Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ขอคำอธิบายคำว่า “…แล้วก็มีจิตยึดถือเอา ทั้งโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด (โดยนิมิต) และ การถือเอาโดยการแยกเป็นส่วนๆ (โดยอนุพยัญชนะ)…”

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
 
 

ไม่อาจถึงซึ่ง ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัย

ภิกษุทั้งหลาย!
คนเลี้ยงโคที่ประกอบด้วยความบกพร่อง ๑๑ อย่างเหล่านี้แล้ว
ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงโคและทำฝูงโคให้เจริญได้.
ความบกพร่องนั้นคืออะไรกันเล่า ?
คือ คนเลี้ยงโคในกรณีนี้ ... เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง, เป็นผู้ไม่ปิดแผล, ...

ภิกษุทั้งหลาย! ฉันใดก็ฉันนั้น
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๑ อย่างเหล่านี้แล้ว
ไม่ควรที่จะถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้
.
องค์คุณนั้นคืออะไรกันเล่า ?
คือ ภิกษุในกรณีนี้ ... เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง, เป็นผู้ไม่ปิดแผล, ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างไรกันเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
ไม่อดกลั้น
(อธิวาเสติ) ไม่ละ (น ปชหติ)
ไม่บรรเทา
(น วิโนเทติ) ไม่ทำให้สิ้นสุด (น พฺยนฺตีกโรติ)
ไม่ทำให้หมดสิ้น
(น อนภาวงฺคเมติ)
ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยกาม (กามวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว
ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยความมุ่งร้าย (พยาบาทวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว
ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยการเบียดเบียน
(วิหิงสาวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว
ซึ่งบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย
! ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นอย่างไรกันเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
เห็นรูปด้วยตา, ฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก,
ลิ้มรสด้วยลิ้น, ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ,
แล้วก็มีจิตยึดถือเอา ทั้งโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด
(โดยนิมิต)
และ การถือเอาโดยการแยกเป็นส่วนๆ
(โดยอนุพยัญชนะ)

สิ่งอันเป็นอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัส
จะพึงไหลไปตามผู้ที่ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใด เป็นเหตุ

เธอไม่ปฏิบัติเพื่อปิดกั้น อินทรีย์เหล่านั้นไว้
เธอไม่รักษา และไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นอย่างนี้แล.
(ในที่นี้ ยกมาให้เห็นเพียง ๒ จากทั้งหมด ๑๑ คุณสมบัติ)

พุทธวจน อินทรียสังวร หน้า ๒๙

(ภาษาไทย) มู. . ๑๒/๒๙๐/๓๘๔-. : คลิกดูพระสูตร


คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today1482
Yesterday1254
This week6287
This month16305
Total2523610

Who Is Online

47
Online