่น

(๑๕) รู้ชัดซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว

(๑๖) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังไม่หลุดพ้น ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น

ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอันเป็นภายในอยู่บ้าง, ในจิตอันเป็นภายนอกอยู่บ้าง, ในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งจิต) ในจิต (นี้) อยู่บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งจิต) ในจิต (นี้) อยู่บ้าง ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่าจิตมีอยู่ดัง นี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่อความอาศัยระลึก ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลกนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปรกติตามเห็นจิตในจิตอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้

 อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๒๒๑

(ภาษาไทย) มหา. วิ. ๑๐ / ๒๒๒ / ๒๘๙ : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today1444
Yesterday1254
This week6249
This month16267
Total2523572

Who Is Online

79
Online