การใช้จ่ายทรัพย์อย่างไร จึงไม่เป็นการตระหนี่ และควรเลือกทำบุญอย่างไร
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่วิดีโอ
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
คหบดี ! อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์ที่ตนหาได้มาด้วยความเพียร เครื่องลุกขึ้น
รวบรวมมาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรม เพื่อกระทำกรรมในหน้าที่ ๔ ประการ. ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?
๔ ประการ ในกรณีนี้ คือ :-
๑. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มาโดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น)
ในการเลี้ยงตน ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารตนให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง,
ในการเลี้ยงมารดาและบิดาให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารท่านทั้งสองให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง,
ในการเลี้ยงบุตรภรรยา ทาสและกรรมกรชายหญิง ให้เป็นสุข อิ่มหนำ
บริหารให้อยู่กันอย่างเป็นสุขโดยถูกต้อง,
ในการเลี้ยงมิตรอำมาตย์ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง
นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๑ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล (อายตนโส).
คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :
๒. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มาโดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น)
ในการปิดกั้นอันตรายทั้งหลาย ทำตนให้สวัสดีจากอันตรายทั้งหลาย ที่เกิดจากไฟ จากนํ้า
จากพระราชา จากโจร หรือจากทายาท ที่ไม่เป็นที่รักนั้นๆ นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๒
อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล.
คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :
๓. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มาโดยชอบธรรม ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น )
ในการกระทำพลีกรรม ๕ ประการ คือ สงเคราะห์ญาติ (ญาติพลี) สงเคราะห์แขก(อติถิพลี)
สงเคราะห์ผู้ล่วงลับไปแล้ว (ปุพพเปตพลี) ช่วยชาติ (ราชพลี) บูชาเทวดา (เทวตาพลี)
นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ฐานที่ ๓ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล.
คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :
๔. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหามาได้โดยชอบธรรม (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น)
ในการตั้งไว้ซึ่งทักษิณา อุทิศแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้งดเว้นแล้วจากความประมาทมัวเมา
ผู้ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้ฝึกฝน ทำความสงบ ทำความดับเย็น แก่ตนเอง
อันเป็นทักษิณาทานที่มีผลเลิศในเบื้องบน เป็นฝ่ายดี มีสุขเป็นผลตอบแทน เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์
นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๔ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้วบรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล.
คหบดี ! อริยสาวกนั้น ย่อมใช้โภคทรัพย์ที่ตน หาได้มาด้วยความเพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น รวบรวมมาด้วย
กำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม เพื่อกระทำกรรมในหน้าที่ ๔ ประการเหล่านี้.
ปฐมธรรม หน้า ๑๗
(ไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๕/๖๑. : คลิกดูพระสูตร
(บาลี)จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๕/๖๑ : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้ เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ
ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. ๘ จำพวกอะไรบ้างเล่า ?
๘ จำพวก คือ :-
(๑) พระโสดาบัน
(๒) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
(๓) พระสกทาคามี
(๔) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
(๕) พระอนาคามี
(๖) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
(๗) พระอรหันต์
(๘) พระผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้แล เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ
ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกไมมี่นาบุญอื่นยิ่งกว่า.
“ผู้ปฏิบัติแล้ว ๔ จำพวกและผู้ตั้งอยู่ในผลแล้ว ๔ จำพวกนี่แหละ ! สงฆ์ที่เป็นคนตรง,
เป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในปัญญาและศีล ย่อมกระทำให้เกิดบุญอื่นเนื่องด้วยอุปธิ แก่มนุษย์ทั้งหลาย
ผู้มีความต้องการด้วยบุญ กระทำการบูชาอยู่ ทานที่ให้แล้วในสงฆ์ จึงมีผลมาก”.
ปฐมธรรม หน้า ๑๕๒
(ไทย) อฏฐก. อํ. ๒๓/๒๓๐/๑๔๙. : คลิกดูพระสูตร
(บาลี) อฏฐก. อํ. ๒๓/๓๐๑/๑๔๙: คลิกดูพระสูตร
อานนท์ ! บุคคล
ให้ทานในสัตว์เดรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า
ให้ทานในปุถุชนผูทุ้ศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า
ให้ทานในปุถุชนผูมี้ศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัด
ในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณานับไม่ได้ ประมาณไม่ได้
ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
ในพระปัจเจกพุทธะ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.
อานนท์ ! ก็ ทักษิณาที่ให้แล้วในสงฆ์ มี ๗ อย่าง คือ :-
ประการที่ ๑ ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขนี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๒ ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๓ ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๔ ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๕ แจ้งต่อสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
แล้วให้ทานนี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๖ แจ้งต่อสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๗ แจ้งต่อสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทานนี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
อานนท์ ! ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะ (จีวร) พันคอ เป็นคนทุศีล มีบาปธรรมคนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น.
อานนท์ ! ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้นเราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทาน (การถวายเจาะจงบุคคล) ว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย.
อานนท์ ! ก็ ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา นี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่าง คือ :-
อานนท์ ! ทักษิณาบางอย่างบริสุทธ์ฝ่ายทายก (ผู้ให้) ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ผู้รับ)
บางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
บางอย่างฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์
บางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก.
อานนท์ ! ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร ?
อานนท์ ! ในข้อนี้ ทายกมีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหก เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม อย่างนี้แล
ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.
อานนท์ ! ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร ?
อานนท์ ! ในข้อนี้ทายกเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล
ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก.
อานนท์ ! ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ เป็นอย่างไร ?
อานนท์ ! ในข้อนี้ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม อย่างนี้แล
ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก ก็ไม่บริสุทธิ์
อานนท์ ! ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร ?
อานนท์ ! ในข้อนี้ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล
ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก.
อานนท์ !นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง.
ภพภูมิ หน้า ๕๐๔
(ไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๔๔-๓๔๘/๗๑๑-๗๑๙ : คลิกดูพระสูตร
(บาลี) อุปริ. ม. ๑๔/๔๕๘-๔๖๒/๗๑๑-๗๑๙ : คลิกดูพระสูตร