Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

“ผู้เข้าไปหาย่อมไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น” หมายความว่าอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ 1

เปิดธรรมที่ถูกปิด 2554/24

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
เปิดธรรมที่ถูกปิด ด้วยพุทธวจน  2554/24

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

วิดีโอ 2

สนทนาธรรมค่ำเสาร์ 28 พ.ค. 2554

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4 , mp3

 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมหลุดพ้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น; ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ได้;

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนา เป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้;

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้;

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร เป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึง ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขารดังนี้นั้น, นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ ภิกษุละได้แล้ว; เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี, วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง, เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น, เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง, เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว, เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.

ย่อมรู้ชัดว่า ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว, กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีกดังนี้.

 

ตามรอยธรรม  หน้า ๔๗

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ.  ๑๗/๕๓/๑๐๕  : คลิกดูพระสูตร

ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ (นัยที่ ๒)

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมี ๕ อย่าง เหล่านี้.
๕ อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ๕ อย่าง คือ :-
() พืชจากเหง้าหรือราก (มูลพีช)
() พืชจากต้น (ขนฺธพีช)
() พืชจากตาหรือผล (ผลพีช)
() พืชจากยอด (อคฺคพีช)
() พืชจากเมล็ด (พีชพีช)

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านี้ ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี แต่ดิน น้ำ ไม่มี.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้น จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้แลหรือ ?

หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านี้แหละ ที่ไม่ถูกทำลายยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้น จะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ ?

อย่างนั้น พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณฐิต๔ อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) พึงเห็นว่า เหมือนกับ ดิน.

ภิกษุทั้งหลาย ! นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน) พึงเห็นว่าเหมือนกับ นํ้า.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย พึงเห็นว่าเหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า :-
เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป
การจุติ
(การตาย) การอุบัติ (การเกิด)
ความเจริญ ความงอกงาม
และความไพบูลย์ของวิญญาณ
โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา
เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร
ดังนี้นั้น
นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว.

เพราะละราคะได้
อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม

หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง
เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น
เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง
เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว
เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน
ย่อมรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก
ดังนี้.

 

ภพภูมิ หน้า ๑๕

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๔/๑๐๖-๑๐๗. : คลิกดูพระสูตร

 

ความมีขึ้นแห่งภพ
แม้มีอยู่ชั่วขณะก็น่ารังเกียจ

ภิกษุทั้งหลาย ! คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม้มีประมาณน้อย ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้.

(ในสูตรถัดไป ได้ตรัสอุปมาด้วยมูตร ด้วยน้ำลาย ด้วยหนอง ด้วยโลหิต โดยทำนองเดียวกัน เอก. อํ. ๒๐/๓๖/๒๐๔.)

 

ภพภูมิ หน้า ๑๙

(ภาษาไทย) เอก. อํ. ๒๐/๓๖/๒๐๓. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ละความเพลิน จิตหลุดพ้น

สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ

จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ

ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ

จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจตีติ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดีดังนี้
.

อินทรียสังวร หน้า ๓๒

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๔๖/๒๔๕-๒๔๖. : คลิกดูพระสูตร

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today1185
Yesterday1254
This week5990
This month16008
Total2523313

Who Is Online

103
Online