Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การอยู่อย่างมีเพื่อนสอง หมายความว่าอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

วีดีโอ1


บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 

ดาวน์โหลด : mp4mp3

วีดีโอ2

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 

ดาวน์โหลด : mp4mp3

วีดีโอ3

 


บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

 

 

(ภิกษุชื่อว่าเถระ มีปรกติอยู่ผู้เดียว)

 

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์   

สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีชื่อว่าเถระ  มีปรกติอยู่ผู้เดียว  และสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว  เธอเป็น

ผู้เดียว  เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต  เป็นผู้เดียวเดินกลับ  ย่อมนั่งในที่ลับผู้เดียว  และย่อมเป็น

ผู้เดียวอธิษฐานจงกรม

ครั้งนั้นแล  ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค  ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวาย

อภิวาท  แล้วนั่ง  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

       

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !

ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้  มีชื่อว่าเถระ มีปรกติอยู่คนเดียว และมีปรกติกล่าวสรรเสริญ

การอยู่คนเดียว พระเจ้าข้า ! …”

 

ภิกษุ ! เธอจงไปบอกภิกษุชื่อเถระตามคำของเราว่า พระศาสดารับสั่งให้หา

ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหาท่านพระเถระถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า

อาวุโส !  พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน 

ท่านพระเถระรับคำภิกษุนั้นแล้ว  เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ  ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว  

ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เถระได้ยินว่าเธอมีปรกติอยู่คนเดียว และมักสรรเสริญการอยู่คนเดียว จริงหรือ ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! จริง พระเจ้าข้า …”

 

เถระก็เธอมีปรกติอยู่คนเดียว และมักกล่าวสรรเสริญการอยู่คนเดียวอย่างไร ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  !  ในข้อนี้  คือ  ข้าพระองค์คนเดียว  เข้าไปสู่บ้าน  เพื่อบิณฑบาต   เดินกลับคนเดียว  นั่งในที่ลับคนเดียว  อธิษฐานจงกรมคนเดียว

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ข้าพระองค์มีปรกติอยู่คนเดียว  และมักกล่าวสรรเสริญการอยู่คนเดียว  อย่างนี้แล  

 

เถระการอยู่คนเดียวนี้มีอยู่  เราจะกล่าวว่าไม่มีก็หาไม่

เถระ !  อนึ่งการอยู่คนเดียวของเธอ  ย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดารกว่า

ด้วยประการใด  เธอจงฟังประการนั้น  จงทำไว้ในใจให้ดี  เราจักกล่าว

เถระก็การอยู่คนเดียว ย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดารกว่าอย่างไร ?

ในข้อนี้  

สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว  สิ่งนั้นก็ละได้แล้ว  (อดีต)

สิ่งใดยังไม่มาถึง  สิ่งนั้นก็สละคืนได้แล้ว (อนาคต)

ฉันทราคะ ในการได้อัตภาพที่เป็นปัจจุบัน ถูกกำจัดแล้วด้วยดี  

การอยู่คนเดียว ย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดารกว่า อย่างนี้แล

(คาถาท้ายพระสูตร)        

เราย่อมเรียกนรชน  ผู้ครอบงำ ขันธ์  อายตนะ ธาตุ

และ ไตรภพทั้งหมดได้ผู้รู้ทุกข์ทุกอย่าง ผู้มีปัญญาดี

ผู้ไม่แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง ผู้ละสิ่งทั้งปวง เสียได้  

ผู้หลุดพ้น  ในเพราะนิพพาน  เป็นที่สิ้นตัณหา ว่า

เป็นผู้มีปรกติอยู่คนเดียว ดังนี้

(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๒๘๔/๗๑๖-๗๒๑.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ

ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?”

 

มิคชาละ ! รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ  อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา  

น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก  เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่  

เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.

ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้;

แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน  พร่ำสรรเสริญ  สยบมัวเมา  ซึ่งรูปนั้นอยู่  นั่นแหละ,

นันทิ(ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น

เมื่อ นันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง) ย่อมมี;

เมื่อ สาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ(ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี :

     

มิคชาละ !  ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วย

อำนาจแห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง

 

(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหู, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก,

รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น, โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย, และ

ธรรมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ, ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน).

มิคชาละ !  ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้  แม้จะส้องเสพเสนาสนะ 

อันเป็นป่า และป่าชัฏ  ซึ่งเงียบสงัด  มีเสียงรบกวนน้อย  มีเสียงกึกก้อง

ครึกโครมน้อย  ปราศจากลมจากผิวกายคน  เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ 

เป็นที่สมควร  แก่การหลีกเร้น  เช่นนี้แล้ว  ก็ตาม  ถึงกระนั้น  ภิกษุนั้น

เราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล  เป็นเพื่อนสอง

ของภิกษุนั้น.ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ยังละไม่ได้แล้วเพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น

เราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองดังนี้.

 

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล

ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว พระเจ้าข้า !

 

มิคชาละ ! รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา

น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่

เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.

ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา

ซึ่งรูปนั้นไซร้แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา

ซึ่งรูปนั้น นั่นแหละ นันทิย่อมดับ

 

เมื่อ นันทิไม่มีอยู่, สาราคะ ย่อมไม่มี

เมื่อ สาราคะ ไม่มีอยู่, สัญโญคะ ย่อมไม่มี

มิคชาละ !  ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว  ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์

ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน  นั่นแล เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว

(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหู, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก,

รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น, โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย, และ

ธรรมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ, ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน).

มิคชาละ !  ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้   แม้อยู่ในหมู่บ้าน

อันเกลื่อนกล่นไปด้วย ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกาทั้งหลาย

ด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาทั้งหลาย

ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ตาม ถึงกระนั้น

ภิกษุนั้นเราก็เรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้

  

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุว่า

ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น;

ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ละเสียได้แล้วเพราะเหตุนั้น

ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว ดังนี้ แล.

อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)  หน้า ๒๔.

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๔/๖๖-๖๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today84
Yesterday1124
This week3383
This month1912
Total2532775

Who Is Online

16
Online